ข่าวสารและบทความ

ประกันสุขภาพ : เก็บสะสมของมากไปอาจป่วยทางจิต

ประกันสุขภาพ :  เก็บสะสมของมากไปอาจป่วยทางจิต

การเก็บรักษาสิ่งของต่างๆ เป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ถ้าเก็บสะสมไปหมดรวมทั้งของที่ไม่ใช้จะตัดใจทิ้งอะไรไม่ได้จนรกบ้านไปหมด อาจไม่ใช่เรื่องปกติทั่วไป แต่อาจจะป่วยด้วยโรคทางจิตที่ควรได้รับการรักษา สินมั่นคง ประกันสุขภาพ มีข้อมูลเกี่ยวกับโรคเก็บสะสมของ มาบอกกันถึง ลักษณะอาการและวิธีป้องกันรักษา

 

โรคเก็บสะสมของ (Hoarding Disorder) เป็นโรคที่เพิ่งถูกเพิ่มเข้ามาใหม่เมื่อปี พ.ศ.2556 เป็นโรคที่ผู้ป่วยจะรู้สึกอยากเก็บของทุกอย่างเอาไว้ ไม่สามารถตัดใจทิ้งสิ่งไหนลงได้เลย ผู้ป่วยโรคนี้จะมีปัญหาในเรื่องของการแยกกลุ่มสิ่งของออกจากกัน บางสิ่งเก็บมาปนกันไม่มีหมวดหมู่ จนรกบ้าน

 

ลักษณะอาการ

สำหรับผู้ที่มีอายุประมาณ 11-15 ปีขึ้นไป โดยอาจจะเริ่มสะสมของเล่นที่พังแล้ว ดินสอกุดๆ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสียแล้วเป็นอย่างแรก แต่อาการจะแสดงชัดเจนเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป เพราะในช่วงวัย 30 ปี ข้าวของเครื่องใช้จะเยอะขึ้น และเริ่มแสดงให้เห็นว่าไม่ยอมทิ้งอะไรเลย โดยจะเก็บเอาไว้จนรกบ้าน เพราะคิดว่าของเหล่านั้นยังมีประโยชน์ต่อตนเองอยู่

 

1. ไม่กล้าตัดสินใจทิ้งข้าวของเลยและมีความกังวลใจมากเมื่อต้องทิ้งข้าวของ ด้วยเชื่อว่าของที่สะสมอาจได้ใช้ประโยชน์ หรือมีมูลค่าในอนาคต มีคุณค่าทางจิตใจ ทำให้นึกถึงช่วงเวลาที่มีความสุข รู้สึกปลอดภัยเมื่อได้อยู่ท่ามกลางของที่เขาสะสม

 

2. รู้สึกยากลำบากในการจัดเรียงข้าวของให้เป็นหมวดหมู่

 

3. รู้สึกทนทุกข์กับการเป็นเจ้าข้าวเจ้าของอย่างมาก หรือรู้สึกละอายใจเพราะข้าวของที่ตัวเองเก็บ

 

4.ไม่ไว้ใจ กลัวคนอื่นจะมาแตะต้องข้าวของตัวเอง และไม่ยอมให้ใครมาหยิบยืมไปด้วย

 

5. มีความคิดและการกระทำที่หมกมุ่น เช่น กลัวว่าถ้าทิ้งสิ่งใดไปแล้ว ในอนาคตจะไม่มีใช้ เมื่อเผลอทิ้งสิ่งใดไปก็จะรีบไปเช็คดูที่ถังขยะแล้วเอากลับคืนมาทันที

 

6. ไม่สามารถดำเนินชีวิตโดยปกติได้ เช่น ไม่มีพื้นที่อยู่อาศัย แยกตัวออกจากสังคม ทะเลาะกับสมาชิกในครอบครัวหรือคู่สมรส มีปัญหาทางการเงิน มีปัญหาด้านสุขภาพ

 

สาเหตุของโรค

โรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่จากการศึกษาพบว่ามีอยู่หลายสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคเก็บสะสมของ กล่าวคือ

- พันธุกรรม ร้อยละ 50 ของคนที่เป็นโรคพบว่าคนในครอบครัวก็เป็นโรคนี้ด้วย

- สมองได้รับการบาดเจ็บ หรือ สมองบางส่วนทำงานลดลง

- เกิดขึ้นได้กับคนที่เป็นป่วยทางจิตอื่นๆ เช่น โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder ; OCD) , โรคสมองเสื่อม (Dementia), โรคซึมเศร้า (Depression) , โรคไบโพลาร์ (Bipolar disorder), โรคจิตเภท(Schizophrenia)

- ความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning disability) ความบกพร่องทางการเรียนรู้อาจทำให้เรามีปัญหาเกี่ยวกับความคิดและความจำ

- เคยพบเจอกับเหตุการณ์ที่ลำบากในชีวิต บางคนหลังจากที่ประสบกับเหตุการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต เช่น สูญเสียคนที่รัก หย่าร้าง ไฟไหม้บ้าน ก็อาจจะเริ่มมีอาการเก็บสะสมของด้วย ทั้งนี้เพราะพวกเขากลัวว่าจะต้องสูญเสียอะไรไปอีก

- วัยเด็กค่อนข้างขาดแคลนทางวัตถุและมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับคนในครอบครัว

- วัยเด็กเติบโตมาในครอบครัวที่มีความเป็นอยู่รกรุงรัง เด็กที่โตมาในครอบครัวที่ไร้ระเบียบจะไม่ได้เรียนรู้เรื่องการจัดเก็บสิ่งของให้เป็นระเบียบ จึงมีโอกาสโตมาเป็นโรคเก็บสะสมของด้วย

- การแยกตัวจากสังคมคนที่แยกตัวจากสังคม ไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับใครมีโอกาสจะเป็นโรคเก็บสะสมของได้ด้วยเหมือนกัน

- คนที่อาศัยอยู่คนเดียวและเป็นโสด คนที่อาศัยอยู่ลำพังและเป็นโสด อาจจะรู้สึกเหงาจนต้องเก็บสะสมของ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคเก็บสะสมของได้ คนที่ป่วยเป็นโรคเก็บสะสมของประมาณ 2-5% ในคนทั่วไป และส่วนใหญ่มักเป็นคนโสด

 

ผลกระทบของโรค

ทำให้เกิดอันตราย เช่น หกล้มเพราะสะดุดข้าวของ ข้าวของล้มทับ หรือป่วยเป็นภูมิแพ้จากห้องรก สกปรก อาจเกิดร่วมกับอาการทางจิตอื่นๆ ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ โรควิตกกังวล หรือโรคกลัวการเข้าสังคม เป็นต้น

 

การรักษา

ควรพาไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาเป็นวิธีที่ดีที่สุด โรคเก็บสะสมของจะมีลักษณะเรื้อรัง ไม่หายขาด แต่สามารถรักษาให้อาการดีขึ้นได้ โดยในปัจจุบันวิธี รักษาโรคเก็บสะสมของนั้นนิยมรักษาอยู่ 2 แนวทาง คือการให้ยาต้านเศร้าและพฤติกรรมบำบัด

1. ใช้ยาต้านเศร้า (antidepressant)

คุณหมอจะให้ยาต้านเศร้าเพื่อให้เราลดความเครียดและความหมกมุ่นในการสะสมของ อย่างไรก็ตามวิธีนี้ได้ผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

2. พฤติกรรมบำบัด

พฤติกรรมบำบัดเป็นหนึ่งในวิธีรักษาอาการทางจิตที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมและค่อนข้างได้ผลพอสมควร ซึ่งวิธีนี้ก็สามารถใช้เยียวยาอาการของโรคได้ด้วย โดยเป็นวิธีที่มุ่งเน้นฝึกทักษะการตัดสินใจให้ผู้ป่วยสามารถจัดการเก็บหรือทิ้งสิ่งของในครอบครองได้อย่างมีเหตุผลยิ่งขึ้น การจัดกลุ่มข้าวของเครื่องใช้ รวมทั้งฝึกให้ทนได้กับการทิ้งของเหลือใช้ร่วมด้วย

 

สินมั่นคงประกันภัย มีประกันสุขภาพหลายรูปแบบให้เลือก พร้อมเบี้ยประกันที่ไม่แพง
คลิก www.smk.co.th หรือ โทร 1596 สินมั่นคงประกันสุขภาพ..เราประกัน คุณมั่นใจ..

ที่มา: ramachannel
Photo source: pexels.com