ข่าวสารและบทความ

ประกันรถยนต์ : การดูแลแอร์รถในช่วงหน้าร้อน

ประกันรถยนต์ : การดูแลแอร์รถในช่วงหน้าร้อน

ช่วงหน้าร้อน อากาศในประเทศไทยจะร้อนมากโดยเฉพาะกลางแดดหรือบนท้องถนนอาจสูงมากกว่า 40 องศาเซลเซียส ระบบปรับอากาศหรือแอร์จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในรถยนต์เพื่อสร้างความเย็นภายในตัวรถระหว่างการเดินทาง การดูแลรักษาแอร์เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของระบบปรับอากาศในรถยนต์ให้นานขึ้นได้ สินมั่นคง ประกันรถยนต์ จึงมีข้อแนะนำในการดูแลและบำรุงรักษาแอร์รถยนต์เบื้องต้นดังนี้

 

1. เปิดฝากระโปรงตรวจเช็สายพานคอมเพรสเซอร์แอร์ว่ายังอยู่ในสภาพดี ไม่แตกร้าว หรือขาด เสื่อมคุณภาพเมื่อใช้งาน หากพบว่าสายพานไม่อยู่ในสภาพที่จะใช้งานได้ให้เปลี่ยนสายพานเส้นใหม่

 

2. เช็คฟิวส์คอมเพรสเซอร์แอร์หรือพัดลมห้องโดยสาร หากขาดต้องรีบเปลี่ยนทันที

โดยเปิดกล่องฟิวส์หาตำแหน่งของฟิวส์ระบบปรับอากาศพวกฟิวส์คอมเพรสเซอร์แอร์ ฟิวส์พัดลมแอร์ในห้องโดยสาร ส่วนใหญ่กล่องฟิวส์ในรถยนต์จะบอกตำแหน่งต่างๆ ของฟิวส์ที่ใช้งานในระบบไฟของรถอยู่แล้ว ควรพกพาฟิวส์สำรองไปด้วยหากเกิดขาดกลางทางก็สามารถเปลี่ยนได้เลย

 

3. ควรเปลี่ยนแผงกรองแอร์ตามระยะทางที่ระบุในคู่มือประจำรถ

รถยนต์มีแผงกรองแอร์ติดตั้งอยู่ในตู้แอร์ เมื่อใช้งานไปได้สักระยะ แผงกรองแอร์มีฝุ่นละอองในอากาศไปเกาะตัว อาจทำให้ตันขึ้นมาได้ ควรเปลี่ยนตามระยะทางที่ระบุในคู่มือรถ

 

4. ควรล้างแอร์ ทุกปีครั้ง

การล้างทำความสะอาดตู้แอร์ในห้องโดยสารสำหรับรถที่มีอายุการใช้งาน นอกจากการล้างแอร์จะช่วยทำให้ลมแอร์ดีขึ้นแล้ว ยังลดกลิ่นอับชื้นเหม็นต่างๆ แต่ถ้าใครเปิดกระจกขับรถบ่อย ให้ล้างทุกๆ ปี

 

5. เมื่อเปิดแอร์ตอนแรก หรือ เครื่องยังเย็นอยู่ไม่ควรเปิดแอร์จนสุด

ควรให้แอร์ได้วอร์มสักพักก่อนสัก 5 นาที โดยสตาร์ทเครื่องยนต์และให้เครื่องยนต์ถึงอุณหภูมิทำงาน ที่พัดลมระบายความร้อนหม้อน้ำทำงาน ก่อนจึงเปิดสวิตช์ระบบปรับอากาศ

 

 6. การตั้งอุณหภูมิ ไม่ตั้งอุณหภูมิให้เย็นเกินไป เพราะจะทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานอยู่ตลอดเวลา

 

7. สวิตช์พัดลม เปิดสวิตช์พัดลมก่อนแล้วจึงกด สวิตช์ระบบปรับอากาศ (A/C) เปิดไปที่ความเร็วพัดลมสูงสุดระยะหนึ่งก่อน แล้วจึงลดลงไปยังความเร็วน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น

 

8. หลีกเลี่ยงการใช้น้ำหอม หรือ สเปรย์ปรับอากาศ เนื่องจากไอระเหยของสารเคมีที่ใช้จะถูกดูดเข้าไปสะสมตัวที่ครีบเล็กๆ ของคอยล์เย็น สารเหล่านี้มีคุณสมบัติในการดูดความชื้น ทำให้ฝุ่นผงไปจับตัวที่ครีบระบายความเย็น ทำให้การถ่ายเทความร้อนจะลดลง คอมเพรสเซอร์ก็จะทำงานมากขึ้น และทำความสะอาดคอยล์เย็นเป็นครั้งคราวโดยช่างผู้เชียวชาญเมื่อรู้สึกว่า ประสิทธิภาพในการทำความเย็นของระบบปรับอากาศลดลง

 

9. ไม่ควรนำน้ำหอมชนิดที่เป็นแบบมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ ไปเสียบไว้หน้าช่องแอร์ เพราะจะทำให้ตู้แอร์ผุกร่อนเร็วขึ้น

 

10. ก่อนถึงที่หมายประมาณ 15 นาที ปิดสวิตช์ระบบปรับอากาศ (A/C) เปิดพัดลมไปที่ความเร็วสูงสุด

ทั้งนี้เพื่อลดการทำงานคอมเพรสเซอร์และไล่ความชื้นออกจากคอยล์เย็น

 

11. หากจอดตากแดดเป็นเวลานานๆ ก่อนใช้รถควรเปิดลมเปล่าให้แรงสุด ปิดสวิตช์แอร์ A/C เพื่อไล่ความร้อนที่มีอยู่ในระบบแอร์ออกเสียก่อน แล้วจึงค่อยเปิดแอร์เปิดสวิตช์ A/C

 

12. ก่อนที่จะจอดรถทิ้งไว้นานๆ เช่น เมื่อต้องจอดข้ามคืน ควรเปิดลมเปล่าให้แรงสุด ปิดสวิตช์แอร์ A/C ประมาณ 5 นาที เพื่อไล่ความชื้น ไล่น้ำ ที่ค้างอยู่ในตู้แอร์ออกก่อน เพราะตู้แอร์ทำจากอะลูมิเนียม จะเกิดการผุกร่อนได้ง่าย และจะทำให้ลดการเหม็นอับอีกด้วย

 

13. ไม่ควรเปิดกระจกขับรถบ่อย เพราะจะทำให้ฝุ่นละอองจากภายนอก เข้ามาอุดตันในตู้แอร์เร็วยิ่งขึ้น

 

14. เมื่อมีเหตุจำเป็นที่ต้องเปิดกระจกขับรถ ควรปิดช่องแอร์บริเวณจุดที่แอร์ออกให้หมด เพื่อให้ฝุ่นเข้าไปในระบบแอร์น้อยที่สุด

 

15. หมั่นตรวจเช็แอร์รถโดยช่างผู้เชี่ยวชาญ ควรต้องตรวจตราดูแลรักษาและทำการซ่อมบำรุงแอร์ ตรวจเช็คระบบทำความเย็นในรถยนต์ โดยช่างผู้เชี่ยวชาญโดยช่างแอร์ตรวจสอบระบบแอร์ตรวจเช็คน้ำยาแอร์ และรอยรั่วตามท่อทางของระบบ

 

16. เมื่อแอร์ไม่เย็น แม้จะเปิดสวิตช์ A/C แล้ว แต่ก็ยังไม่มีไอเย็นออกมา ให้รีบปิดปิดสวิตช์แอร์ A/C ทันที หากเกิดการรั่วในระบบ น้ำยาแอร์และน้ำมันคอมเพรสเซอร์จะมีน้อยมากในระบบ จะทำให้คอมเพรสเซอร์พังมากขึ้นกว่าเดิม แล้วควรนำรถไปเช็คให้เร็วที่สุด

 

17. เมื่อแอร์รถไม่เย็นและต้องเติมน้ำยาแอร์บ่อยครั้ง อาจเกิดการรั่วของระบบแอร์ในรถได้

 

การบำรุงรักษาด้วยวิธีง่ายเท่านี้ จะช่วยยืดอายุการใช้งานของระบบปรับอากาศในรถยนต์ให้นานขึ้นได้

การทำประกันภัยรถยนต์เป็นอีกหนึ่งทางที่จะช่วยลดความเสี่ยง และให้ความคุ้มครองในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น...เลือกสินมั่นคงประกันภัย..ประกันรถ ประกันเวลา..วางใจทำประกันรถยนต์กับเรา ด้วยเบี้ยที่ไม่แพง พร้อมบริการที่สะดวก รวดเร็ว โทร 1596 หรือ www.smk.co.th

Photo source: pexels.com