ข่าวสารและบทความ

ประกันสุขภาพ : โรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata) สาเหตุ และวิธีการรักษา

ประกันสุขภาพ : โรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata) สาเหตุ และวิธีการรักษา

โรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata) กลายเป็นที่กล่าวถึงทั่วทั้งโลก เมื่อ วิลล์ สมิธ เดินลุกขึ้นไปตบหน้าพิธีกร กลางเวทีประกาศรางวัลออสการ์ หลังจากพูดแซวเรื่องทรงผมภรรยาของวิลล์บนเวที ซึ่งเป็นสาเหตุให้ภรรยาของวิลล์รู้สึกเสียความมั่นใจในทันทีเพราะต้องต่อสู้กับความทรมานของโรคนี้มาเป็นระยะเวลานาน แล้วโรคผมร่วงเป็นหย่อม มีอาการอย่างไร? มีสาเหตุจากอะไร? แล้วต้องรักษาอย่างไร? สินมั่นคง ประกันสุขภาพ เก็บข้อมูลมาฝากค่ะ 

 

โรคผมร่วงเป็นหย่อม คืออะไร?

โรคผมร่วงเป็นหย่อม เป็นสาเหตุที่พบบ่อยของอาการผมร่วงเป็นหย่อมอย่างเฉียบพลัน บางครั้งอาจเกิดขึ้นกับเส้นขนในบริเวณอื่นของร่างกายได้ เช่น คิ้ว หรือหนวด โรคนี้เกิดจากการอักเสบภายใต้หนังศีรษะ การอักเสบนี้ไม่ได้ทำลายรูขุมขนอย่างถาวร ดังนั้นหลังโรคสงบลง ผมหรือเส้นขนจะสามารถงอกขึ้นมาใหม่ได้ โรคนี้สามารถแบ่งตามตำแหน่งและความรุนแรง ได้ดังนี้

    • Alopecia areata (AA) : มีผมร่วงเป็นหย่อมๆ ที่ศีรษะ หรืออาจมีหย่อมขนร่วงที่คิ้ว หนวด หรือขนบริเวณใบหน้าหรือลำตัว
    • Alopecia totalis (AT) : ผมที่ศีรษะร่วงทั้งหมด
    • Alopecia universalis (AU) : ผมที่ศีรษะ และขนที่ตัว เช่น ขนรักแร้ ขนหัวหน่าว ร่วงทั้งหมด

โรคผมร่วงเป็นหย่อม ไม่ทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่มีผลกระทบต่อความสวยงามและความมั่นใจของผู้ป่วย จึงอาจทำให้มีผลกระทบทางด้านจิตใจได้ โดยเฉพาะใน Alopecia universalis ซึ่งมีความรุนแรงของโรคมากที่สุด และมักตอบสนองต่อการรักษาต่างๆ น้อยที่สุด

 

ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค

โรคผมร่วงเป็นหย่อม สามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งในเพศชายและเพศหญิงในอัตราเท่าๆ กัน อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยคือประมาณ 30 ปี แต่ก็สามารถเกิดขึ้นที่ช่วงอายุใดก็ได้ โดยเฉลี่ยมักเกิดขึ้น 1 ใน 1000 คน หรือ ประมาณ 2% 

อาการของโรคผมร่วงเป็นหย่อม

ผู้ป่วยโรคผมร่วงเป็นหย่อม จะมีอาการดังนี้

    • ผมร่วงเป็นหย่อม ลักษณะกลม ขอบเขตชัดเจน 
    • เกิดขึ้นได้หลายตำแหน่ง โดยมากมักเกิดภายในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์ 
    • ผู้ป่วยส่วนมากมีอาการคันหรือแสบนำมาก่อนในบริเวณที่จะเกิดโรค 
    • มักเกิดที่บริเวณศีรษะ แต่สามารถเกิดที่ตำแหน่งอื่นๆ ในร่างกายที่มีขนได้ (ขนคิ้ว ขนตา หนวด ขนรักแร้ หรือ ขนหัวหน่าว) 
    • อาจพบผมหักเป็นตอสั้นๆ ติดหนังศีรษะได้ในบริเวณขอบของรอยโรคที่กำลังจะขยาย เนื่องจากเส้นผมที่สร้างขึ้นใหม่จะเปราะและผิดปกติ 
    • อาจเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันหรือค่อยเป็นค่อยไปก็ได้ 
    • ผู้ป่วยบางคนอาจมีความผิดปกติของเล็บร่วมด้วย โดยอาการที่เล็บอาจเกิดนำมาก่อน เกิดพร้อมกัน หรือเกิดภายหลังจากภาวะผมร่วงได้ ความผิดปกติของเล็บที่พบได้บ่อยที่สุด คือ การพบหลุมเล็กๆ บนผิวของแผ่นเล็บ

 

สาเหตุของโรคผมร่วงเป็นหย่อม

โรคผมร่วงเป็นหย่อม ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ทราบเพียงแต่มีภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ทำงานผิดปกติมาทำลายรูขุมขน อย่างไรก็ตาม หากโรคสงบลงแล้วรูขุมขนยังสามารถกลับมาสร้างเส้นขนได้ใหม่ตามปกติ โรคที่อาจพบร่วมร่วมกับโรคผมร่วงหย่อมได้ คือ ต่อมไทรอยด์อักเสบ ด่างขาว หรือกลุ่มโรคภูมิแพ้

ร้อยละ 20 ของผู้ป่วยผมร่วงหย่อม จะมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ด้วย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงเชื่อว่าปัจจัยทางพันธุกรรม อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคนี้ได้ ญาติสายตรงที่มีบุคคลในบ้านเป็นโรคนี้อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้มากขึ้นเล็กน้อย

ป้องกันโรคผมร่วงเป็นหย่อมได้อย่างไร?

การดูแลสุขภาพร่างกายและสุขภาพหนังศีรษะให้แข็งแรงเป็นแนวทางป้องกันการเกิดโรคผมร่วงเป็นหย่อมได้เป็นอย่างดี ด้วยวิธีการดังนี้

    • ผ่อนคลายความเครียด เพราะความเครียดเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคได้
    • เลือกรับประทานอาหารที่มีสารบำรุงเส้นผม เช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี และธาตุสังกะสี เป็นต้น
    • ใส่วิก สวมหมวก หรือทาครีมกันแดดบริเวณหนังศีรษะที่เกิดอาการ เพื่อป้องกันแสงแดดทำอันตรายหนังศีรษะเพิ่มขึ้น
    • สวมแว่นกันแดด (ในกรณีที่โรคนี้ส่งผลให้ขนตาร่วง) เพราะอาจมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ดวงตาได้เนื่องจากไม่มีขนตาคอยป้องกัน

 

ลดความเสี่ยงทางการเงินให้ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ประกันภัยโรคมะเร็ง จ่ายเป็นเงินก้อน (เต็มทุนประกัน) ให้ทันทีที่ตรวจพบ นำไปใช้เป็นเงินชดเชยรายได้ในขณะเจ็บป่วยหรือพักฟื้น ไม่จำกัดวิธีการรักษา เป็นทุนสำรองสำหรับครอบครัวในกรณีที่เสียชีวิต ไม่ต้องตรวจสุขภาพก่อนทำประกันภัย
สนใจรายละเอียด คลิก www.smk.co.th/producthealthdetail/6 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance