ข่าวสารและบทความ

ประกันสุขภาพ : 5 วิธีสังเกตบุตรหลาน อาจโดนล่วงละเมิดทางเพศ

ประกันสุขภาพ : 5 วิธีสังเกตบุตรหลาน อาจโดนล่วงละเมิดทางเพศ

 

นับเป็นข่าวที่สร้างความสะเทือนใจให้กับสังคมอยู่ไม่น้อย กับคดีเด็กหญิงวัย 12 ปีถูกล่วงละเมิดทางเพศมาเป็นเวลากว่า 2 ปี จากผู้ชายทั้งหมด 7 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นญาติพี่น้องและคนใกล้ชิด และเรื่องราวถูกเปิดเผยขึ้นเมื่อน้องมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงและแพทย์วินิจฉัยว่ามีอาการมดลูกอักเสบและอวัยวะเพศฉีกขาดจากการโดนข่มขืน ซึ่งหากไม่ได้ไปพบแพทย์เรื่องราวเหล่านี้ก็ยังคงถูกเก็บงำไว้โดยที่เด็กหญิงไม่มีโอกาสแม้แต่จะเรียกร้องสิทธิใด ๆ ของตัวเองได้เลย แล้วพ่อแม่ผู้ปกครองควรให้ความใส่ใจบุตรหลานที่อยู่ในการดูแลของตัวเองอย่างไรทั้งในแง่ของสุขภาพกายและสุขภาพใจ สินมั่นคง ประกันสุขภาพ มีข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากค่ะ

 

จากสถิติ พบความรุนแรงเกิดขึ้นในบ้านสูงสุด

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (www.dwf.go.th) เปิดเผยว่า การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศเป็นรูปแบบหนึ่งของความรุนแรงในสังคม โดยสถิติความรุนแรงในครอบครัวเดือนพฤษภาคม 2563 มีจำนวนความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้น 184 ราย ผู้กระทำความรุนแรง 85.3% เป็นเพศชาย สถานที่เกิดเหตุ 78.3% เกิดที่บ้านตนเอง และ 87% เป็นการทำร้ายร่างกาย โดยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อว่าผู้ที่มีอำนาจมากกว่า มีสิทธิที่จะทำความรุนแรงต่อผู้ด้อยกว่าได้ หรือที่เรียกว่า แนวคิด “ชายเป็นใหญ่”

 

 

แบบไหนที่เรียกว่าเป็นการ “คุกคามทางเพศ”

การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ หมายถึง การกระทำหรือพฤติกรรมที่ส่อไปในทางที่เป็นการบังคับ การใช้อำนาจด้วยวาจา ข้อความ ท่าทาง เสียง รูปภาพ เอกสาร หรือข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ส่งผลให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนรำคาญ ได้รับความอับอาย หรือรู้สึกว่าถูกเหยียดหยาม รวมถึงการติดตามรังควานหรือการกระทำใดที่ก่อให้เกิดบรรยากาศไม่ปลอดภัยทางเพศ การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศจึงนับว่าเป็นเรื่องที่มีขอบเขตกว้างขวาง และไม่สามารถระบุพฤติกรรมได้อย่างครอบคลุมทั้งหมด ตัวอย่างเช่น

    1. การกระทำทางสายตาช่น การจ้องมองร่างกายที่ส่อไปในทางเพศ มองหน้าอกหรือจ้องลงไปที่คอเสื้อ จนทำให้ผู้ถูกมองรู้สึกอึดอัด อับอาย หรือไม่สบายใจ เป็นต้น

    2. การกระทำด้วยวาจา เช่น การวิพากษ์วิจารณ์รูปร่าง ทรวดทรง การแต่งกายที่ส่อไปทางเพศ ซึ่งผู้ถูกกระทำ ไม่พึงประสงค์และไม่ต้องการการพูดเรื่องตลกเกี่ยวกับเพศ การพูดจาแทะโลม การพูดจาลามก รวมถึงการโทรศัพท์ลามก

    3. การกระทำทางกาย เช่น การสัมผัสร่างกายของผู้อื่น การลูบคลำ การฉวยโอกาสกอดรัด จูบ การหยอกล้อโดยแตะเนื้อต้องตัว การสัมผัสทางกายอื่นใดที่ไม่น่าพึงประสงค์ รวมถึงการตามตื๊อโดยที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่เล่นด้วย

    4. การกระทำที่มีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ เช่น ผลการเรียน การเลื่อนตำแหน่ง หากผู้ถูกล่วงละเมิด หรือ ผู้ถูกคุกคามยอมมีเพศสัมพันธ์ หรือการข่มขู่ให้เกิดผลลบต่อการจ้างงาน

    5. การกระทำอื่น ๆ เช่น การแสดงรูปภาพ วัตถุ และข้อความที่เกี่ยวข้องกับเพศ ในที่ทำงานและในคอมพิวเตอร์ของตน หรือ การโชว์ปฏิทินโป๊ การเขียนหรือวาดภาพทางเพศในที่สาธารณะ สัญลักษณ์ที่แสดงถึงเรื่องเพศทางอินเทอร์เน็ต เช่น Facebook Line ฯลฯ เป็นต้น

 

 

สังเกตอย่างไรหากบุตรหลานกำลังถูก “คุกคามทางเพศ”

เด็กหลายคนที่ตกเป็นเหยื่อ จะพยายามส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ที่อยู่รอบตัว เพียงแต่สัญญาณนั้นอาจไม่ใช่การพูดบอกออกจากปากของเด็กเอง แต่จะแสดงอาการหรือมีพฤติกรรมที่ผิดปกติไปจากเดิม ดังนี้

    1. บุคลิกเปลี่ยนไป เด็กเล็กที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศมักมีนิสัยที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด เช่น มีอาการวิตกกังวล รู้สึกไม่ปลอดภัย หดหู่ซึมเศร้า จากเป็นเด็กที่มีความมั่นใจ ก็กลายเป็นเด็กที่เกาะติดพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ยอมห่างไปไหน

    2. พฤติกรรมเปลี่ยนไป คือจะกลับไปทำพฤติกรรมที่ต่ำกว่าอายุจริง เช่น ดูดนิ้วโป้ง ฉี่รดที่นอนหรือรดกางเกง ทั้งที่ฝึกขับถ่ายได้สำเร็จแล้ว และบางคนก็พบปัญหาเกี่ยวกับการนอนไม่หลับหรือฝันร้ายอยู่บ่อยๆ

    3. มีพฤติกรรมที่ส่อถึงเรื่องเพศ เด็กมีการเลียนแบบการล่วงละเมิดทางเพศกับสิ่งรอบตัว เช่น ตุ๊กตา หรือของเล่น หรือเป็นการวาดภาพที่ตัวเองถูกล่วงละเมิดมา หรือการแสดงออกด้วยการช่วยตัวเองและพยายามทำบ่อยขึ้น จนถึงขั้นเอาไปทำกับพี่น้องหรือเพื่อน

    4. มีอาการหวาดกลัว ทั้งต่อคนแปลกหน้าหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ รวมไปถึงมีท่าทีหลีกเลี่ยงสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจมีจุดร่วมคล้ายกัน เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจจะโดนล่วงละเมิดทางเพศมา และมักจะกลัวเวลาต้องถอดเสื้อผ้าแม้ในเวลาปกติ เช่น เวลาอาบน้ำ หรือเวลาไปพบแพทย์

    5. มีร่องรอยตามร่างกาย เช่น ที่อวัยวะเพศ หรือรูทวารหนักมีอาการบวมแดง เจ็บหรือคัน ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะจนทำให้ลำบากเวลาถ่ายหนักหรือถ่ายเบา มีรอยแดงช้ำหรือถลอกตามต่างกาย เด็กบางคนอาจมีอาการปวดหัวหรือปวดท้องร่วมด้วย

 

 

หากพบเห็นอาการเหล่านี้ในตัวบุตรหลานหรือเด็กที่อยู่ในการปกครอง ให้รีบถ่ายภาพบันทึกหลักฐานทุกอย่างเก็บไว้ และพาไปพบแพทย์ทันทีเพื่อสำรวจอาการทุกอย่างโดยละเอียด ซึ่งหากเด็กยังมีความหวาดกลัวและไม่สามารถเล่าเรื่องราวหรือรายละเอียดต่าง ๆ ได้ ทางโรงพยาบาลจะมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญหรือนักจิตวิทยาที่สามารถพูดคุย สร้างความไว้วางใจและสอบถามได้อย่างถูกวิธี เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนและกระบวนการทางกฎหมายต่อไป


ร่วมใส่ใจและปกป้องดูแลสุขภาพให้กับบุตรหลานของคุณ ด้วยประกันสุขภาพเด็ก (Super Kids) จากสินมั่นคงประกันภัย ช่วยให้คุณไม่ต้องกังวลกับเรื่องค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุและโรคเด็กสุดฮิตอีกต่อไป สามารถเบิกได้ทั้งแบบผู้ป่วยใน (IPD) และผู้ป่วยนอก (OPD) พร้อมทันตกรรม 2,000 บาทต่อปี
สนใจรายละเอียด คลิก www.smk.co.th/producthealthdetail/12 หรือ โทร.1596 ตลอด 24 ชั่วโมง

 

Photo source: freepik.com