ข่าวสารและบทความ

ประกันอุบัติเหตุ : โซดาไฟคืออะไร? หากโดนโซดาไฟต้องทำอย่างไร ?

ประกันอุบัติเหตุ : โซดาไฟคืออะไร? หากโดนโซดาไฟต้องทำอย่างไร ?

 

ทุกวันนี้ สารเคมีได้ถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันกันอย่างกว้างขวาง ไม่เว้นแม้แต่ในครัวเรือน ( ภัยร้ายจากสารเคมี สร้างความเสียหายและอันตรายกว่าที่คิด ) รวมถึงโซดาไฟ สารเคมีอันตรายที่มักถูกนำมาใช้สำหรับการช่วยแก้ปัญหาท่อตัน หรือชำระล้างคราบ ๆ ต่างที่ติดแน่นได้ด้วย แต่การใช้โซดาไฟในครัวเรือน ก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุต่อผู้ใช้งานได้ หากขาดความระมัดระวัง แล้วโซดาไฟคืออะไร หากต้องการใช้โซดาไฟจำเป็นต้องระมัดระวังในเรื่องใดบ้าง สินมั่นคง ประกันภัย มีข้อมูลมาฝากค่ะ

 

 

 

โซดาไฟ คืออะไร?

โซดาไฟ (Sodium hydroxide) หรือ คอสติกโซดา (Caustic soda) คือ สารประกอบชนิดหนึ่ง ชื่อ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เป็นของแข็งสีขาว ดูดความชื้นดีมาก ละลายน้ำได้ดี มีลักษณะเป็นเกล็ด หรือเม็ดคล้ายทรายหยาบใส ๆ หรือผงขุ่น ๆ มีคุณสมบัติเป็นด่าง และมีฤทธิ์กัดกร่อน ใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น ผลิตเยื่อกระดาษ สบู่และผลิตภัณฑ์ซักฟอก เคมีภัณฑ์ทำความสะอาด โรงกลั่นน้ำมัน อุตสาหกรรมโลหะ อาหาร เส้นใยเรยอน สิ่งทอ ใช้ในการฟอกย้อม ล้างสีไหม หรือใช้ในขั้นตอนล้างเม็ดพลอยที่เจียระไนเสร็จแล้ว

 

 

 

โซดาไฟ มีประโยชน์อย่างไร?

โซดาไฟสามารถใช้ในรูปของโซดาไฟก้อน และโซดาไฟเหลว ในด้านต่าง ๆ คือ เป็นสารตั้งต้นในการผลิตโซดาไฟเหลว ดังนี้

    • ใช้สำหรับอุตสาหกรรมผลิตสบู่ ด้วยการทำปฏิกิริยากับไขมันเปลี่ยนเป็นสบู่
    • ใช้สำหรับขจัดคราบสกปรก และสิ่งอุดตันในท่อระบายน้ำ ด้วยก้อนหรือละลายน้ำเทราดบริเวณที่มีการอุดตันของท่อ
    • ใช้สำหรับปรับสภาพความเป็นกรดของน้ำให้เป็นด่าง โดยเฉพาะในระบบบำบัดน้ำเสียที่ต้องปรับความเป็นกรด-ด่างของน้ำ
    • ใช้สำหรับการตกตะกอนของแร่ธาตุหรือโลหะหนักในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย
    • ใช้ฟื้นสภาพของเรซินของระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ
    • ใช้ในกระบวนการฟอกย้อมไหม โดยเฉพาะขั้นตอนการลอกกาวไหมที่ต้องต้มละลายกาวไหมด้วยโซดาไฟ สำหรับการฟอกไหมในระดับครัวเรือน ชาวบ้านเรียกโซดาไฟว่า ผงมัน ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายเคมีฟอกไหม

 

ข้อควรระวังในการใช้ โซดาไฟ

เนื่องจากโซดาไฟ มีคุณลักษณะของสารเคมี ยิ่งความเข้มข้นมากยิ่งมีฤทธิ์มาก สามารถทำให้ผิวหนังเปื่อยยุ่ยได้ในเวลาเสี้ยววินาที จึงควรระมัดระวังระหว่างการใช้งาน โดยมีวิธีใช้ที่ถูกต้อง ดังนี้

    1. ไม่ควรเทโซดาไฟลงท่อระบายน้ำโดยตรงเพราะจะไปกัดกร่อนท่อน้ำเสียหายได้ 

    2. ควรเทโซดาไฟใส่ในภาชนะแล้วผสมกับน้ำ คนสารละลายให้ละลายหมดก่อนจึงค่อยไปเทใส่ท่อระบายน้ำ 

    3. ระวังอย่าสูดดมควันจากสารจะทำให้ระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ ถ้าหายใจเข้าไปโดยการสูดดมฝุ่นควันของสารจะระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ อาจเกิดปอดอักเสบ น้ำท่วมปอดได้

    4. เก็บให้พ้นมือเด็ก ผู้สูงอายุ หรืออยู่ห่างจากสัตว์เลี้ยง เพื่อความปลอดภัยของสมาชิกในบ้าน 

    5. การใช้งานในอุตสาหกรรมก็ต้องปฏิบัติตามมาตรการเพื่อความปลอดภัยในที่ทำงาน ทั้งในด้านการจัดเก็บ การใช้งาน

    6. ผู้ปฏิบัติงานที่ต้องใช้โซดาไฟ ควรมีมาตรการสวมชุดป้องกันสารเคมีเพื่อป้องกันการสัมผัสสารที่มีอันตราย โดยการใส่แว่นตาครอบกันสารเคมี สวมผ้าปิดจมูกหรืออุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันทางเดินหายใจ สวมถุงมือยางที่ทนการกัดกร่อน และสวมถุงเท้าและรองเท้าที่ป้องกันสารเคมีด้วย

    7. การเก็บสารโซดาไฟในโรงงานอุตสาหกรรม ต้องเก็บในภาชนะที่แห้ง ปิดสนิทมิดชิด อยู่ในบริเวณที่อุณหภูมิไม่สูงและมีอากาศถ่ายเท ส่วนโรงงานเองก็ต้องมีพื้นที่โล่ง โปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่เป็นห้องทึบ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการสูดสารโซดาไฟเข้าสู่ร่างกาย 

    8. ไม่ควรจัดเก็บโซดาไฟไว้ใกล้กับสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรด เพราะหากเกิดการรั่วไหล อาจจะทำปฏิกิริยากัน ทำให้เกิดอันตรายและความเสียหายได้

 

 

 

การเก็บรักษาโซดาไฟให้ถูกต้องและปลอดภัย

สำหรับการใช้ในครัวเรือน โซดาไฟสามารถหาซื้อได้ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตต่าง ๆ จะอยู่ในลักษณะของผง หรือเกล็ด หรือสังเกตุฉลากที่ระบุไว้ว่า เป็นโซเดียมไฮดรอกไซต์ 65% ซึ่งอาจจะบรรจุอยู่ในซองฟอยล์ ขนาดพอใช้ แต่ลดความเข้มข้นลง ให้เหมาะแก่การใช้ในครั้งเดียว เพื่อลดปัญหาและลดความเสี่ยงในการจัดการจัดเก็บที่ไม่ถูกวิธี ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากการใช้สารเคมีได้

ควรเก็บโซดาไฟไว้ในภาชนะพลากติกที่มีความหนา เซรามิก หรือแก้วพร้อมฝาที่ปิดสนิท โดยไม่ควรเก็บโซดาไฟไว้ในจุดที่มีความชื้น เพื่อป้องกันโซดาไฟไม่ให้ทำปฏิกิริยากับความชื้น นอกจากนั้นยังต้องระวังไม่ให้โซดาไฟสัมผัสถูกกรดหรือสารที่ติดไฟอีกด้วย
 

กำจัดโซดาไฟอย่างไร?

สำหรับขั้นตอนการกำจัดสารเคมีที่เหลือหรือการทิ้งโซดาไฟนั้นมีข้อควรปฏิบัติดังนี้

    1. ต้องไม่ทิ้งรวมกับขยะทั่วไป แต่ต้องแยกขยะออกมาเสมอโดยทิ้งในถุงพลาสติกที่ปิดมิดชิด 

    2. ใช้เทปพันถุงให้เรียบร้อยพร้อมติดป้ายขยะสารเคมีปนเปื้อน หรือทิ้งในถังขยะสำหรับทิ้งสารเคมีโดยเฉพาะ 

    3. ห้ามทิ้งรวมกับถังขยะทั่วไป ทิ้งลงพื้นดิน หรือทิ้งลงในแม่น้ำเด็ดขาด 

    4. ต้องระวังเรื่องการเทโซดาไฟลงในภาชนะที่เป็นสังกะสี ดีบุก หรืออลูมิเนียม เพราะจะทำให้เกิดไฮโดรเจนซึ่งมีความไวไฟจนอาจทำให้เกิดประกายไฟและเกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้ตามมาได้

 

 

โดนโซดาไฟ ปฐมพยาบาลอย่างไร ?

    • หากร่างกายสัมผัสกับโซดาไฟจนมีอาการบาดเจ็บ ควรจะมีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อยับยั้งไม่ให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงก่อนเดินทางไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล

    • หากโซดาไฟเข้าตา ควรรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดซ้ำหลาย ๆ ครั้งทันที

    • หากสัมผัสกับผิวหนังโดยตรงก็ควรใช้สบู่และน้ำทำความสะอาดอย่างเร่งด่วน และใช้ยาแก้แผลไฟไหม้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดและผิวหนังไหม้จากการถูกโซดาไฟกัด

    • หรือหากเข้าปาก แนะนำให้ใช้น้ำส้มสายชูล้างท้องทันที

 

 

 

 

แม้ว่าโซดาไฟจะเป็นสารเคมีที่มีอันตรายแต่ก็มีประโยชน์หลากหลายควบคู่กันไป สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ซึ่งหากรู้จักคุณสมบัติ วิธีการใช้งาน และข้อควรระวังในการใช้งาน ก็จะช่วยให้สามารถใช้โซดาไฟในชีวิตประจำวันรวมถึงใช้ในภาคอุตสาหกรรมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพด้วย ป้องกันอุบัติเหตุให้คุณได้ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วย ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครอง กรณีประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย โดยให้ความคุ้มครองตลอด 24 ชั่วโมง ทุกแห่งทั่วโลก
สนใจรายละเอียด คลิก www.smk.co.th/productpadetail/2 หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง Line : smkinsurance
และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com