ข่าวสารและบทความ

ประกันรถยนต์ : ใช้แตรรถยนต์ถูกวิธีช่วยลดอุบัติเหตุ

ประกันรถยนต์ : ใช้แตรรถยนต์ถูกวิธีช่วยลดอุบัติเหตุ

หากพูดถึงแตรรถยนต์ หลายคนอาจไม่เห็นความสำคัญ เพราะไม่ค่อยได้ใช้งาน และพยายามใช้น้อยที่สุด แถมยังเป็นตัวเลือกสุดท้ายในการใช้อีกด้วย เพราะว่าการใช้แตรอาจดูไม่สุภาพ หรือไม่มีมารยาท ในความคิดของใครหลายคน  แต่การใช้แตรอย่างถูกต้องจะช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ สินมั่นคง ประกันรถยนต์ มีข้อมูลมาแนะนำในเรื่องการใช้แตรดังนี้ 

แตรเริ่มติดตั้งในรถยนต์เป็นมาตรฐานในปี 1910 ที่เบอร์มิงแฮม,ประเทศอังกฤษ แตรเป็นเสียงที่ถูกทำให้รับรู้ในการขอทาง ทั้งยังลดการเกิดอุบัติเหตุอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด จนแม้แต่ผู้พัฒนาเทคโนโลยีป้องกันอุบัติเหตุขั้นสูงในปัจจุบัน  ยังยอมรับว่าการใช้แตรอย่างถูกวิธี ทำให้ผู้ขับขี่เลี่ยงอุบัติเหตุได้ดีกว่าการใช้ระบบชั้นสูงที่พวกเขาคิดค้นมา และในด้านการขับขี่ปลอดภัย ก็ยังมองด้วยว่า แตรเป็นการป้องกันที่ดี และไม่ได้เสียมารยาทแต่อย่างใด

แตรในรถส่วนใหญ่เป็นแตรไฟฟ้า หลักการทำงานของแตรไฟฟ้าเมื่อกดปุ่มแตรบนพวงมาลัยรถยนต์ กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านขดลวด และขดลวดจะมีอำนาจเป็นแม่เหล็กคอยดูดระหว่างแผ่นไดอะแฟรม ที่เป็นแผ่นเหล็กลักษณะพิเศษทั้ง 2 แผ่น ทำให้สั่นและบิดตัว จนเกิดเสียงดัง

ตาม พรบ. จราจรทางบก กำหนดให้แตรรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ต้องมีเสียงดังไกลเกินระยะ 60 เมตร หากฝ่าฝืน มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท

 

หลักการใช้แตรอย่างถูกวิธีมีดังนี้

- ควรใช้แตรก่อนเกิดเหตุ ไม่ควรใช้ขณะเกิดเหตุ หรือแก้สถานการณ์ 
ผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศ เผยว่า แตรไม่ควรใช้ในช่วงที่ภัยเข้ามาใกล้ตัว เพราะ มันจะทำให้การบังคับรถมีประสิทธิภาพลดลง ควรใช้แตรก่อนเกิดเหตุ เมื่อเห็นเหตุที่อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุจากเพื่อนร่วมทาง เราควรเริ่มที่จะใช้แตรทันที ไม่ควรใช้ขณะเกิดเหตุ หรือแก้สถานการณ์ 

- ใช้แตรหลังเกิดเหตุการณ์
สิ่งแรกที่ควรทำคือหลีกเลี่ยงเหตุก่อน จากนั้นจึงค่อยส่งสัญญาณแตร เตือนเพื่อนร่วมทาง

 

ข้อควรปฎิบัติการใช้แตร

จังหวะการกด คนส่วนใหญ่มักนิยมกดแตรครั้งเดียวและยาว ทำให้ผู้อื่นรู้สึกรำคาญได้ ควรสร้างจังหวะในการใช้แตรทำให้ไม่รู้สึกรำคาญ  ให้ความรู้สึกดีกว่าการกดครั้งเดียวยาวๆ ควรกดเพียงแค่ระยะสั้นๆ เพื่อเตือนให้รถคันที่เราอยากจะเตือน 

น้ำหนักการกด  โดยใช้การกดและปล่อยอย่างรวดเร็ว ยิ่งเร็วมากเท่าไร เสียงแตรที่ออกไปจะดังน้อยเท่านั้น 

1.  ควรให้สัญญาณแตรเมื่อขับรถผ่านบริเวณทางโค้งหักศอก ทางโค้งที่มองไม่เห็นรถที่วิ่งสวน รวมไปถึงบริเวณที่มีมุมอับ และเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

2.   การใช้สัญญาณแตรแบบจังหวะสั้นและเบา เป็นการให้สัญญาณเตือนแบบทั่วไป เช่น เวลาต่อแถวติดไฟแดง แล้วรถคันหน้าไหลถอยหลังมา เราควรให้สัญญาณแตรแบบสั้น ๆ และเบา เป็นการบอกผู้ขับขี่คันหน้าให้รู้ว่า “รถกำลังไหลถอยหลังมาชนเรานะ’’ โปรดใช้ความระมัดระวัง เป็นต้น

3.   การใช้สัญญาณแตรค่อนข้างดังและยาว เป็นการให้สัญญาณเตือนแบบตั้งใจ เช่น เจอรถเปลี่ยนเลนเข้ามาในเลนเราแบบกะทันหันโดยไม่เปิดไฟเลี้ยว หรือการเจอรถออกจากซอยแบบกะทันหันทันที เป็นต้น

 

ข้อห้ามเกี่ยวกับแตรรถยนต์

1. ห้ามใช้แตรที่เป็นเสียงนกหวีด หรือหลายเสียง รวมถึงเสียงไซเรนกับรถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไป จะใช้ได้เฉพาะรถฉุกเฉิน รถในราชการทหาร หรือตำรวจ เท่านั้น และต้องใช้เฉพาะเมื่อจำเป็น หรือป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุเท่านั้น ห้ามใช้เสียงดังยาว หรือซ้ำหลายครั้งเกินควร ถ้าฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 1,000 บาท

2. การใช้สัญญาณแตรที่ถูกต้องนั้น ควรบีบแตรเป็นจังหวะสัญญาณสั้นๆ  ห้ามใช้สัญญาณแตรยาวเกินควรโดยเด็ดขาด ยกเว้นกรณีฉุกเฉินจริง ๆ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท ตามกฎหมาย
 
3. ควรใช้ระดับเสียงแตรให้เหมาะสม ไม่ควรดัดแปลง หรือตกแต่งเสียงแตรรถยนต์ให้ดังเกินไป เพราะเสียงที่ดังเกินไป และผิดกฏหมาย

4. การใช้สัญญาณแตรดังเป็นจังหวะลากยาว เป็นการให้สัญญาณเตือนขอความช่วยเหลือแบบฉุกเฉิน เช่น เวลารถตกหล่ม ต้องการความช่วยเหลือจากคนในบริเวณรอบข้าง การเจอเหตุไม่คาดฝัน เช่น มีคนป่วยกะทันหันภายในรถ หรือโดนทำร้าย ชิงทรัพย์ เป็นต้น การใช้สัญญาณแตรแบบนี้ไม่ควรนำไปใช้ในเวลาปกติทั่วไป เพราะสามารถสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ขับขี่คนอื่นได้

5. ไม่ควรใช้พร่ำเพรื่อจนเกินไป เพราะเป็นการสร้างความรำคาญแก่รถคันอื่น

 

การใช้แตรถูกต้องจะช่วยป้องกันเหตุที่อาจจะเป็นอันตรายได้  ไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดหรือเสียมารยาท เพียงใช้อย่างถูกต้องเข้าใจ ก็จะช่วยสร้างวินัยในการขับขี่ และเพิ่มความปลอดภัยได้

เพิ่มความคุ้มครองให้กับรถยนต์ของท่าน จากเหตุการณ์ไม่คาดคิด เลือกสินมั่นคงประกันภัย..ประกันรถ ประกันเวลา..วางใจทำประกันรถยนต์กับเรา ด้วยเบี้ยที่ไม่แพง พร้อมบริการที่สะดวก รวดเร็ว โทร 1596 หรือ www.smk.co.th 

 

ที่มา : autodeft.com
Photo source: pexels.com