ข่าวสารและบทความ

ประกันมะเร็ง : มะเร็งรังไข่มีอาการอย่างไร รักษาหายได้หรือไม่

ประกันมะเร็ง : มะเร็งรังไข่มีอาการอย่างไร รักษาหายได้หรือไม่

เป็นกระแสข่าวที่สร้างความกังวลให้กับสาวโสดทุกช่วงวัยไม่น้อย เมื่อนายแพทย์ด้านสมองออกมาเปิดเผยว่า พบหญิงโสดวัย 57 ปี มาด้วยอาการพูดจาสับสน เนื้อสมองตายหลายจุด สุดท้ายตรวจพบเป็น "มะเร็งรังไข่" ทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดเส้นเลือดในอวัยวะต่างๆ ( เตือนสาวโสดโปรดระวัง เผยเคสคนไข้พูดจาสับสน สมองตาย สุดท้ายพบมะเร็งรังไข่ ) แล้ว มะเร็งไข่มีอาการอย่างไร สามารถรักษาให้หายได้หรือไม่ สินมั่นคง ประกันมะเร็ง มีข้อมูลมาฝากค่ะ

 

 

 

 

มะเร็งรังไข่ เกิดขึ้นได้อย่างไร

เยื่อบุโพรงมดลูกเป็นเยื่อที่อยู่ในมดลูก เวลาที่ใกล้ช่วงไข่สุก เยื่อบุนี้จะหนาตัวขึ้นโดยอัตโนมัติเพื่อรอการปฏิสนธิ และเมื่อไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นในช่วงเดือนนั้น เยื่อบุนี้ก็จะลอกหลุดออกมาพร้อมกับเลือดกลายเป็นประจำเดือนการเกิดมะเร็งรังไข่ ส่วนใหญ่จะเริ่มมาจากการปวดประจำเดือนหลังคลอดลูก หรือเยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นผิดที่ ถ้าปล่อยให้อักเสบโดยไม่ได้รักษา จะทำให้กลายเป็นมะเร็งในที่สุด และเซลล์มะเร็งนี้จะทำให้ท้องน้อยขยายใหญ่ขึ้น มีอาการปวดท้องรุนแรง ถึงแม้ตอนนั้นจะไม่ได้มีประจำเดือนก็ตาม อีกลักษณะพิเศษของมะเร็งรังไข่นี้คือ เซลล์มะเร็งจะแพร่กระจายเร็วมาก ช่วงแรก ๆ มักไม่ค่อยมีอาการอะไรให้เห็น ทำให้หลาย ๆ เคสมาตรวจเจออาจลุกลามไปส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแล้ว


ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคมะเร็งรังไข่

สาเหตุที่แท้จริงของโรคมะเร็งรังไข่ยังไม่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่าปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้จะเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคมะเร็งรังไข่แต่ก็ยังมีผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ ได้แก่

    1. สมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งโดยเฉพาะมารดาพี่สาว/น้องสาว
    2. อายุที่เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะอายุมากกว่า 50 ปี 
    3. มีประวัติเคยเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งลำไส้ขึ้นไป พี่สาว/น้องสาว
    4. มีประวัติเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดปกติ (endometriosis) หรือช็อคโกแลตซิสต
    5. รับการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนเป็นเวลานาน
    6. สูบบุหรี่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน

 

 

มะเร็งรังไข่มีอาการอย่างไร

อาการที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์บ่อยที่สุดได้แก่ 

    1. อาการท้องโตอืดขึ้น เนื่องจากในท้องมีน้ำหรือมีก้อนเนื้องอกใหญ่ 
    2. แน่นอึดอัดในท้อง ปวดท้อง ซึ่งเป็นอาการของโรคที่ได้แพร่กระจายไปในช่องท้องมากแล้ว 
    3. ผู้ป่วยที่โรคยังเป็นไม่มาก อาจมีอาการของระบบทางเดินอาหาร เช่น เบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย ท้องผูกแน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่จำเพาะกับโรคใดโรคหนึ่ง ฉะนั้นสตรีที่อายุ 40 ปีขึ้นไป มีอาการดังกล่าวและได้รับการรักษาด้วยยาโรคกระเพาะอาหารแล้วไม่ดีขึ้น ควรต้องนึกถึงโรคมะเร็งรังไข่ไว้ด้วย
    4. อาการอื่นที่พบ ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักตัวลด การปวดท้องเฉียบพลัน หรือเลือดออกในช่องท้อง 
    5. บางรายอาจไม่มีอาการซึ่งอาจตรวจพบจากการตรวจภายใน หรือการตรวจร่างกายทั่วไป

 

 

 

ตรวจคัดกรองมะเร็งรังไข่เบื้องต้น

ปัจจุบันยังไม่มีการตรวจคัดกรองเฉพาะสำหรับการป้องกันมะเร็งรังไข่ เนื่องจากมะเร็งรังไข่ในระยะแรกๆ มักไม่แสดงอาการ จึงควรสังเกตรอยโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ ได้แก่
    1. ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด เพื่อดูลักษณะและขนาดของรังไข่รวมทั้ง ปริมาณเลือดที่มาเลี้ยงรังไข่
    2. ใส่ใจสังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย
    3. ตรวจภายในประจำปี
    4. ตรวจเลือดเพื่อวัดปริมาณสารที่สร้างจากมะเร็งรังไข่ คือ สาร CA125 


ระยะของโรคมะเร็งรังไข่

    • ระยะที่ 1: เป็นระยะที่พบเซลล์มะเร็งในรังไข่หรือท่อนำไข่ 1 หรือทั้ง 2 ข้าง
    • ระยะที่ 2: เป็นระยะที่พบเซลล์มะเร็งในรังไข่หรือท่อนำไข่ 1 หรือทั้ง 2 ข้าง และเซลล์มะเร็งมีการแพร่ กระจายไปยังเนื้อเยื่อรอบๆ รังไข่ แต่ยังอยู่ภายในเยื่อบุอุ้งเชิงกราน
    • ระยะที่ 3: เป็นระยะที่พบเซลล์มะเร็งในรังไข่หรือท่อนำไข่ 1 หรือทั้ง 2 ข้าง และเซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังเยื่อบุช่องท้องด้านบนหรือต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง
    • ระยะที่ 4: เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกาย เช่น ตับ ปอด เป็นต้น

 

 

ประกันภัยโรคมะเร็ง อีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงทางการเงินให้กับผู้เอาประกันภัยที่ป่วยด้วยโรคมะเร็ง บริษัทจะจ่ายเป็นเงินก้อน (เต็มทุนประกัน) ทันทีที่ตรวจพบโรคมะเร็งครั้งแรก เพื่อนำไปใช้จ่ายเป็นเงินชดเชยรายได้ในขณะเจ็บป่วยหรือพักฟื้น ไม่จำกัดวิธีการรักษา เป็นทุนสำรองสำหรับครอบครัวในกรณีที่เสียชีวิต และไม่ต้องตรวจสุขภาพก่อนทำประกันภัย
สนใจรายละเอียด คลิก www.smk.co.th/producthealthdetail/6 หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง  Line : smkinsurance
และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com