ข่าวสารและบทความ

ประกันรถยนต์ : ไส้กรองอากาศรถยนต์ดูแลอย่างไร

ประกันรถยนต์ : ไส้กรองอากาศรถยนต์ดูแลอย่างไร

เมื่อเครื่องยนต์มีอาการ  เครื่องยนต์สั่น กำลังตก ควันท่อไอเสียมีสีดำ หรือรถกินเชื้อเพลิงมากขึ้น  อาจจะเกิดจากกรองอากาศ ที่มีอายุการใช้งานเกิน หรือผ่านการใช้งานมาอย่างหนัก จนเกิดการอุดตัน  ทำให้อากาศเข้าสู่เครื่องยนต์ได้น้อย จนเป็นเหตุให้เครื่องยนต์จึงมีการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ได้ แล้วเราจะมีวิธีดูแลกรองอากาศรถยนต์ อย่างไร สินมั่นคง ประกันรถยนต์  มีคำแนะนำมาบอกกัน

 

กรองอากาศเครื่องยนต์ (Engine Intake Air Filter) ทำหน้าที่ คือ การกรองเศษฝุ่น ละอองต่างๆ ไม่ให้เข้าไปภายในเครื่องยนต์ได้ เนื่องจากถ้ามีสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ผ่านเข้าไปในเครื่องยนต์เรื่อยๆจนมีจำนวนมากขึ้น ก็จะส่งผลให้เครื่องยนต์ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ภายในของเครื่องยนต์ได้ 

 

ประเภทของไส้กรองอากาศ

1. ไส้กรองอากาศชนิดแห้ง ทำจากเส้นใยสังเคราะห์ เส้นใยพืช และขนสัตว์ ส่วนใหญ่ใช้งานแล้วทิ้ง แต่ยังสามารถนำออกมาทำความสะอาดโดยการเป่าได้ ไส้กรองอากาศที่ติดมากับรถจากโรงงานนิยมใช้ไส้กรองอากาศแบบนี้ เนื่องจากมีราคาถูก

2. ไส้กรองแบบสแตนเลส สามารถล้างทำความสะอาด แต่ความละเอียดในการกรองสิ่งสกปรก จะด้อยกว่ากรองกระดาษ

3. ไส้กรองอากาศชนิดเปียกหรือไส้กรองอากาศแบบน้ำมัน ใช้น้ำมันเป็นตัวดักจับฝุ่นละออง ใช้กันในรถรุ่นเก่า มีลักษณะเหมือนกับไส้กรองชนิดแห้ง แต่ในแผ่นไส้กรอง จะมีน้ำมันหล่อไว้ภายใน อากาศจะไหลผ่านไปในหม้อกรองลงสู่ด้านล่างที่มีน้ำมันขังอยู่ เศษฝุ่นละอองที่หนักกว่าจะวิ่งไปสู่น้ำมัน และถูกจับเอาไว้ ไส้กรองอากาศชนิดนี้มักไม่นิยมทำความสะอาด พอฝุ่นจับมากแล้วทิ้งเลย

4. ไส้กรองอากาศชนิดเคลือบด้วยสารที่มีความหนืด เช่น พ่นด้วยน้ำมันให้แผ่นกรองอากาศเกิดความเหนียว เพื่อเพิ่มความสามารถในการดักจับฝุ่น จุดประสงค์เพื่อให้อากาศไหลผ่านได้มากกว่าไส้กรองปกติ มักใช้กับรถที่โมดิฟายด์เครื่องยนต์ สามารถใช้งานได้หลายครั้ง ด้วยการล้างทำความสะอาดแล้วเคลือบน้ำยาใหม่


วิธีตรวจเช็คไส้กรองอากาศแบบง่ายๆ

- ควรถอดไส้กรองอากาศออกมาเป่าทำความสะอาดทุกๆ 10,000 กิโลเมตร

- ควรเปลี่ยนไส้กรองอากาศทุกๆ 20,000 กิโลเมตร

- ถ้าการใช้งานค่อนข้างหนัก ใช้รถยนต์ไปในสถานที่มีฝุ่นค่อนข้างมากเป็นประจำ ก็ควรปรับเปลี่ยนทำความสะอาดถี่ขึ้น

- การละเลยการทำความสะอาดไส้กรอง จะทำให้สิ่งสกปรกเหล่านี้สะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเต็มตัวไส้กรองอากาศ ส่งผลให้ไส้กรองอากาศทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ ดักจับฝุ่นละอองไม่ได้หมด ทำให้มีเศษฝุ่นละอองหลุดเข้าไปจนอุดตันที่ลิ้นปีกผีเสื้อ เป็นเหตุให้เครื่องยนต์สะดุดไม่นิ่ง และทำให้ไส้กรองอากาศเกิดการอุดตัน อากาศไม่สามารถไหลผ่านได้สะดวก ส่งผลให้เครื่องทำงานผิดปกติได้ เช่น เครื่องยนต์สะดุด กำลังเครื่องยนต์ช้า สิ้นเปลืองพลังงาน ควรหมั่นตรวจสอบและทำความสะอาดอยู่เสมอ 


วิธีตรวจเช็คไส้กรองอากาศแบบง่ายๆ

1. เมื่อเปิดฝากระโปรงขึ้น จะเห็นหม้อกรองอากาศจะอยู่ติดกับลิ้นปีกผีเสื้อ

2. ให้ถอดกิ๊บล็อคหม้อกรองออก เมื่อเปิดฝาหม้อกรอง จะเจอไส้กรองอากาศ

3. ค่อยๆ นำไส้กรองอากาศออกมาอย่างช้าๆ เพราะจะมีฝุ่นติดตามไส้กรองอากาศ อาจเกิดฟุ้งกระจายได้

4. เมื่อนำออกมาแล้ว ต้องพิจารณาดูว่าควรเปลี่ยนใหม่หรือไม่ ในกรณีที่ยังไม่ถึงระยะเวลาเปลี่ยนที่กำหนด)โดยสังเกตจากเนื้อผ้า และสีของผ้ากรองว่ามีสีเปลี่ยนแปลงจากของเดิมมากน้อยแค่ไหน ถ้าไม่ดำมาก ก็ลองเป่าดูก่อน หากกรองอากาศของคุณเก่าแล้ว หรือมีรอยฉีกขาด คุณควรจะรีบเปลี่ยนใหม่ทันที ไม่เช่นนั้นเครื่องยนต์ของคุณอาจพังเสียหายได้

5. เวลาเป่าไส้กรองอากาศ ต้องเป่าจากด้านในออกสู่ด้านนอกเท่านั้น ถ้าเป่าย้อนทาง ลมจะดันให้ฝุ่นละอองฝังตัวลึกแน่นเข้าไปได้อีก และต้องดูทิศทางลมบริเวณนั้นด้วย (ควรอยู่เหนือลม)

6. เมื่อเป่าทำความสะอาดเสร็จแล้ว นำไส้กรองอากาศใส่หม้อกรอง ต้องตรวจดูว่าเข้าล็อคหรือไม่

7. เมื่อใส่ฝาหม้อกรองเสร็จแล้ว ต้องรัดด้วยกิ๊บล็อคเหมือนเดิม

 

การเปลี่ยนไส้กรองอากาศ

แนะนำให้เปลี่ยนกรองอากาศทุก 20,000 กิโลเมตร หรือเมื่อเห็นว่าสกปรกมากจนอุดตัน อาจจะให้ช่างตรวจเช็คทุกๆ 10,000 กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับสภาพถนนที่ใช้งาน โดยหากขับขี่ในบริเวณที่มีฝุ่นมาก เช่น ถนนดินลูกรัง ถนนที่กำลังมีการก่อสร้างซ่อมแซมเส้นทาง ก็จะทำให้กรองอากาศสกปรกได้เร็วขึ้น ไส้กรองอากาศมีจำหน่ายทั่วไปตามร้านขายอะไหล่รถยนต์ ซึ่งหาซื้อได้ง่าย ราคามักจะแตกต่างกันไปตามรถแต่ละรุ่น และขึ้นอยู่กับวัสดุของตัวไส้กรองอากาศ

 

เราไม่ควรละเลยไส้กรองอากาศรถยนต์ ควรดูแล และตรวจเช็คให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเสมอเพราะอาจส่งผลต่อระบบการทำงานอื่นๆของเครื่องยนต์ ทำให้เกิดความเสียหายได้

คุ้มครองรถ จากเหตุต่างๆ ด้วย ประกันรถยนต์ จาก สินมั่นคง
เราพร้อมดูแล ด้วยบริการที่มีคุณภาพ และมาเร็ว เคลมเร็ว คลิก www.smk.co.th/PreMotor.aspx  หรือ โทร. 1596

 

Photo source: freepix.com
ที่มา: autoinfo.co.th