ข่าวสารและบทความ

ประกันรถยนต์ : โดนตัดแต้มใบขับขี่! ขอคะแนนคืนได้อย่างไร?

ประกันรถยนต์ : โดนตัดแต้มใบขับขี่! ขอคะแนนคืนได้อย่างไร?

 

แม้จะมีการบังคับใช้ “การตัดแต้มใบขับขี่” หรือ การตัดคะแนนความประพฤติของผู้ขับขี่ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ หรือยานพาหนะอื่น ๆ ที่มีใบขับขี่ มาตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม ที่ผ่านมา เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างวินัยจราจรที่ดี ( ตัดคะแนนใบขับขี่ เริ่มบังคับใช้แล้วใน 20 ฐานความผิด ) ซึ่งผู้ขับขี่ทุกคนจะมีคะแนนเต็มที่ 12 คะแนน แต่ถ้าหากโดนตัดคะแนนครบทั้ง 12 คะแนนแล้ว จะต้องดำเนินการอย่างไร? สามารถขอคะแนนใบขับขี่คืนได้หรือไม่ สินมั่นคง ประกันรถยนต์ มีข้อมูลมาฝากค่ะ

 

โดนตัดคะแนนใบขับขี่ครบ 12 คะแนน

หากโดนตัดคะแนนใบขับขี่จนครบ 12 คะแนน จะมีเอกสารส่งแจ้งให้ทราบทางไปรษณีย์ โดยมีบทลงโทษเพิ่มเติมหากออกไปกระทำผิดซ้ำ ได้แก่

    • หากออกไปกระทำผิดซ้ำ ถูกสั่งพักใบอนุญาตเป็นเวลา 90 วัน 
    • หากยังออกไปขับรถโดยขณะที่ถูกสั่งพักใบอนุญาต จะมีโทษจำคุกสูงสุด 3 เดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท 
    • คะแนน “ขับดี” จะถูกหักเพิ่มกลายเป็นติดลบ ซึ่งจะกลายเป็น – 2 คะแนน 
    • ถ้ากระทำผิดซ้ำซาก เช่น โดนพักใบขับขี่  90 วัน หลังครบกำหนด ยังทำผิดจนโดนหักจนหมด 12 คะแนนอีก โทษสูงสุดคือ “เพิกถอนใบอนุญาตขับขี่” ไม่ต้องขับอีกตลอดชีวิต

 

 

ขอคะแนนขับดีคืน ทำอย่างไร?

หลังจากที่ระบบตัดคะแนนใบขับขี่หรือตัดคะแนนความประพฤติ มีผลบังคับใช้ ผู้ขับขี่รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ หรือยานพาหนะอื่น ๆ ที่เข้าข่ายใน 20 ฐานความผิด อาจเริ่มถูกตัดคะแนนไปบ้างแล้ว แต่ใครที่ยังไม่รู้ว่าคะแนนใบขับขี่เหลือเท่าไร ก็สามารถดูวิธีเช็กคะแนนใบขับขี่ได้ที่ ( แอปขับดี โหลดได้! โหลดดี! เช็กคะแนนใบขับขี่ได้ด้วย!

ทั้งนี้ ระบบตัดคะแนนใบขับขี่ หรือตัดคะแนนความประพฤติจะกำหนดให้ผู้ที่มีใบขับขี่ ใบอนุญาตขับรถ มีคนละ 12 คะแนนเต็ม หากถูกตัดคะแนนไม่ว่าจะ 1 2 3 และ 4 คะแนน ตามเกณฑ์การทำความผิด หรือโดนหักจนเหลือ 0 คะแนน (พักใช้ใบขับขี่) คะแนนที่ถูกหักไปจะได้รับคืนกลับมาโดยอัตโนมัติเมื่อครบ 1 ปี จากวันที่กระทำความผิด แต่หากไม่อยากรอถึง 1 ปี ก็สามารถขอคะแนนคืนได้ง่าย ๆ เพียงเข้าอบรม และทำการทดสอบกับกรมการขนส่งทางบก มีขั้นตอนและวิธีการ ดังนี้


    1. จองคิวเข้ารับการอบรม โดยเลือกวัน เวลา และสถานที่ ผ่านทางเว็บไซต์ gecc.dlt.go.th หรือทางแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue

    2. เข้ารับการอบรม โดยเดินทางไปตามวัน เวลา และสถานที่ที่เราเลือกไว้ ซึ่งหลักสูตรการอบรมและค่าใช้จ่าย มีดังนี้
    • อบรมครั้งที่ 1
        - หลักสูตรคืนไม่เกิน 12 คะแนน อบรม 4 ชั่วโมง 300 บาท
        - หลักสูตรคืนไม่เกิน 9 คะแนน อบรม 3 ชั่วโมง 250 บาท
        - หลักสูตรคืนไม่เกิน 6 คะแนน อบรม 2 ชั่วโมง 200 บาท
    • อบรมครั้งที่ 2
        - หลักสูตรคืนกลับมาเป็น 6 คะแนน อบรม 3 ชั่วโมง 250 บาท
        - อบรมกรณีถูกสั่งพักใช้ใบขับขี่ เหลือ 0 คะแนน คืนกลับมาเป็น 12 คะแนน อบรม 4 ชั่วโมง 300 บาท

    3. เข้ารับการทดสอบ หลังจากผ่านการอบรมแล้ว ต้องเข้ารับการทดสอบโดยต้องทำคะแนนได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 จึงจะถือว่าผ่านการอบรมและทดสอบ 

    4. กรณีทดสอบไม่ผ่าน สามารถสอบเป็นครั้งที่ 2 ได้ ในวันเดียวกันและหากยังสอบไม่ผ่านอีก เจ้าหน้าที่จะออกใบนัดให้มาทดสอบ ครั้งที่ 3 ภายใน 7 วัน นับจากวันที่สอบครั้งแรกไม่ผ่าน

    5. เมื่อผ่านการทดสอบแล้วกรมการขนส่งทางบกจะแจ้งผลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติคืนคะแนนให้ต่อไป

หากผู้ขับขี่ถูกหักเหลือน้อยกว่า 6 คะแนน จะสามารถเข้ารับการอบรมขอคืนคะแนนได้ปีละ 2 ครั้ง เท่านั้น ณ สำนักงานขนส่งทุกแห่งทั่วประเทศ ซึ่งหากไม่อยากถูกตัดคะแนนจนต้องไปเข้ารับการอบรมเพื่อขอคืนคะแนน หรือถูกตัดคะแนนจนเหลือ 0 ถึงขั้นถูกพักใช้ใบขับขี่และห้ามขับรถ ผู้ขับขี่รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ และยานพาหนะอื่น ๆ ควรเคารพ และปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อวินัยจราจรที่ดีและความปลอดภัยบนท้องถนน

 

 

ตำรวจใช้วิธีใดในการตัดคะแนน

    1. เมื่อเห็นการกระทำความผิดซึ่งหน้า เช่น เห็นเราขับรถบนทางเท้า เขาก็จะเขียนใบสั่งพร้อมกับตัด 1 คะแนนทันที และหากไม่ชำระใบสั่งในระยะเวลาที่กำหนด ระบบก็จะตัดเพิ่มอีก 1 คะแนน

    2. หากเป็นการพบเห็นความผิดจากกล้อง หากกล้องเจอฝ่าไฟแดง ระบบจะตรวจจับและหักคะแนน


ตรวจสอบคะแนนใบขับขี่ได้ที่ไหนบ้าง

    1. ตรวจสอบผ่านแอปชำระค่าปรับของตำรวจ PTM หรือ Police Ticket Management
    2. ผ่านแอป “ขับดี”
    3. ผ่านแอปเป๋าตังค์


วิธีจ่ายค่าปรับ 

    1. จ่ายผ่านแอป PTM
    2. ผ่านแอปธนาคารกรุงเทพ
    3. ผ่านแอปธนาคารอื่น ๆ โดยสแกน QR Code บนใบสั่ง
    4. สามารถใช้บัตรเครดิตจ่ายค่าปรับได้ (อาจต้องไปผูกบัตรเครดิตในแอป)

 

นับเป็นเรื่องดีที่หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความสำคัญกับการปรับพฤติกรรมของผู้ขับขี่ ให้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ร่วมใช้รถใช้ถนนเป็นสำคัญ แม้ว่าจะเป็นการจับปรับที่มีโทษไม่หนัก แต่ก็นับว่าเป็นการให้โอกาสได้แก้ไขปรับตัว ให้รถคุณปลอดภัย

เลือกทำประกันรถยนต์ ด้วย ประกันภัยรถยนต์คนกรุง ผลิตภัณฑ์ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ประเภท 1 เบี้ยเริ่มต้น 11,600 บาท อัตราเบี้ยคงที่เท่ากันทุกปีคุ้มครองครอบคลุมทุกกรณี  ไม่ว่าจะรถชนรถ รถชนของ รถคันอื่นมาชน เกิดอุบัติเหตุนอกเมือง สูญหายไฟไหม้ น้ำท่วม พร้อมบริการช่วยเหลือฉุกเฉินทางรถยนต์ (Roadside Assistance Service) สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก www.smk.co.th/productmotordetail/19 หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง Line : smkinsurance
และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com