ประกันรถยนต์ : ประเภทรถบรรทุกมีอะไรบ้าง? ขับรถบรรทุกต้องใช้ใบขับขี่ประเภทใด?
หลายครั้งที่ต้องขับรถอยู่บนท้องถนนแล้วต้องพบเจอกับรถบรรทุกหลากหลายรูปแบบ และต้องคอยสังเกตรหัสสัญญาณไฟต่างๆ จากรถบรรทุก (รหัสสัญญาณไฟของรถบรรทุก) เพื่อระแวดระวังอุบัติเหตุและภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากรถบรรทุกได้อีกด้วย แล้วรถบรรทุกตามกฎหมายของประเทศไทยมีแบบไหนบ้าง? สินมั่นคงประกันรถยนต์ มีข้อมูลมาฝากค่ะ
กรมการขนส่งทางบก ได้ให้คำนิยามของรถบรรทุกไว้ว่า เป็นรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของเพื่อค่าสินจ้างหรือเพื่อธุรกิจการค้าของตนเองโดยจะต้องมีน้ำหนักรวมไม่เกิน 1600 กิโลกรัม ซึ่งได้กำหนดลักษณะการใช้รถในการขนสิ่งของหรือสัตว์ โดยแยกรถบรรทุกออกเป็นทั้งหมด 9 ประเภท ดังนี้
1. รถกระบะบรรทุก
มีลักษณะเป็นกระบะ จะมีหลังคาหรือไม่มีก็ได้ หรือจะมีเครื่องทุ่นแรง ไว้เพื่อช่วยสำหรับยกสิ่งของได้ รวมถึงรถที่ใช้ในการบรรทุกไม่มีด้านข้างหรือด้านท้าย ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 2 (บ.2 , ท.2) เพื่อขับรถบรรทุก สิบล้อ,หกล้อ,รถบัส,รถเมล์,รถตู้ และรถยนต์
2. รถตู้บรรทุก
มีลักษณะเป็นตู้ทึบ และมีหลังคาและตัวถังที่บรรทุกระหว่างผู้โดยสารและผู้ขับเป็นตอนเดียว โดยจะมีประตูบานใหญ่ไว้สำหรับให้ผู้โดยสารขึ้นลง หรือจะเลือกเปิดท้ายก็ได้ ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 2 (บ.2 , ท.2) เพื่อขับรถบรรทุก สิบล้อ,หกล้อ,รถบัส,รถเมล์,รถตู้ และรถยนต์
3. รถบรรทุกของเหลว
เป็นรถที่ใช้ในการบรรทุกของเหลวตามความเหมาะสมและจะต้องเป็นประเภทที่มีความปลอดภัยสูง ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 4 (บ.4, ท.4) เพื่อขับรถขนส่งวัตถุอันตราย
4. รถบรรทุกวัสดุอันตราย
เป็นรถที่ใช้ในการบรรทุกเฉพาะเพื่อใช้ในการบรรทุกวัสดุอันตราย ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง สารเคมี วัตถุระเบิด วัสดุไวไฟ ซึ่งจะมีลักษณะเฉพาะและมีป้ายเตือนอย่างชัดเจน ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 4 (บ.4, ท.4) เพื่อขับรถขนส่งวัตถุอันตราย
5. รถบรรทุกเฉพาะกิจ
เป็นรถที่ใช้ในการบรรทุกที่มีลักษณะพิเศษ เพื่อใช้ในการเฉพาะ เช่น รถบรรทุกเครื่องดื่ม รถผสมซีเมนต์ รถขยะมูลฝอย รถราดยาง หรือรถเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 4 (บ.4, ท.4) สามารถขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งวัตถุอันตราย
6. รถพ่วง
เป็นรถที่ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง จึงต้องอาศัยรถอื่นลากจูงโดยจะมีโครงรถที่มีเพลาล้อที่สมบูรณ์ในตัวเอง ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 3 (บ.3 , ท.3) สามารถขับได้ทั้งรถสิบล้อพ่วงและรถหัวลาก
7. รถกึ่งพ่วง
เป็นรถที่ไม่มีแรงขับเคลื่อนในตัวเอง จึงต้องใช้หัวรถลาก โดยน้ำหนักของรถบางส่วนจะต้องเฉลี่ยลงบนเพลาล้อของคันลากจูง ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 3 (บ.3 , ท.3) สามารถขับได้ทั้งรถสิบล้อพ่วงและรถหัวลาก
8. รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาง
เป็นรถที่ไว้ใช้ในการขนสิ่งของที่ยาว โดยจะมีโครงโลหะที่สามารถปรับตัวได้ตามช่วงล้อลากจูง ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 3 (บ.3 , ท.3) สามารถขับได้ทั้งรถสิบล้อพ่วงและรถหัวลาก
9. รถลากจูง
เป็นรถที่เป็นลักษณะสำหรับใช้ลากรถพ่วง รถกึ่งพ่วง เพราะรถเหล่านั้นจะไม่สามารถที่ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองจึงต้องอาศัยรถประเภทนี้ในการลากจูง ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 2 (บ.2 , ท.2) เพื่อขับรถบรรทุก สิบล้อ,หกล้อ,รถบัส,รถเมล์,รถตู้ และรถยนต์
รถบรรทุกติดเวลา คืออะไร?
เนื่องด้วยการจราจรที่แออัดในเขตกรุงเทพ กรมทางหลวงจึงต้องกำหนดเวลาห้ามรถบรรทุกวิ่ง เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรในช่วงเวลาเร่งรีบ ติดเวลา จึงหมายถึง ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดห้ามรถบรรทุกตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไปวิ่งในเวลาดังกล่าว โดยจะแบ่งตามประเภทของรถบรรทุก ยิ่งคันใหญ่เวลาที่ติดก็จะมากตามไปด้วยตามขนาดของรถ
ปัจจุบันรถบรรทุกตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป ติดเวลา ไม่สามารถวิ่งในเขตกรุงเทพได้ในเวลาดังนี้
-
ถนนในกรุงเทพ
- รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ห้ามเวลา 06:00 – 09:00 น. และเวลา 16:00 – 20:00 น. เว้นวันหยุดราชการ
- รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ห้ามเวลา 06:00 -10:00 น. และ 15:00 – 21:00 น. เว้นวันหยุดราชการ
- รถบรรทุกถังขนก๊าซ,วัตถุไวไฟ ตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป และรถพ่วง ห้ามเวลา 06:00 – 22:00 น. ทุกวัน เว้นวันอาทิตย์
- รถบรรทุกอื่น เช่น บรรทุกซุง,เสาเข็ม ห้ามเวลา 06:00 – 21:00 น.
-
บนทางด่วน
- รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ห้ามเวลา 06:00 – 09:00 น. และ 16:00 – 20:00 น.
- รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ห้ามเวลา 06:00 – 09:00 น. และ 15:00 – 21:00 น.
- รถบรรทุกสารเคมี ห้ามเวลา 06:00 – 10:00 น. และ 15:00 – 22:00 น.
-
รถบรรทุกที่ไม่ติดเวลาต้องมีน้ำหนักรถไม่เกิน 2,200 กก. หรือ 2.2 ตัน จึงจะสามารถวิ่งในเขตกรุงเทพฯได้โดยไม่ติดเวลา ซึ่งจะมีเพียงรถบรรทุก 4 ล้อเท้านั้นที่จะน้ำหนักไม่เกิน 2,200 กก.
ถนน 16 สายที่รถบรรทุกวิ่งได้ไม่ติดเวลา
แม้ในเวลาปกติจะมีการกำหนดเวลาการใช้งานของรถบรรทุก แต่ก็มีถนนบางเส้น รถบรรทุกจะได้รับการยกเว้น ให้สามารถวิ่งได้ตลอดเวลา ได้แก่
- ถนนอาจณรงค์ ตั้งแต่ท่าเรือคลองเตย ถึงทางด่วนเฉลิมมหานคร
- ถนนเกษมราษฎร์ ตั้งแต่ท่าเรือคลองเตยถึงทางด่วนเฉลิมมหานคร
- ถนนสุวินทวงศ์ จากแยกถนนรามอินทราถึงสุดเขตกรุงเทพฯ
- ถนนร่มเกล้า ที่มาจากทางนิมิตรใหม่ ให้ไปกลับรถมาแล้วตรงมาที่แยกนิมิตรใหม่
- ถนนนิมิตรใหม่ ตั้งแต่ทางแยก ถนนสุวินทวงศ์ ถึงสุดเขตกรุงเทพฯ
- ถนนอ่อนนุช ตั้งแต่แยกร่มเกล้าถึงทางแยกถนนอ่อนนุช -บางพลี
- ถนนอ่อนนุช (ลาดกระบัง)-บางพลี ทางแยก ถนนอ่อนนุช ถึงสุดเขต กทม.
- ถนนเจ้าคุณทหาร
- ถนนบางนา-ตราด ตั้งแต่แยก ถนนสุขุมวิท ถึงสุดเขต กรุงเทพฯ
- ถนนสุขุมวิท ตั้งแต่ทางแยกบางนา-ตราด ถึงสุดเขตกรุงเทพฯ
- วงแหวนรอบนอก กาญจนาภิเษก ตลอดสาย
- ถนนพระราม 2 (ธนบุรีปากท่อ) ทางแยกสุขสวัสดิ์-สุดเขต กทม.
- ถนนสุขสวัสดิ์ ตั้งแต่แยกถนนพระราม 2 ถึงสุดเขต กทม.
- ถนนบรมราชชนนี ตั้งแต่แยกวงแหวนรอบนอก กาญจนา ถึงสุดเขต กทม.
- ถนนพุทธมณฑลสาย 2 ตั้งแต่แยก ถนนบรมราชชนนีถึงทางแยกถนนเพชรเกษม
- ถนนเพชรเกษมแยกทางแยกวงแหวนกาญจนาภิเษก ถึงสุดเขต กทม.
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) กรมธรรม์ที่กฎหมายบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ บังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องจัดทำประกันภัย เพื่อคุ้มครองความรับผิดตามกฎหมายของเจ้าของรถสำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สิน การบาดเจ็บทางร่างกาย และ/หรือ เสียชีวิต สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/16 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance