ข่าวสารและบทความ

ประกันภัยรถยนต์ : ดูแลรถให้ปลอดควันดำ รักษารถ รักษาโลก รักษาเรา

ประกันภัยรถยนต์ : ดูแลรถให้ปลอดควันดำ รักษารถ รักษาโลก รักษาเรา

 

แม้ปัญหาด้านฝุ่นละอองขนาด PM 2.5 จะเบาบางลง และผู้คนในสังคมหันมาระแวดระวังภัยไวรัสโคโรนา หรือ Covid-19 จนทำให้เกิดภาวะขาดแคลนหน้ากากอนามัย แต่ในปีถัดไปเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ฤดูที่สภาพอากาศอยู่ในสภาวะนิ่ง ไม่มีลมพัด และขาดการแก้ไขปัญหาเรื่องฝุ่นอย่างจริงจัง สถานการณ์ฝุ่นละอองหนาแน่นในเขตเมืองย่อมกลับมาเยือนอีกอย่างแน่นอน ทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

จากผลการศึกษาสัดส่วนแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปี 2561 โดยคณะวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งเผยแพร่ผ่านรายงานสรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2561โดยกรมควบคุมมลพิษ คลิก www.pcd.go.th พบว่า ฝุ่นละออง PM 2.5 ในเขตเมืองใหญ่มักมีสาเหตุมาจากการจราจรทางถนนมากกว่าสาเหตุอื่น ๆ และหนึ่งแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น คือ การลดปริมาณควันดำจากผงเขม่าสีดำขนาดเล็กที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหาไม่ให้เกิดเพิ่มขึ้นไปได้อีก

 

อะไรคือสาเหตุของควันดำ?

สาเหตุของควันดำนั้น เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ที่สึกหรอ โดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซลที่มีการใช้งานมาเป็นระยะเวลานาน แล้วเราควรดูแลรักษาเครื่องยนต์อย่างไรให้ปลอดฝุ่น PM 2.5 วันนี้ สินมั่นคง ประกันรถยนต์ มีวิธีดูแลรักษารถยนต์มาฝากกันค่ะ 

 

 

    1. หมั่นดูแลรักษาเครื่องยนต์ ทำความสะอาดไส้กรองอากาศอย่างสม่ำเสมอ

    2. เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาที่ผู้ผลิตกำหนด โดยรถยนต์ที่ใช้งานเป็นประจำจะต้องเปลี่ยนทุก ๆ 5,000 กิโลเมตร หรือทุก 3 เดือน ส่วนรถที่ใช้งานทั่วไปจะต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเมื่อขับถึงระยะ 8,000-10,000 กิโลเมตร หรือทุก 6 เดือน 

    3. ตรวจดูไส้กรองอากาศที่ทำหน้าที่ดักจับฝุ่น เศษต่าง ๆ ไม่ให้เข้าสู่น้ำมันเครื่องรถยนต์ 

    4. ทำความสะอาดไส้กรองอากาศรถยนต์ ทุก ๆ 10,000 กิโลเมตร 

    5. ชำระล้างสิ่งสกปรกในท่อไอเสีย โดยฉีดน้ำเข้าไปทำความสะอาดภายในท่อไอเสีย 

    6. ตรวจเช็คหัวฉีดและปั๊มหัวฉีดน้ำมันให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งาน

    7. ตรวจเช็กปั๊มจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง เปลี่ยนชิ้นส่วนที่ชำรุดสึกหรอ 

    8. ตรวจเช็กหัวฉีดน้ำมันและเปลี่ยนชิ้นส่วนที่สึกหรอ 

    9. ตรวจเช็กอัตราและจังหวะการฉีดน้ำมันให้ถูกต้องตามบริษัทผู้ผลิตกำหนด 

    10. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการขับรถแบบกระชากหรือเหยียบแรงจนเกินไป 

    11. งดเว้นการบรรทุกของหนักที่เป็นสาเหตุที่ทำให้รถเกิดควันดำ

 

 

ทดสอบอย่างไร ว่ารถมีควันดำ

ผู้ขับขี่รถยนต์สามารถตรวจสอบปริมาณควันดำได้ด้วยตนเองก่อนนำรถไปใช้งาน ด้วยการเร่งเครื่องยนต์จนสุดคันเร่งประมาณ 2-3 วินาที ในขณะที่รถยนต์จอดอยู่กับที่และเดินเครื่องยนต์ไว้ไม่น้อยกว่า 5 นาที จากนั้นให้สังเกตปริมาณควันดำที่ปล่อยออกจากท่อไอเสียด้วยสายตา หากพบว่ามีปริมาณควันดำสีเข้มมาก ควรนำเข้าศูนย์บริการเพื่อเข้ารับการตรวจสอบสภาพรถ รวมถึงการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ และปรับแต่งเครื่องยนต์อย่างเหมาะสม

ที่ผ่านมา กรมขนส่งทางบก ได้มีการตรวจสอบรถบรรทุกและรถโดยสารมาโดยตลอด เพื่อแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ โดยสถิติการตรวจสอบตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 - 1 มีนาคม 2563 มีการตรวจวัดแล้วทั้งสิ้น 178,523 คัน พบรถที่มีควันดำเกินเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งหมด 2,934 คัน คิดเป็น 1.64 % และได้มีการพ่นสีห้ามใช้ทันทีพร้อมเปรียบเทียบปรับในอัตราสูงสุด 5,000 บาท และรถทุกคันที่ถูกพ่นห้ามใช้ ต้องนำรถไปแก้ไขและเข้ารับการตรวจสภาพ ณ สำนักงานขนส่ง เมื่อผ่านการตรวจสภาพแล้วจึงจะสามารถลบข้อความห้ามใช้และจึงนำรถออกไปใช้งานได้ต่อไป โดยในระหว่างที่รถถูกสั่งห้ามใช้ หากมีการฝ่าฝืนใช้รถโดยยังไม่ดำเนินการแก้ไข จะมีความผิดตามกฎหมาย ปรับสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท และบันทึกประวัติความผิดซึ่งจะมีผลต่อการชำระภาษีรถประจำปีทันที


ประชาชนสามารถร่วมส่งภาพรถบรรทุกและรถโดยสารควันดำที่สังเกตเห็นหมายเลขทะเบียนชัดเจน ผ่านศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารและรับเรื่องร้องเรียน เพื่อให้กรมการขนส่งทางบกดำเนินการตรวจสอบได้หลากหลายช่องทาง อาทิ สายด่วน 1584, Line : @1584DLT, Facebook: 1584 ร้องเรียนรถโดยสารสาธารณะ www.facebook.com/dlt1584  เว็บไซต์ www.dlt.go.th , แอปพลิเคชัน DLT GPS, E-mail: dlt_1584 complain@hotmail.com ตลอด 24 ชั่วโมง


ป้องกันรถให้ปลอดจากควันดำแล้ว มอบความไว้วางใจให้สินมั่นคงประกันภัยช่วยป้องกันรถยนต์คันโปรดของคุณ ด้วยประกันภัยรถยนต์คนดีฯ ..โปรไฟล์ยิ่งดี เบี้ยยิ่งถูก.. ประกันประเภท 1 ซ่อมอู่ จากสินมั่นคงประกันภัย ที่เบี้ยประกันภัยจะแตกต่างไปตามปัจจัยความเสี่ยงของลูกค้าแต่ละคน ไม่มีค่าเสียหายส่วนแรก
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://bit.ly/34fbwwZ  หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง 
สินมั่นคงประกันภัย ..ประกันรถ ประกันเวลา..

Photo source: freepik.com