ประกันสุขภาพ : ใช้หน้ากากแบบไหน? ปลอดภัยจาก Covid-19
สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาเริ่มเข้าสู่ภาวะตึงเครียดอีกครั้ง จากข่าวการขอกลับเข้ามายังประเทศไทยของบรรดา “ผีน้อย” หรือผู้ลักลอบเข้าไปทำงานที่ประเทศเกาหลีแบบผิดกฎหมาย พร้อมข้อเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทยอีกมากมาย จนเป็นเหตุให้สังคมเกิดความหวั่นวิตกต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ Covid-19 ที่อาจติดมากับผู้ที่กำลังเดินกลับมาจากประเทศเกาหลี
จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงเป็นเหตุให้เกิดกระแสการกักตุนหน้ากากอนามัยเพื่อใช้สำหรับป้องกันการติดเชื้อ จนเป็นเหตุทำให้หน้ากากอนามัยขาดแคลน และมีกลุ่มผู้ค้าหัวใสนำหน้ากากอนามัยใช้แล้วมาทำความสะอาดใหม่เพื่อเอากลับมาใช้ซ้ำ สร้างความเป็นกังวลเพิ่มขึ้นให้กับประชาชน ทางสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้ออกข้อแนะนำในการใช้หน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งต่อตัวเรา คนรอบข้าง และสังคมโดยรวม สินมั่นคง ประกันสุขภาพ มีข้อมูลมาฝากกันค่ะ
สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยฯ คือใคร?
หลายคนอาจสงสัย อุรเวชช์ คือใคร? ทำไมต้องออกมาให้คำแนะนำเรื่องหน้ากากอนามัย เริ่มกันที่คำว่า อุระ เป็นภาษาทางการ แปลว่า หน้าอก เวชช์ แปลว่า การรักษาโรค เพราะฉะนั้น อุรเวชช์ จึงหมายถึง คุณหมอหรือการรักษาที่ดูแลโรคด้านทรวงอกนั่นเองค่ะ โดยการก่อตั้งสมาคมมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้นคว้าด้านวิชาการของแพทย์โรงทรวงอก และชี้นำสังคมส่งเสริมนโยบายสาธารณะในด้านสุขภาวะการหายใจของประชาชน จึงเป็นเหตุให้ทางสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ออกมาแนะนำถึงการใช้หน้ากากอนามัยที่ถูกต้องนั่นเองค่ะ
ใส่หน้ากากแบบไหน? ปลอดภัยทุกคน
สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมาถึงข้อแนะนำในการใช้หน้ากากอนามัยไว้ดังนี้ค่ะ
1. ผู้ที่มีอาการไข้หวัดทุกคน ให้ใส่หน้ากากอนามัย จนติดเป็นนิสัย แม้ปัญหาเรื่อง โควิด-19 จะหมดไป
2. ผู้ที่มีประวัติเดินทางไปสถานที่เสี่ยงหรือใกล้ชิดผู้ที่เสี่ยง ให้ใส่หน้ากากอนามัย แม้จะไม่มีอาการ
3. ผู้ที่ต้องช่วยดูแลบุคคลในข้อ 2. ให้ใส่หน้ากากอนามัย
4. ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ปิดที่มีคนอยู่แออัด ทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ เช่น รถสาธารณะ ร้านอาหาร โรงมหรสพ ให้ใส่หน้ากากอนามัย
5. ผู้ที่จะไปติดต่อโรงพยาบาลด้วยเหตุใด ๆ (หลีกเลี่ยงการไปโรงพยาบาลหากไม่จำเป็น) ให้ใส่หน้ากากอนามัย
6. พนักงานขับรถสาธารณะหรือผู้ที่ให้บริการสาธารณะอื่น ๆ ที่มีคนอยู่รวมกันจำนวนมาก ให้ใส่หน้ากากอนามัย
7. บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยทั่วไป ให้ใส่หน้ากากอนามัย และถ้าเป็นผู้ป่วยมีอาการไข้หวัดหรือผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ให้ใส่หน้ากากอย่างน้อยเทียบเท่า N95 เพราะถ้าได้รับเชื้อแล้วจะไปแพร่ให้ผู้ป่วยอื่นได้ง่าย
ทางสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ยังได้ให้ข้อแนะนำอีกว่า ในกรณีที่สามารถจัดหาหน้ากากอนามัยได้ง่ายในพื้นที่ ก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลของผู้ที่เป็นกังวล และต้องการสวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อต้องออกไปสู่ที่สาธารณะ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานรองรับในเรื่องของประโยชน์ที่ได้หรือผลที่เสียจากการใส่หรือไม่ใส่หน้ากากอนามัยเช่นกัน นอกเสียจากว่า จะทำให้มีหน้ากากจำหน่ายไม่เพียงพอต่อความต้องการโดยเฉพาะพื้นที่ที่ขาดแคลน
นอกจากนี้ หน่วยงานรัฐจำเป็นต้องจัดหา หน้ากากทุกประเภท ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ได้มีใช้อย่างเพียงพอก่อน แล้วจึงจัดหาหน้ากากอนามัยให้เพียงพอสำหรับประชาชนทั่วไปได้ใช้งานเท่าที่จำเป็น และการใส่หน้ากากอนามัยเป็นเพียงมาตรการหนึ่งในการป้องกันการติดเชื้อเท่านั้น จำเป็นต้องทำควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพทั่วไป การให้ข้อมูลด้านความเสี่ยงต่อการติดเชื้ออย่างเปิดเผย การหลีกเลี่ยงไปในที่ชุมนุมชน การระมัดระวังไม่สัมผัสวัตถุและวัสดุและส่วนหนึ่งส่วนใดของผู้อื่นในที่สาธารณะ และหมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์
ที่สำคัญคือ การใส่ ถอด และทิ้ง หน้ากากอนามัยทุกประเภท ต้องทำอย่างถูกวิธีเพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนา ช่วยยืดระยะเวลาในการเข้าสู่การระบาดของโรคระยะที่ 3 ให้เกิดขึ้นอย่างช้าที่สุด สินมั่นคงประกันภัยช่วยให้คุณอุ่นใจยิ่งกว่ากับประกันสุขภาพที่พร้อมคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแทนคุณ ทั้ง ประกันสุขภาพตามฟิต ตามก้าว ..ยิ่งก้าว เบี้ยยิ่งลด.. หรือ ประกันสุขภาพเหมาจ่าย เหมาจ่ายค่ารักษาตามจริงสูงสุด 500,000 บาท หรือ ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก ที่ดูแลค่ารักษาพยาบาลสูงสุดถึง 90,000 บาทต่อปี และ ประกันสุขภาพ SMKHealthCare วงเงินค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในที่เพิ่มให้สูงเกินกว่าความคุ้มครองปกติถึง 100,000 - 300,00 บาทต่อการรักษาต่อครั้งค่ะ
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก www.smk.co.th/prehealth.aspx หรือ โทร.1596 ตลอด 24 ชั่วโมง
สินมั่นคงประกันสุขภาพ ...เราประกัน คุณมั่นใจ...