ข่าวสารและบทความ

ประกันไข้เลือดออก : เป็นไข้เลือดออกหนักแค่ไหนต้องนำส่งโรงพยาบาล

ประกันไข้เลือดออก : เป็นไข้เลือดออกหนักแค่ไหนต้องนำส่งโรงพยาบาล

 

สถานการณ์ไข้เลือดออกในปีนี้เริ่มวิกฤตรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จากสถิติของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า ขณะนี้จำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา พบจำนวนผู้ป่วยสูงกว่าปีก่อนหน้าถึง 3 เท่า โดยในผู้เสียชีวิตสะสมพบทั้งกลุ่มเด็กและผู้ใหญ่ และมีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีที่ผ่านมา การระแวดระวังและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบ้านและชุมชนที่อยู่อาศัย รวมถึงสังเกตอาการของสมาชิกทุกคนในบ้านหากอยู่ในภาวะที่มีไข้ ( ไข้เลือดออกแตกต่างจากไข้หวัดธรรมดาอย่างไร เป็นกี่วันหาย ) ซึ่งนอกจากจะต้องแยกแยะความแตกต่างระหว่างไข้หวัดธรรมดากับโรคไข้เลือดออกแล้ว ยังต้องคอยสังเกตเพิ่มเติมด้วยว่า เป็นไข้เลือดออกหนักแค่ไหน ถึงจำเป็นต้องนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษา 

 

 

อาการของไข้เลือดออก

อาการเริ่มแรกของไข้เลือดออกแทบจะไม่ต่างจากไข้หวัดธรรมดาเลย แต่ไข้เลือดออกจะไม่มีอาการไอและไม่มีน้ำมูก จึงทำให้คนส่วนใหญ่คิดว่าเป็นอาการของหวัดจึงไม่ค่อยตื่นตัว แต่จะมารู้ตัวอีกครั้งก็เมื่อมีอาการ เลือดออกมากผิดปกติและมีไข้ อาเจียน ปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด มือ เท้าเย็น ตาลาย เหงื่อออกมาในช่วงที่ไข้ลด อาการเหล่านี้คืออาการชนิดที่รุนแรงจึงต้องรีบนำผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยด่วนเพราะคนไข้อาจเกิดอาการช็อคหมดสติได้ จึงควรรีบไปหาแพทย์ให้วินิจฉัยทันที เพื่อป้องกันอันตรายในระยะวิกฤต จนอาจส่งผลถึงชีวิต


 
ไข้เลือดออกรักษาได้

โรคโรคไข้เลือดออก ก็สามารถรักษาไข้หายขาดได้แล้ว เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้นจะสังเกตุได้จากอาการไข้ที่ลดลงภายใน 24-48 ชั่วโมง คนไข้จะรู้สึกตัว ร่าเริง เริ่มทานอาหารได้บ้างเล็กน้อย จะเป็นอาการบ่งบอกว่าผู้ป่วยกำลังจะหายจากโรคไข้เลือดออกแล้ว

 


วิธีดูแลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก

ในช่วงที่ผู้ป่วยมีไข้สูง บางรายอาจมีอาการชักได้พร้อมกัน โดยพาะเด็กที่เคยมีประวัติการชักมาก่อน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ยาลดไข้ และยาลดไข้นั้นควรใช้ยาพาราเซตามอลเท่านั้น ที่สำคัญห้ามใช้ยาแอสไพรินเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกร็ดเลือดในร่างกายเสียการทำงาน อีกทั้งยังทำให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหารและทำให้เลือดออกมาได้ง่ายขึ้น โดยมีวิธีการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก ดังนี้

    • ควรชดเชยน้ำให้แก่ผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีไข้ และมีอาการเบื่ออาหาร รวมทั้งมีอาการอาเจียน จึงทำให้ขาดน้ำในปริมาณที่มาก ดังนั้นจึงควรชดเชยน้ำด้วยการให้ดื่มน้ำผลไม้หรือสารละลายผงน้ำตาลเกลือแร่
    • หมั่นติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้เพื่อป้องกันภาวะช็อกได้ทันเวลา

    • ต้องให้ผู้ป่วยอยู่ในที่ปลอดยุง ควรมีมุ้งลวดหรือกางมุ้งเพื่อป้องกันยุง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
    • ควรให้ผู้ป่วยอยู่ในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
    • ควรให้ผู้ป่วยพักผ่อนมาก ๆ หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกบ้าน
    • ดื่มน้ำหรือเกลือแร่ให้มากพอ โดยสังเกตที่สีปัสสาวะจะเป็นสีเหลืองอ่อน หากปัสสาวะสีเข้ม ต้องดื่มน้ำเพิ่มขึ้น
    • เช็ดตัวผู้ป่วยด้วยผ้าสะอาดชุบน้ำอุ่น ควรรักษาอุณหภูมิร่างกายผู้ป่วยไม่ให้สูงถึง 39 องศาเซลเซียส กรณีที่มีไข้ ห้ามเช็ดตัวหรืออาบน้ำด้วยน้ำเย็น เพราะผู้ป่วยอาจสั่นได้
    • ควรรับประทานยาลดไข้พาราเซตามอล ตามขนาดที่แพทย์สั่ง เพราะหากรับยาเกินขนาด อาจทำให้ตับอักเสบได้
    • ห้ามให้ผู้ป่วยทานยาแอสไพรินและยากลุ่ม NSAIDS เด็ดขาด เนื่องจากยาทั้ง 2 ตัว ต้านการจับตัวเป็นก้อนของเลือด อาจไปกระตุ้นอาการเลือดออกได้ 
    • ห้ามฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ งดใช้ยากลุ่มปฏิชีวนะ เพราะเชื้อไวรัสของโรคไข้เลือดออกไม่ใช้เชื้อแบคทีเรีย จึงไม่จำเป็นกับผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเลย
    • ควรรับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย และรสไม่จัด เช่น ข้าวต้ม หรือแกงจืด เป็นต้น
    • ไม่ควรรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีสีแดง ดำ หรือน้ำตาล เพราะเวลาปัสสาวะและอุจจาระอาจสังเกตได้ยากว่าสิ่งที่ผู้ป่วยขับถ่ายออกมามีเลือดปนมาด้วย 

 

 

เป็นไข้เลือดออกหนักแค่ไหน ต้องไปโรงพยาบาล

หากอาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้น มีไข้สูงต่อเนื่อง และมีอาการเตือนที่รุนแรง ให้รีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลโดยด่วน ซึ่งอาการจะมีดังนี้

    1. ผู้ป่วยมีอาการซึมหรืออ่อนเพลียมากขึ้น
    2. ผู้ป่วยสามารถดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารได้น้อยลง
    3. มีอาการคลื่นไส้และอาเจียนตลอดเวลา
    4. มีอาการปวดท้องมาก
    5. เลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำมีเลือดปน
    6. ผู้ป่วยปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ปัสสาวะเลยในระยะ 4-6 ชั่วโมง
    7. ผู้ป่วยกระหายน้ำอยู่ตลอดเวลา
    8. กระสับกระส่าย หงุดหงิด หรือเอะอะโวยวาย
    9. หากเป็นคนไข้เด็กอาจร้องกวนตลอดเวลา
   10. มีอาการตัวเย็นชื้น เหงื่อออก สีผิวคล้ำลง ที่ตัวลาย ซึ่งในขั้นนี้อาจช็อกได้

สำหรับการดูแลตัวเองเพื่อห่างไกลจากโรคไข้เลือดออกนั้นก็คือ การพยายามป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัด โดยการนอนในมุ้ง หมั่นสวมใส่เสื้อผ้าแขนยาวขายาว และควรใช้สารยา(กัน)ไล่ยุงด้วย พร้อมหมั่นออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงมากขึ้น ถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี 

 

 

 

ช่วยให้คุณอุ่นใจ ด้วยค่ารักษาพยาบาลจากโรค “ไข้เลือดออก” กับประกันภัยไข้เลือดออก คุ้มครองทั้งกรณีผู้ป่วยใน (IPD) และผู้ป่วยนอก (OPD) พร้อมค่าชดเชยรายวันระหว่างรักษาตัว ด้วยค่ารักษาพยาบาลและเงินชดเชยสูงสุดถึง 195,000 บาท เบี้ยเริ่มต้นเพียง 203 บาทต่อปี ร่วมปกป้องคนที่คุณรักตั้งแต่วันนี้ เพราะภัยร้ายจากยุงลาย อาจทำร้ายคุณและคนที่คุณรักได้มากกว่าที่คิด
สนใจรายละเอียด คลิก www.smk.co.th/producthealthdetail/14 หรือ หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง  Line : smkinsurance
และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com