ข่าวสารและบทความ

ประกันรถยนต์ : น้ำมันเครื่องควรเลือกอย่างไรดี

ประกันรถยนต์ : น้ำมันเครื่องควรเลือกอย่างไรดี

น้ำมันเครื่องยนต์ เป็นสารหล่อลื่นที่จะช่วยยืดการใช้งานของเครื่องยนต์ แต่เมื่อถูกใช้งานแล้วจะเสื่อมสภาพลงต้องเปลี่ยนถ่ายตามระยะที่กำหนด เมื่อถึงระยะที่ต้องเปลี่ยนถ่ายหากต้องเลือกน้ำมันเครื่องเอง ควรเลือกซื้อน้ำมันเครื่องอย่างไรดีให้เหมาะกับเครื่องยนต์ สินมั่นคง ประกันรถยนต์ มีคำแนะนำในเลือกซื้อดังนี้

 

สิ่งที่ต้องคำนึงในการเลือกน้ำมันเครื่อง

1. ประเภทของน้ำมันเครื่อง มีทั้งหมด 3 ประเภท

1) น้ำมันเครื่องธรรมดา (Synthetic) ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่กลั่นจากน้ำมันปิโตรเลียม ใช้งานได้ประมาณ 3,000-5,000 กม.
2) น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi Synthetic) ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นธรรมดากับชนิดสังเคราะห์ ใช้งานได้ประมาณ 5,000-7,000 กม.
3) น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ (Fully Synthetic) ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่สังเคราะห์จากน้ำมันปิโตรเลียม ใช้งานได้ประมาณ 7,000-10,000 กม.

 

2. เกรดของน้ำมันเครื่อง Single Grad & Multi Grad

บนฉลากของน้ำมันเครื่องจะแสดงค่า ต่างๆ เช่น  "SM 10W-30"  ซึ่ง "SW" มีความหมายคือ
"SM" คือ ค่า API (American Petroleum Institute Standard) กำหนดโดยสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับน้ำมันเครื่องแบบสากลทั่วโลก ตามมาตรฐาน API แบ่งเป็น
- น้ำมันเครื่องยนต์เบนซินจะขึ้นต้นด้วย "S" เช่น API SM หรือ API SL 
- น้ำมันเครื่องยนต์ดีเซลจะขึ้นต้นด้วย "C" เช่น API CJ-4 หรือ API CI-4


มาตรฐาน API เครื่องยนต์เบนซิน แบ่งออกเป็น
- API SN - มาตรฐานคุณภาพระดับสูงสุดของน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์เบนซิน ให้มาตรฐานประหยัดเชื้อเพลิงที่ดีขึ้น ป้องกันเทอร์โบชาร์จเจอร์ เข้ากับระบบควบคุมการปล่อยไอเสีย และเครื่องยนต์ที่ทำเพื่อรองรับน้ำมัน E85 ประกาศใช้เดือนตุลาคม ในปี 2010
- API SM ประกาศใช้เมื่อปี 2010
- API SL ประกาศใช้เมื่อปี 2004
- API SJ ประกาศใช้เมื่อปี 2001
มาตรฐาน API เครื่องยนต์ดีเซล แบ่งออกเป็น
- CK-4 มาตรฐานคุณภาพระดับสูงสุดของน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ดีเซล ประกาศใช้เมื่อปี 2017
- CJ-4 ประกาศใช้เมื่อปี 2010
- CI-4 ประกาศใช้เมื่อปี 2002
- CH-4 ประกาศใช้เมื่อปี 1998

 

3. ความหนืด และการทนความเย็นของน้ำมันเครื่อง

"SM 10W-30"  ตัวเลขท้าย  "10W-30 " คือ ค่ามาตรฐานจาก SAE (The Society of Automotive Engineer) ซึ่งเป็นสมาคมวิศวกรรมยานยนต์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา

“ค่า W ”  คือ ค่าการทนความเย็นของน้ำมันเครื่อง น้ำมันเครื่องในเขตเมืองหนาว จะมีการวัดต่างออกไปอีกแบบ คือการวัดความต้านทานการเป็นไข โดยวัดตั้งแต่อุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส ต่ำลงมาจนถึงจุดเยือกแข็งตั่งแต่ 0 องศา จนถึงต่ำกว่า – 30 องศาเซลเซียส โดยมีตัวอักษรระบุไว้เป็นตัวอักษร W หรือ WINTER ดังนี้
W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ต่ำกว่า -30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
5W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง -30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
10W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง -20 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
15W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง -10 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
20W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง 0 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
ในประเทศไทยไม่มีอากาศที่หนาวเย็นถึงขนาดติดลบจึงไม่จำเป็นต้องกังวลตัวเลขด้านหน้า สามารถใช้ 20W ได้ไม่มีปัญหา

ตัวเลขชุดที่สอง "30" บอกถึงค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องที่มีตั้งแต่ 60, 50, 40, 30, 20, 10 และ 5 โดยตัวเลขมีความหนืดมาก ตัวเลขน้อยมีความหนืดน้อยตามลำดับ โดยความหนืดของน้ำมันมีผลต่อการหล่อลื่นและช่วยลดการสึกหรอได้มาก โดยความหนืดที่เหมาะสมสำหรับเครื่องยนต์ทั่วไปอยู่ที่ 20-40 
    ค่าความหนืดต่ำ : สำหรับการใช้งานปกติ สภาวะอากาศปกติ และเครื่องยนต์ใหม่ แต่ก็ต้องเลือกความหนืดที่เหมาะสมไม่ให้ต่ำเกินไป เพราะทำให้น้ำมันไม่เกาะเป็นฟิล์ม และส่งผลต่อการสึกหรอของเครื่องยนต์

    ค่าความหนืดสูง : สำหรับรถยนต์ที่ใช้งานอย่างหนัก, สภาวะอากาศร้อนมาก, เครื่องยนต์เก่าที่ก่อให้เกิดการกินน้ำมันเครื่อง ซึ่งระดับนี้ควรจะมีค่าความหนืดสูงถึงระดับ 50 จึงจะเหมาะสม

 

3. ดูน้ำมันเครื่องว่าเหมาะสมกับประเภทการใช้งานประเภทไหน
เช่น สำหรับ NGV, LPG & Gasoline - สามารถใช้ได้ดีกว่าสำหรับรถที่ติดแก๊ส NGV และ LPG
      สำหรับ Heavy Duty - ใช้ได้ดีสำหรับรถที่บรรทุกของหนัก

 

ข้อมูลที่นำมาบอกกันเป็นความรู้เกี่ยวกับน้ำมันเครื่องเล็กๆน้อยๆ สำหรับใครที่ต้องเลือกซื้อน้ำมันเครื่องเองที่มีขายตามท้องตลาดจะได้เลือกได้ถูกต้องและเหมาะสมกับรถให้มากที่สุด

ดูแลรถด้วยผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ เลือกประกันซ่อมศูนย์ ประกันชั้น 1 จากสินมั่นคง ไว้คอยดูแลรถคุณ สามารถเข้าซ่อมที่ศูนย์ซ่อมรถยนต์ยี่ห้อนั้นๆได้  เบี้ยประกันเริ่มต้นเพียง15,800 บาท คลิก www.smk.co.th/PreMotor.aspx หรือ โทร. 1596  

 

Photo source: freepix.com