ข่าวสารและบทความ

ประกันรถยนต์ : การต่อพ่วงแบตเตอรี่ที่ถูกต้อง

ประกันรถยนต์ : การต่อพ่วงแบตเตอรี่ที่ถูกต้อง

ปัญหาแบตเตอรี่หมดหรือเสื่อมสภาพ จนทำให้สตาร์ทรถไม่ติด ทางที่จะแก้ไขปัญหานี้คือการเปลี่ยนแบตเตอรี่หรือการต่อพ่วงแบตเตอรี่ เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้สตาร์ทรถแล้วขับเคลื่อนรถได้ในระยะเวลาสั้น ก่อนนำรถไปตรวจเช็ค แต่เราจะมีวิธีการต่อพ่วงแบตเตอรี่ที่ถูกต้องให้ปลอดภัยอย่างไร สินมั่นคง ประกันรถยนต์ มีคำแนะนำมาบอกกัน

 

แบตเตอรี่รถยนต์แบ่งเป็น 3 แบบ

1. แบตเตอรี่เปียก หรือ แบตเตอรี่ชนิดเติมน้ำกลั่น (Low Maintenance)   อาศัยปฏิกิริยาทางเคมีระหว่าง
ตะกั่วและน้ำกรด สำหรับแบตเตอรี่แบบนี้น้ำกรดจะระเหยและลดระดับลง  ต้องหมั่นเติมน้ำกลั่นเสมอสามารถใช้งานได้ประมาณ 1.5 ถึง 2.5 ปี หรือ 60,000-80,000 กิโลเมตร


2. แบตเตอรี่รถยนต์ชนิดกึ่งแห้ง (Maintenance Free = MF) แบตเตอรี่ชนิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาไม่นานนัก และมีคุณสมบัติคล้ายๆกับแบบชนิดน้ำ คือ ต้องคอยเติมน้ำกลั่น ทุกๆ 4-6 นั้นหมายความว่าเราไม่ต้องดูแลบ่อยเท่ากับแบตเตอรี่ชนิดน้ำ เนื่องจากแบตเตอรี่กึ่งแห้ง มีน้ำกรดที่ค่อยข้างมีความเข้มข้นสูงกว่าจึงทำให้ระเหยตัวได้ช้ากว่า ราคาก็จะแพงกว่าแบบเปียกประมาณ 200 ถึง 300 ร้อยบาท สามารถใช้งานได้ประมาณ 2 ปี หรือประมาณ 70,000 – 80,000 กิโลเมตร


3. แบตเตอรี่รถยนต์ ชนิดไฮบริด (Hybrid Battery)  แบตเตอรี่ที่มีส่วนผสมของตะกั่วกับแคลเซียมในโครงแผ่นธาตุลบ และส่วนผสมของตะกั่วกับพลวงต่ำในโครงแผ่นธาตุบวก มีอายุการใช้งานทนทานกว่าแบตเตอรี่ธรรมดา 30% กินน้ำกลั่นน้อย และให้กำลังไฟที่สูง เหมาะกับการใช้งานที่สมบุกสมบัน ลุยงานหนัก และรถบรรทุกขนส่งของที่ต้องใช้งานตลอดเวลา  ในการใช้งานจริงจึงสามารถเติมน้ำกลั่นทุกๆ 15,000 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติที่ทนทานกว่า Ca-MF ในภาวะที่ใช้งานหนัก (Heavy Duty) ให้ความคุ้มค่า

4. แบตเตอรี่แบบแห้ง (Sealed Maintenance Free = SMF)  แบตเตอรี่ที่ไม่ต้องเติมน้ำกลั่นตลอดอายุการใช้งาน ใช้สารละลายอัลคาไลน์ เป็นตัว หลักในการเก็บประจุไฟ ไม่ต้องการ การดูแลรักษา ด้านบนของแบตเตอรี่ชนิดแห้งนี้ จะมีตาแมวเอาไว้แสดงสถานะไฟในแบตเตอรี่ มี ราคาค่อนข้างสูง แต่ใช้งานได้ทนทาน ให้กำลังไฟที่สูง มีอายุการใช้งาน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2-3 ปี  มีราคาสูงมากกว่าเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่แบบเปียก
 
 

การดูแลรักษาแบตเตอรี่ให้ใช้ได้นาน

แบตเตอรี่ มีอายุการใช้งานประมาณ 2-3 ปี แต่ต้องดูแลให้อยู่ในสภาพปกติตลอดเวลา ตรวจดูและเติมน้ำกลั่นให้อยู่ในระดับ MAX ให้น้ำกรดท่วมแผ่นธาตุตะกั่วขึ้นไปประมาณ 1 เซนติเมตร และต้องใช้น้ำกลั่นเท่านั้นในการเติม  ห้ามต่ออุปกรณ์เสริมเช่น ไฟฉุกเฉิน โดยใช้ขั้วลบของแบตเตอรี่เป็นกราวด์ (GROUND) ให้ใช้วิธีการต่อสายกราวด์ ลงตัวถังรถแทน
 
 

สัญญาณเตือนแบตเตอรี่เสื่อม

- เครื่องยนต์สตาร์ทติดยาก
- ระบบไฟหน้าไม่สว่างเหมือนเดิม
- ระบบกระจกไฟฟ้าทำงานได้ช้าลง
- ระบบไฟฟ้าในรถทำงานผิดปกติ ติดขัด เช่น ไฟเลี้ยว ไฟท้าย ไฟหน้าปัดไม่สว่าง เครื่องเสียงเปิดไม่ติด เนื่องจากกำลังไฟไม่เพียงพอ
- แตรรถมีระดับเสียงเบาลง

 

อุปกรณ์การพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์

1. สายพ่วงแบตเตอรี่ ควรมีติดรถไว้ตลอด

2. รถยนต์ที่เข้ามาช่วยเหลือ ควรมีขนาดแอมป์มากกว่า หรือเท่ากับรถยนต์คันที่ต้องการความช่วยเหลือ เนื่องจากกำลังอาจจะไม่พอ และเกิดความเสียหายกับรถคันที่เข้ามาช่วยเหลือได้


การพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์

1. ปิดสวิตซ์อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกอย่างของรถยนต์แบตเตอรี่หมด

2. ขับรถที่มีแบตเตอรี่ปกติมาจอดใกล้ เพื่อเตรียมต่อสายพ่วงแบตเตอรี่

3. นำสายพ่วงแบตเตอรี่ขั้วบวก (สีแดง) ต่อกับแบตเตอรี่ขั้วบวกของรถคันที่แบตเตอรี่หมดก่อน แล้วมาต่อกับรถที่มาช่วยหรือคันที่มีแบตเตอรี่ทำงานปกติ

4.นำสายพ่วงแบตเตอรี่ขั้วลบ (สีดำ) ต่อกับแบตเตอรี่ขั้วลบของรถคันที่มาช่วย อีกฟากให้หนีบที่โลหะในเครื่องยนต์ ช่วยสร้างระบบกราวนด์ของแบตเตอรี่

5.สตาร์ทเครื่องยนต์รถคันที่มีแบตเตอรี่ทิ้งไว้ก่อนประมาณ 3 นาที พร้อมกับเร่งเครื่องยนต์เล็กน้อย เพื่อให้แบตเตอรี่มีการไหลเวียนของประจุไฟฟ้า

6.จากนั้นให้สตาร์ทเครื่องยนต์รถคันที่แบตเตอรี่หมด พร้อมกับเร่งเครื่องในกรอบอัตรา 1,500–2,000 รอบต่อนาที เพื่อตรวจว่ามีประจุไฟฟ้าเข้าหลังจากการชาร์จไฟแบตเตอรี่หรือไม่

7. การถอดสายพ่วงแบตเตอรี่ โดยการเริ่มจากถอดขั้วลบคันที่ต้องการความช่วยเหลือ และถอดขั้วลบรถที่มาช่วยเหลือ ส่วนที่เหลือ ส่วนขั้วบวก หรือสายสีแดง ให้ถอดจากคันที่ต้องการความช่วยเหลือก่อน และสุดท้ายก็ถอดจากอีกคัน8.นำรถเข้าศูนย์บริการ เพื่อตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์และเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่

 

ข้อควรระวังการพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์

-  ไม่สตาร์ทเครื่องยนต์และเปิดระบบไฟของรถทั้งสองคัน เพราะจะทำให้เกิดประกายไฟ ส่งผลให้เกิดการระเบิดได้

-  ไม่ต่อสายพ่วงเข้ากับขั้วลบของแบตเตอรี่ของรถคันที่แบตเตอรี่หมด เพื่อป้องกันแบตเตอรี่ระเบิด

-  ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตาและถุงมือทุกครั้งที่สัมผัสแบตเตอรี่ เพราะน้ำกรดในแบตเตอรี่เป็นสารกัดกร่อน  ทำให้ได้รับอันตรายได้

-  ระมัดระวังไม่ให้แบตเตอรี่เอียงหรือตะแคง เพราะน้ำกรดอาจรั่วไหลออกมาทางรูระบาย

-  ระมัดระวังไม่ให้ไฟฟ้าลัดวงจร โดยไม่ให้ปลายสายพ่วงแบตเตอรี่สัมผัสกัน

-  ห้ามสูบบุหรี่ จุดไฟแช็ก หรือก่อให้เกิดประกายไฟ เพราะในขณะต่อสายพ่วงแบตเตอรี่จะมีแก๊สบริเวณดังกล่าว ทำให้เกิดการระเบิดได้

 

เพิ่มความคุ้มครองให้กับรถยนต์ของท่าน จากเหตุการณ์ไม่คาดคิด เลือกสินมั่นคงประกันภัย..ประกันรถ ประกันเวลา..วางใจทำประกันรถยนต์กับเรา ด้วยเบี้ยที่ไม่แพง พร้อมบริการที่สะดวก รวดเร็ว โทร 1596 หรือ www.smk.co.th 

 

ที่มา : chobrod.com 
Photo source: freepix.com