ข่าวสารและบทความ

ประกันสุขภาพ : 5 พฤติกรรมทำซ้ำ พกของติดรถไว้ ลดใช้ขยะพลาสติก

ประกันสุขภาพ : 5 พฤติกรรมทำซ้ำ พกของติดรถไว้ ลดใช้ขยะพลาสติก

 

เริ่มต้นแล้วอย่างเข้มข้นสำหรับมาตรการงดแจกจ่ายถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง หรือ Single - Use Plastic เพื่อลดปัญหาขยะพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ และแตกตัวไปกลายเป็นไมโครพลาสติกไหลลงสู่มหาสมุทร จนเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำและระบบนิเวศ ส่งผลกระทบต่อมนุษยชาติได้ในที่สุด วันนี้ สินมั่นคง ประกันสุขภาพ มีวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมง่ายๆ มาฝากกัน

 

1. ถือถุงผ้าหรือถุงพลาสติกแบบใช้ซ้ำ

ค้นหาถุงผ้าที่ได้รับแจก หยิบมาปัดฝุ่นและพกติดรถไว้ ลงไปช้อปปิ้งเมื่อใด ไม่ลืมหยิบน้องถุงลงไปเป็นเพื่อนร่วมทาง หรือจะเป็นถุงพลาสติกแบบหนาที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีกหลายสิบครั้งก็สามารถทดแทนได้ แต่หากลืมหยิบติดรถไว้จริงๆ ห้างร้านต่างๆ ก็มีถุงผ้าหรือถุงกระดาษจำหน่ายที่จุดชำระเงิน แต่ภาครัฐยังใจดี ร่วมผ่อนผันการใช้ถุงพลาสติก 4 รายการ ได้แก่ ของร้อน อาหารเปียก เนื้อสัตว์ และผลไม้ เพื่อให้ผู้บริโภคได้ใช้เวลาเปิดใจและปรับตัว ก่อนเข้าสู่มาตรการเต็มรูปแบบ

 

 

2. ใช้กล่องข้าวแทนกล่องโฟม

แม้จะมีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านออกมายืนยันแล้วว่า การรับประทานของร้อนกับกล่องโฟมไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายในทางตรง แต่วัสดุโฟม ก็ยังเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ยาก ไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้ ส่งผลต่อระบบนิเวศในอนาคตอย่างแน่นอน ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พกกล่องข้าวหรือปิ่นโตไว้ในรถ ทดแทนการใช้ถุงพลาสติกจากร้านค้า ก็สามารถช่วยโลกได้อีกทางหนึ่งแน่นอนค่ะ

 

3. พกขวดน้ำ

ช่วยลดปริมาณพลาสติกซีลขวดน้ำ ด้วยการพกกระบอกน้ำไว้ติดตัว หรือเลือกซื้อน้ำดื่มที่ไม่ใช้พลาสติกซีลขวดน้ำ แล้วนำขวดนั้นกลับมาใช้ซ้ำจนไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีก เท่ากับเป็นการกระตุ้นให้ผู้ผลิตให้ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

 

 

4. ใช้หลอดแสตนเลสหรือดื่มจากแก้วส่วนตัว

พกแก้วกาแฟและหลอดส่วนตัวแทนการซื้อกาแฟจากแก้วและหลอดที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง หากไม่แน่ใจในความสะอาดของหลอดแสตนเลส ก็สามารถซื้อที่ล้างหลอดคู่กันไว้ในราคาไม่แพง ทั้งสะอาดและสะดวก ช่วยลดโลกร้อนได้อีกด้วย

 

 

5. แยกขยะไม่ปนเปื้อน ก่อนทิ้ง

ได้รับการบอกต่อมาหลายทศวรรษกับการแยกขยะก่อนทิ้ง แต่ดูเหมือนจะไม่ค่อยประสบความสำเร็จในประเทศเราสักเท่าไร เริ่มต้นได้ง่ายๆ ที่บ้านเรา หากยังไม่รู้วิธีแยกขยะอย่างถูกต้อง ให้ใช้วิธีแยกถังขยะแห้งกับถังขยะเปียกออกจากกันเพื่อไม่ให้ขยะปนเปื้อน และง่ายต่อการคัดแยกของเจ้าหน้าที่ หรือจะให้ดีขึ้นไปอีก ช่วยประหยัดแรงเจ้าหน้าที่ด้วยการแยกขยะเป็น 3 ถัง แบบไม่ปนเปื้อน อ่านวิธีแยกขยะเพิ่มเติม คลิก www.thaihealth.or.th/Content/49435

    • สีเหลือง ขยะทั่วไปหรือปนเปื้อนเศษอาหาร

    • สีน้ำเงิน ขยะเศษอาหาร นำไปใช้เลี้ยงสัตว์ได้

    • สีเขียว ขยะรีไซเคิลที่ไม่ปนเปื้อน ล้างน้ำ ผึ่งทิ้งไว้ให้แห้งก่อนใส่ลงถัง จะพลาสติก โฟม กระดาษ หรือขวดแก้ว ก็สามารถส่งเข้าโรงงานเพื่อนำไปผลิตใหม่ก่อนนำกลับมาใช้ซ้ำ

 

 

การงดใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วและพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนเป็นอย่างดี ทั้ง ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ซูเปอร์มาเก็ต ตลอดจนร้านสะดวกซื้อกว่า 75 บริษัท ทั่วประเทศ และคาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากผลสำรวจดุสิตโพลพบว่า ที่ผ่านมาประชาชนถึงประมาณ 90% เห็นด้วยกับนโยบายงดแจกถุงฯ และเริ่มมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองกันบ้างแล้ว ถึงแม้ในช่วงแรกของมาตรการ อาจทำให้ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกสบายในการจับจ่ายซื้อสินค้าอยู่บ้าง หากเพียงทุกคนเปิดใจ ปรับทัศนคติ และเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างค่อยเป็นค่อยไป ก็จะช่วยให้ลดปัญหาไมโครพลาสติกในมหาสมุทรได้อย่างไม่ยากเย็น 


เพราะสิ่งแวดล้อมที่ดี ย่อมส่งผลกระทบถึงสุขภาพในทุกๆ ด้านของร่างกาย การรักษาสิ่งแวดล้อมให้กับโลกของเราจึงนับเป็นการส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงได้อีกทางหนึ่ง ให้สินมั่นคงประกันภัยคุ้มครองปัญหาสุขภาพให้คุณ ด้วยประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่ให้ทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก นอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเหมาจ่ายค่ารักษาตามจริงสูงสุด 500,000 บาท สนใจรายละเอียด คลิก www.smk.co.th/prehealth.aspx หรือ โทร.1596 ตลอด 24 ชั่วโมง
สินมั่นคงประกันสุขภาพ ...เราประกัน คุณมั่นใจ…

Photo source: freepix.com, pexels.com