ประกันสุขภาพ : สุขภาพหัวใจต้องดูแล เปิดวิธีดูแลสุขภาพหัวใจรับวาเลนไทน์
“วาเลนไทน์” นับเป็นอีกหนึ่งเทศกาลที่เป็นสัญลักษณ์ของวันแห่งความรัก การแสดงออกทางความรักในวาเลนไทน์ อาจไม่ใช่เพียงแค่แง่มุมความรักของหนุ่มสาวหรือเป็นวันแห่งความเศร้าของคนโสด แต่ยังหมายรวมถึงทุกรูปแบบความรักที่ส่งต่อมิตรภาพดีๆ ให้แก่กันระหว่างเพื่อนฝูง พ่อแม่ หรือคนในครอบครัว นอกจากจะต้องดูแลสุขภาพความรักให้เข้มแข็งแล้ว การดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรงก็เป็นสิ่งสำคัญ สินมั่นคง ประกันสุขภาพ มีวิธีดูแลสุขภาพหัวใจมาฝากค่ะ
สุขภาพหัวใจ ป้องกันได้
โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอับดับต้นๆ ของคนไทยและคนทั่วโลก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี การดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถป้องกันได้ ดังนี้
1. รู้จักและใส่ใจตัวเอง
มีปัจจัยหลายประการที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจได้ ไม่ว่าจะเป็น การมีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ หรือมีพฤติกรรมส่วนตัวและการดำเนินชีวิตที่เป็นพฤติกรรมเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่เป็นประจำ มีความดันโลหิตและไขมันในเลือดสูง ก็ยิ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ซึ่งหากมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจนกลายเป็นผู้มีสุขภาพดี ก็สามารถปลอดภัยจากโรคหัวใจได้เช่นกัน
2. ผ่อนคลายความเครียด
ความเครียดส่งผลทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น และระดับฮอร์โมนความเครียดจะเพิ่มสูงจนอาจเป็นอันตรายได้ ทั้งยังส่งผลให้เกิดแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมทำลายสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหารที่มากขึ้น การสูบบุหรี่มากขึ้น และออกกำลังกายน้อยลง การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์จะช่วยให้ร่างกายและจิตใจรับมือกับความเครียดได้ดีขึ้น รวมไปถึงการทำสมาธิ นวดผ่อนคลาย หรือเล่นโยคะ ก็ช่วยผ่อนคลายความเครียดได้อีกทางหนึ่ง
3. งดสูบบุหรี่
การเลิกบุหรี่เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ เพราะบุหรี่ประกอบไปด้วยสารเคมีหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต สารเหล่านี้จะเพิ่มความดันให้สูงขึ้นและลดปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือดลง การสูบบุหรี่ไม่ว่ามากหรือน้อย ก็ล้วนเป็นอันตรายต่อร่างกายได้เช่นเดียวกัน แม้แต่ผู้ที่สูบเป็นบางครั้งก็ยังมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสูงกว่าผู้ที่ไม่สูบเลย
4. ลดน้ำหนักส่วนเกิน
ความอ้วน และน้ำหนักส่วนเกินไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพหัวใจ เพราะน้ำหนักเกินนั้นเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ผู้ที่มีรอบเอวหนาก็มีความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งทั้งสามโรคนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่โรคหัวใจทั้งสิ้น
5. ควบคุมความดันโลหิต
ผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตสูง มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสูงโดยอัตโนมัติ เนื่องจากความดันโลหิตสูงเป็น "ส่วนผสม" พื้นฐานของโรคหัวใจ ในระยะยาวความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดการอักเสบ ทำลายผนังหลอดเลือดจนเกิดเป็นผลกระทบที่ร้ายแรงตามมา นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยหลายประการที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง ทั้งพันธุกรรม ความอ้วน การรับประทานอาหาร โดยไม่คำนึงถึงสุขภาพ และขาดการออกกำลังกาย การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจึงเป็นวิธีที่ได้ผลดีในระยะยาว
6. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
การรับประทานอาหารที่มากเกินพอดี ล้วนเป็นอันตรายต่อสุขภาพและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้ การลดอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันและไขมันแปลงสภาพ รับประทานผักและผลไม้ประมาณ 5-10 ส่วนต่อวัน เน้นธัญพืชไม่ขัดสี และบริโภคโปรตีนไขมันต่ำ อาทิ เนื้อไม่ติดมันและเนื้อปลา โดยเฉพาะปลาที่อุดมด้วยไขมันอย่างปลาแซลมอนที่มีกรดไขมันโอเมกา 3 อยู่มาก อาจช่วยป้องกันโรคหัวใจได้ และควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าวในการประกอบอาหาร
7. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การออกกำลังกาย (อย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 4-5 ครั้ง) ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้ ทั้งยังลดความเสี่ยงต่อโรคอื่นๆ ได้หลายประการ การออกกำลังกายช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ทำให้หัวใจแข็งแรง ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดน้ำหนักส่วนเกิน ผ่อนคลายความเครียด ทำให้อารมณ์ดี และกระดูกแข็งแรงอีกด้วย และควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสุขภาพด้วยเช่นกัน
8. ตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำ
การตรวจสุขภาพช่วยให้พบปัญหาที่อาจกลายเป็นอันตรายได้ตั้งแต่ในระยะแรกเริ่มจะช่วยให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งโรคความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหัวใจ การตรวจวัดความดันและระดับไขมันในเลือดเป็นระยะๆ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้ดียิ่งขึ้น
การเจ็บป่วยในหลายๆ โรคภัยมักไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น การตรวจสุขภาพประจำปี จะช่วยให้เราพบปัญหาที่อาจกลายเป็นอันตรายได้ตั้งแต่ในระยะแรกเริ่ม การตรวจสุขภาพหัวใจก็เช่นกัน จะช่วยให้ป้องกันและดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรงได้ดียิ่งขึ้น
ประกันสุขภาพตามฟิต ตามก้าว ..ยิ่งก้าว เบี้ยยิ่งลด.. คนที่มีสุขภาพแข็งแรง (ฟิตกว่า) มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยน้อยกว่าคนที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงไม่ฟิตร่างกาย เบี้ยประกันสำหรับคนที่ฟิตกว่าจึงควรจ่ายน้อยกว่า นอกจากนี้ยังสามารถ รับเบี้ยคืนอีกหากออกกำลัง (ก้าวเดิน) ได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด ลดสูงสุด 20% จากเบี้ยปกติ
สนใจรายละเอียด คลิก www.smk.co.th/producthealthdetail/1 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance