ประกันสุขภาพ : ร่างกายหนูส่วนไหนที่ผู้ใหญ่ห้ามแตะต้อง! สอนลูกให้เข้าใจ “สิทธิเด็ก”
การคุกคามเด็ก และ ความรุนแรงในเด็ก ดูเหมือนจะมีให้เห็นในหน้าฟีดข่าวมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งข่าวการทำร้ายร่างกายเด็กจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตโดยพ่อแม่แท้ๆ ของเด็กเอง หรือข่าวการแสดงความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูกจนอาจเกินขอบเขตความเหมาะสม สร้างความสะเทือนใจปนสงสัยว่า ในความจริงแล้วขอบข่ายของคำว่า “สิทธิเด็ก” อยู่ตรงไหน? สินมั่นคง ประกันสุขภาพ มีข้อมูลมาเล่าให้ฟัง
“สิทธิเด็ก” คืออะไร?
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ( www.m-society.go.th) ให้นิยามความหมายไว้ว่า “สิทธิเด็ก” หมายถึง บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบรูณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส มีอำนาจอันชอบธรรมที่จะกระทำการใด ๆ ได้อย่างอิสระ โดยได้รับความคุ้มครองจากกฎหมาย และเด็กทุกคนจะต้องได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งองค์การสหประชาชาติ ( www.unicef.org ) ดังนี้
1. สิทธิในการมีชีวิต เด็กทุกคนเมื่อเกิดมาแล้วจะมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ ไม่ว่าจะเกิดมามีร่างกายที่สมบูรณ์หรือไม่ก็ตาม มีสิทธิที่จะได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีที่สุด ทั้งด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจ ที่พักอาศัย โภชนาการและการบริการทางการแพทย์เมื่อป่วยไข้ สิทธิที่จะได้รับอาหารในปริมาณที่เพียงพอและสะอาด สิทธิที่จะได้รับปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
2. สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย เป็นสิทธิที่เด็กได้รับปกป้องคุ้มครองจากการทารุณกรรมทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการทารุณกรรมทางร่างกาย จิตใจ การล่วงเกินทางเพศ รวมถึงการใช้แรงงานเด็ก
3. สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา เด็กทุกคนต้องได้รับสิทธิให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับพัฒนาการ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนร่วมในกิจกรรมครอบครัว โรงเรียน และสังคมที่เด็กอยู่ได้อย่างมีความสุข มีโอกาสเล่น พักผ่อน ได้รับข้อมูลข่าวสาร มีอิสระในการคิดและการแสดงออก ได้รับการกล่อมเกลาทางด้านจิตใจ ความรู้ ความคิดที่เหมาะสมกับวัย
4. สิทธิในการมีส่วนร่วม เป็นสิทธิที่ให้ความสำคัญกับการแสดงออกทั้งในด้านความคิดและการกระทำของเด็กในการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม รวมทั้งสิทธิในการปกป้องเรียกร้องผลกระทบที่เกิดกับชีวิตความเป็นอยู่ของเด็ก ด้วยการอนุญาตให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตนเองและสามารถแสดงความคิดเห็นโดยไม่กระทบสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
สอนลูกอย่างไร? ให้เข้าใจ “สิทธิในร่างกาย” ของตัวเอง
คงเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง ว่าควรสอนลูกอย่างไร? ให้รู้จักปกป้อง “สิทธิในร่างกาย” ของตัวเอง และรอดพ้นจากความเสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิดทางเพศได้ ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร หรือ กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น รพ.รามาธิบดีฯ เจ้าของเพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน ( www.facebook.com/takekidswithus ) ได้ให้คำแนะนำไว้เบื้องต้น ดังนี้
1. พ่อแม่ต้องทำให้ลูกเข้าใจ ว่าลูกมีสิทธิในเนื้อตัวร่างกายของตัวเอง “เสมอ” และควรเป็นตัวอย่างของการไม่ละเมิดสิทธินั้นเสียเอง เพื่อให้เด็กไม่เกิดความสับสน หรือเข้าใจว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะปฏิเสธผู้ใหญ่ไม่ได้
2. หลายครั้งด้วยความรักและความใกล้ชิด เด็ก ๆ จึง “ไม่สามารถ” กล้าปฏิเสธ สิ่งที่ทำให้เขารู้สึกอึดอัด และบางครั้งเด็กก็เล็กเกินไป จนแยกไม่ได้ ระหว่างการแสดงความรักกับการถูกล่วงละเมิด
3. การล่วงละเมิดและคุกคามทางเพศในเด็ก ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากคนในครอบครัว ดังนั้นผู้ใหญ่ในบ้านต้องช่วยกันสอดส่องดูแล สอนลูกเรื่อง "สิทธิในร่างกายตนเอง" ลูกเป็นเจ้าของร่างกายตนเอง มีสิทธิปฏิเสธ ไม่ให้ใครมาวุ่นวาย ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะเป็นคนในหรือนอกครอบครัว
4. การแสดงความรัก ควรอยู่ในขอบเขตที่ไม่มากเกินไป และไม่สร้างความอึดอัดใจให้กับผู้รับ ไม่ควรลุกล้ำพื้นที่ส่วนตัว เช่น พื้นที่ในร่มผ้า หน้าอก ก้น อวัยวะเพศ และ “ทุกพื้นที่” ที่ลูกดูมีความอึดอัดใจเมื่อเราไปสัมผัส หรือเมื่อลูกแสดงอาการปฏิเสธ แข็งขืน หรือดูอึดอัดใจ ให้เคารพความรู้สึกของลูกเสมอ
5. สอนลูกด้วยประโยคที่เข้าใจง่าย เช่น "มีบางคนเข้ามายุ่งกับร่างกายของเรา โดยที่เราไม่เต็มใจ และไม่อยากให้ทำ เช่น บางคนมาจับหน้าอก มายุ่งกับอวัยวะเพศ มากอด หอม หรือบางทีก็ให้เราไปจับของส่วนตัวเค้าโดยที่เราไม่ยินยอม แบบนี้ถือเป็นเรื่องผิดปกติ และแม่อยากให้ลูกบอกผู้ใหญ่ให้รับรู้เสมอ”
6. บอกลูกเสมอ ไม่ว่าจะอย่างไร “การถูกละเมิดไม่ใช่ความผิดของผู้ถูกกระทำ” ไม่ใช่ความผิดเพราะเราเป็นเด็ก เพราะเราแต่งตัวไม่เรียบร้อย ใส่ขาสั้น เมา หรือไม่ดูแลตัวเองให้ดี "ไม่มีใครมีสิทธิที่จะล่วงละเมิดใคร" ไม่ว่าอีกฝ่ายจะเป็นอย่างไรก็ตาม
7. บอกลูกว่า พ่อแม่จะอยู่กับลูกเสมอ ถ้ามีใครมาทำอะไรที่ทำให้เรารู้สึกอึดอัดใจ ให้บอกพ่อแม่ได้ ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะเป็นใครก็ตาม ไม่บังคับให้ลูกกอดหอมใคร หรือให้ใครมากอดหอมลูก โดยที่ลูกรู้สึกไม่เต็มใจ ลูกจะสับสนในสิ่งที่เราต้องการจะสื่อ และไม่แน่ใจในสิทธิในเนื้อตัวร่างกายตนเอง
8. การโพสต์อะไรลงใน social ให้คิดไว้เสมอว่าสิ่งนั้นจะอยู่ที่นั่นตลอดไป ถ้าเป็นไปได้ควรไตร่ตรองสิ่งที่จะลงไป และขออนุญาตลูกก่อนลงทุกครั้ง
ช่วยคุ้มครองลูกน้อยในทุกปัญหาสุขภาพ ด้วยประกันสุขภาพเด็ก (Super Kids) จากสินมั่นคงประกันภัย แผนประกันที่พร้อมจะดูแลลูกน้อยของคุณอย่างเต็มที่ ช่วยให้คุณไม่ต้องกังวลกับเรื่องค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุและโรคเด็กสุดฮิตอีกต่อไป เบิกได้ทั้งแบบผู้ป่วยใน (IPD) และผู้ป่วยนอก (OPD) พร้อมทันตกรรม 2,000 บาทต่อปี
สนใจรายละเอียด คลิก www.smk.co.th/producthealthdetail/12 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance
สินมั่นคงประกันสุขภาพ ..เราประกัน คุณมั่นใจ..