ประกันสุขภาพ : ท่ายืดแขนและข้อศอก แก้อาการปวดจากออฟฟิศซินโดรม
ในยุคที่ทุกคนต้อง Social Distancing หรือ การรักษาระยะห่างระหว่างสังคมถูกหยิบยกขึ้นมาปฏิบัติกันในชีวิตประจำวัน การทำ “ธุรกรรมออนไลน์” ผ่านโทรศัพท์มือถือจึงก้าวเข้ามาสู่วิถีชีวิตเราอย่างรวดเร็ว จากเดิมที่เคยหยิบขึ้นมาใช้เพียงเพื่อทำงาน หาความรู้ หรือความบันเทิง ก็ได้ถูกนำมาใช้เพื่อสั่งอาหาร เรียกรถ ทำธุรกรรมทางการเงิน หรือแม้แต่การสั่งซื้อของใช้จากร้าน 7-11 หน้าปากซอย อาจทำให้หลายคนต้องประสบกับปัญหาจากการปวดแขนเพราะใช้โทรศัพท์มือถือนานจนเกินไป วันนี้ สินมั่นคง ประกันสุขภาพ จึงมีวิธีกายบริหารเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการปวดแขนจากการเล่นโทรศัพท์มือถือหรือใช้คอมพิวเตอร์นานเกินไปมาฝากค่ะ
เล่นมือถือนาน ๆ ทำให้ปวดแขนได้อย่างไร?
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า การเล่นโทรศัพท์มือถือหรือใช้คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในท่าเดิมนานเกินไป นอกจากจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการเมื่อยล้าแล้ว เส้นประสาทและเส้นเอ็นที่ยึดกล้ามเนื้อไว้ก็อาจเกิดอาการบาดเจ็บได้ เพราะหากเรานั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน เมื่อขยับเปลี่ยนท่า เอ็นที่ยึดกล้ามเนื้อไสเกลับไม่ได้ขยับตามไปด้วยเกิดการยึดติดเพราะขาดความยืนหยุ่น จนทำให้ได้รับบาดเจ็บ โดยการปวดบริเวณข้อศอกมักเกิดขึ้นได้ 2 จุดด้วยกันคือ
1. กอฟเฟอร์ เอลโบ (Golfer’s Elbow) จะปวดบริเวณข้อศอกด้านในเวลาบิดศอก เข้าด้านในและกระดกข้อมือลง เช่น ลักษณะของการสวิงกอล์ฟแรงๆ เนื่องจากมีการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณปุ่มข้อศอกด้านใน
2. เทนนิส เอลโบ (Tennis Elbow) จะปวดบริเวณข้อศอกด้านนอกเวลาขยับหมุนข้อศอก เวลาสะบัดข้อมือขึ้นแรง ๆ หรือเวลากำสิ่งของในมือ เช่น ลักษณะของการตีลูกเทนนิสแบบแบคแฮนด์ เนื่องจากมีการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณปุ่มข้อศอกด้านนอก
คนส่วนใหญ่ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม มักจะมีอาการของเทนนิส เอลโบมากกว่า เนื่องจากมีการเกร็งกล้ามเนื้อส่วนบนหรือบริเวณข้อศอกด้านนอกมากกว่านั่นเอง
ท่ากายบริหารยืดข้อศอก แก้ปวดออฟฟิศซินโดรม
1. ท่าที่ 1 นั่งในท่าสบายๆ อาจจะขัดสมาธิกับพื้น หรือนั่งบนเก้าอี้ก็ได้ แล้วเหยียดแขนไปข้างหน้าลดแขนลงทำมุม 45 องศา หักหลังมือเข้าหาตัวโดยใช้มืออีกข้างดัดปลายนิ้วไว้ หากรู้สึกเจ็บให้ถอยออกมาแค่พอให้ตึงๆ แล้วค้างไว้ 5-10 วินาที แล้วปล่อยมือ จากนั้นยังคงหันฝ่ามือออกนอกตัวเหมือนเดิม แต่เปลี่ยนมาดัดนิ้วโป้งข้างเดิมหันเข้าหาตัว 5-10 วินาทีเช่นกัน จากนั้นเปลี่ยนไปทำอีกข้าง
2. ท่าที่ 2 นั่งอยู่ในท่าเดิม แล้วเหยียดแขนไปข้างหน้าลดแขนลงทำมุม 45 องศา หักฝ่ามือเข้าหาตัวแล้วใช้มืออีกข้างดันข้อมือค้างไว้ประมาณ 5-10 วินาที จากนั้นจึงเปลี่ยนไปทำอีกข้าง
3. ท่าที่ 3 เหยียดแขนออกไปข้างหน้าทั้งสองข้าง ตั้งฝ่ามือให้ตั้งฉากกับพื้น พับนิ้วโป้งเข้าหาฝ่ามือแล้วกำนิ้วที่เหลือทั้ง 4 นิ้วทับนิ้วโป้งไว้ กดข้อมือลงทั้ง 2 ข้าง ให้พอตึง หากเจ็บมากให้ถอยออก ค่อยๆ ทำจนกว่าจะหายเจ็บ ค้างไว้ประมาณ 5-10 วินาทีเช่นกัน
แม้การกายบริหารยืดกล้ามเนื้อแขนเมื่อมีอาการปวดและตึงจะช่วยบรรเทาอาการปวดข้อศอกได้ในระดับหนึ่ง แต่หากเรายังคงมีกิจวัตรประจำวันที่ต้องนั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน อาจจะใช้วิธีลุกขึ้นเดินเพื่อเปลี่ยนท่านั่งทุกชั่วโมง หรือเปลี่ยนอิริยาบถไปทำกิจกรรมอย่างอื่นสลับบ้าง และที่สำคัญต้องไม่ลืมออกกำลังกายหรือยืดเหยียดร่างกายเป็นประจำทุกวัน เพื่อให้เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่น ไม่เกิดการยึดติดกับเส้นประสาทจนเกิดอาการบาดเจ็บได้
ดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของคุณให้ยืดหยุ่นแข็งแรง แล้วให้สินมั่นคงประกันภัยช่วยคุ้มครองสุขภาพคุณ ด้วยประกันสุขภาพเหมาจ่าย ที่สุดของความคุ้มครองเรื่องสุขภาพ ที่ให้ทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก นอนโรงพยาบาลเหมาจ่ายค่ารักษาตามจริงสูงสุด 500,000 บาท
สนใจรายละเอียดคลิก www.smk.co.th/prehealth.aspx หรือ โทร.1596 ตลอด 24 ชั่วโมง
สินมั่นคงประกันสุขภาพ ..เราประกัน คุณมั่นใจ..
Photo source: freepik.com