ข่าวสารและบทความ

ประกันรถยนต์ : อันตราย...ปล่อยเด็กไว้ในรถตามลำพัง

ประกันรถยนต์ : อันตราย...ปล่อยเด็กไว้ในรถตามลำพัง

บ่อยครั้งที่เด็กมักถูกปล่อยไว้ในรถตามลำพัง หรือโดยสารรถโดยไม่มีผู้ดูแล ซึ่งมีความเสี่ยงที่เด็กจะได้รับอันตราย ยกตัวอย่างเช่น การลืมเด็กไว้ในรถเกิดขึ้นค่อนข้างบ่อยทำให้เกิดความสูญเสียชีวิตเด็กทั่วโลกมากถึงปีละเป็นพันคน สินมั่นคง ประกันรถยนต์ จึงได้นำรวบรวมข้อมูล วิธีการป้องกันมาบอกกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น

 

อันตรายจากการปล่อยเด็กไว้ในรถตามลำพัง มีดังนี้

 

1. สียชีวิตจากความร้อนภายในรถ

 

- การให้เด็กอยู่ในรถที่ไม่ได้สตาร์ทเครื่องยนต์

มีการทดลองนำรถตู้มาจอดไว้อยู่กลาง โดยอุณหภูมิก่อนมาจอดกลางแจ้งอยู่ที่ 26 Cขณะที่อุณหภูมิภายนอกอยู่ที่ 38 C แต่เมื่อเวลาผ่านไป 2 ชั่วโมงพบว่า อุณหภูมิภายในรถเพิ่มขึ้นเป็น 42.9 C ขณะที่อุณหภูมิภายนอกเพิ่มเป็น 40 C เท่ากับว่าอุณหภูมิภายในรถเพิ่มขึ้นถึง 16 C ภายใน 2 ชั่วโมง ซึ่งอุณหภูมิในระดับนี้ เด็กจะเสียชีวิตทันที

เพียงแค่เด็กอยู่ในรถที่มีอุณหภูมิสูงนานเกิน 10 นาที ร่างกายของเด็กจะแย่ลง เกินกว่าที่เด็กจะปรับตัวเพื่อกำจัดความร้อนในร่างกายได้ ส่งผลให้เซลล์ตาย เม็ดเลือดแตก เลือดเป็นกรด เกิดภาวะสมองบวมจนกดทับศูนย์ควบคุมการหายใจ และภายใน 30 นาทีเด็กอาจหยุดหายใจ และอวัยวะทุกอย่างหยุดทำงานจนถึงขั้นเสียชีวิต

 

- การให้เด็กอยู่ในรถที่สตาร์ทเครื่องยนต์เป็นเวลานาน

เด็กจะสูดดมก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากท่อไอเสียที่พัดลมเครื่องปรับอากาศดูดเข้ามาในห้องโดยสารรถ ทำให้ขาดออกซิเจนและเสียชีวิตได้

 

2. อุบัติเหตุจากรถเคลื่อนตัว

การให้เด็กอยู่ในรถระบบเกียร์อัตโนมัติที่สตาร์ทเครื่องยนต์ หากเด็กเลื่อนคันเกียร์หรือเหยียบคันเร่ง จะทำให้รถเคลื่อนตัวโดยปราศจากการควบคุม ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้

 

3. ถูกประตูหรือกระจกหนีบนิ้ว

 

4. ติดอยู่ในรถ เนื่องจากกดล็อกประตู

 

5. ใช้นิ้วหรือวัสดุไวไฟแหย่ที่จุดบุหรี่ ทำให้ถูกไฟลวก

 

6. ยื่นแขนขาออกไปนอกรถ ทำให้ถูกรถเฉี่ยวชน

 

อันตรายจากการนำเด็กโดยสารรถตามลำพัง มีดังนี้

 

1. ทำให้ผู้ขับขี่เสียสมาธิในการขับรถ กรณีการนำเด็กนั่งตักผู้ขับขี่และผู้โดยสารที่นั่งด้านหน้ารถ เด็กอาจแย่งพวงมาลัยหรือเล่นคันเกียร์

 

2. เด็กจะได้รับอันตรายจากแรงกระแทกเพิ่มเป็น 2 เท่า กรณีการนำเด็กนั่งตักผู้ขับขี่และผู้โดยสารที่นั่งด้านหน้ารถ หากประสบอุบัติเหตุ

 

3. การไม่ให้เด็กใช้ที่นั่งนิรภัยเมื่อโดยสารรถ เมื่อประสบอุบัติเหตุจะไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย ทำให้ร่างกายเด็กพุ่งกระแทกกับอุปกรณ์อื่นภายในรถ และกระเด็กออกนอกรถ ส่งผลให้เด็กได้รับบาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิตได้

 

4. การให้เด็กคาดเข็มขัดนิรภัยสำหรับผู้ใหญ่ เนื่องจากเข็มขัดนิรภัยถูกออกแบบมาสำหรับผู้ใหญ่ จึงไม่เหมาะสำหรับเด็กที่มีสรีระและรูปร่างขนาดเล็ก เมื่อประสบอุบัติเหตุ นอกจากเข็มขัดนิรภัยจะไม่ช่วยปกป้องอันตรายแล้ว เด็กยังได้รับบาดเจ็บจากแรงรัด และการบาดของเข็มขัดนิรภัยได้

 

การป้องกันเมื่อมีเด็กอยู่ในรถ

 

1.อุ้มหรือพาเด็กลงจากรถด้วยทุกครั้ง ไม่ว่าคุณจะคิดว่าลงรถไปเพื่อซื้อของเล็กน้อย หรือเพียงแต่เดินไปเก็บของที่กระโปรงหลังรถ

 

2. เมื่อลงจากรถต้องสำรวจให้แน่ใจว่าลูกลงจากรถแล้วมายืนกับพ่อแม่แล้วเรียบร้อย เพราะพ่อแม่บางคนมักจะเข้าใจว่าลูกลงจากรถมาเองแล้ว

 

3. หากมีความจำเป็นจริงๆ ที่ต้องปล่อยลูกไว้ในรถ ควรลดกระจกรถทั้ง 4 ด้านลง 1/4 เพื่อให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกขึ้น แต่ไม่ควรปล่อยลูกไว้นานเกิน 10 นาทีเด็ดขาด

 

4. ก่อนออกรถ ควรตรวจสอบเด็กให้นั่งบนรถให้เรียบร้อย กดล็อกประตู และกระจกอัตโนมัติ พร้อมจัดให้เด็กนั่งที่นั่งนิรภัยที่เหมาะสมกับขนาด รูปร่าง และน้ำหนักตัวของเด็ก รวมถึงจัดให้มีผู้ดูแลเด็กนั่งรถไปด้วย

 

5. พ่อแม่ที่ใช้บริการรถรับส่งของสถานรับเลี้ยงเด็กหรือรถโรงเรียน  เมื่อถึงเวลารถมาส่งเด็กก็ควรจะรอรับเอง หรือให้บุคคลใกล้ชิดมารอรับแทน เพื่อจะได้ทราบว่าลูกลงรถอย่างปลอดภัยแล้ว

  

6. กรณีครูพี่เลี้ยงที่มารับส่งเด็กๆ ควรมีสมุดเช็คชื่อว่าเด็กแต่ละคนขึ้นรถลงรถแล้วเรียบร้อยหรือยัง และจะต้องเห็นหน้าเด็กทุกคนทุกครั้งที่มีการรับขึ้นรถและส่งรถลงรถ ไม่ใช่เพียงการขานชื่อหรือเข้าใจว่าเมื่อรถจอดส่งเด็กแล้ว เด็กก็ลงไปเองแล้ว

 

7. ครูพี่เลี้ยงและัพนักงานขับรถส่งเด็กๆ เมื่อเด็กๆ ลงจากรถครบแล้วควรเดินตรวจภายในรถอีกครั้งหนึ่ง เพื่อตรวจสอบว่ามีเด็กคนไหนหลับหรือหลบอยู่โดยที่ครูไม่ทันสังเกตหรือไม่ รวมถึงจะได้สามารถตรวจสอบสิ่งของที่ลืมไว้บนรถด้วย

 

8. เมื่อเด็กลงจากรถเพื่อจะเข้าโรงเรียน ครูพี่เลี้ยงควรเช็คชื่ออีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่ามีจำนวนเด็กขึ้นรถและลงรถเท่ากัน เป็นการตรวจสอบย้ำว่าไม่มีเด็กคนไหนถูกลืมทิ้งไว้บนรถ

 

9. พ่อแม่หรือผู้ปกครองที่ต้องดูแลเด็ก หากต้องให้เด็กเดินทางไปกับรถโรงเรียนหรือรถขอบุคคลอื่น ควรโทรสอบถามครู หรือผู้ที่รับเด็กไปด้วยเป็นระยะว่าถึงที่หมายหรือยัง เด็กลงจากรถและเข้าโรงเรียนแล้วหรือยัง หรือใช้วิธีการสุ่มโทร ซึ่งอาจจะไม่ต้องโทรถามทุกวันก็ได้ เพื่อเป็นการตรวจสอบและเพิ่มความระมัดระวังสำหรับครูและผู้ที่ดูแลเด็กไปด้วย

 

10. ต้องสอนเด็กๆ เอาตัวรอดจากเหตุฉุกเฉิน เช่น สอนวิธีบีบแตรขอความช่วยเหลือ สอนวิธีปลดล็อครถ สอนวิธีทุบกระจกรถเพื่อหนีออกมา และบอกอันตรายถึงการเล่นซุกซน

 

11. ใช้วิธีติดสติ๊กเกอร์ 'จอดรถอย่าลืมเด็ก' หรือ 'อย่าทิ้งเด็กในรถ' เพื่อเตือนใจคุณพ่อคุณแม่ รวมถึงคุณครูและคนขับรถให้ฉุกคิดถึงความปลอดภัยตลอดเวลา

 

เพิ่มความคุ้มครองให้กับรถยนต์ของท่าน เลือกสินมั่นคงประกันภัย..ประกันรถ ประกันเวลา..วางใจทำประกันรถยนต์กับเรา ด้วยเบี้ยที่ไม่แพง พร้อมบริการที่สะดวก รวดเร็ว โทร 1596 หรือ www.smk.co.th

 

Photo source: pexels.com

ที่มา: motherandcare.in.th