ข่าวสารและบทความ

ประกันรถยนต์ : เกียร์ค้าง เกียร์หลุด ทำอย่างไรดี

ประกันรถยนต์ : เกียร์ค้าง เกียร์หลุด ทำอย่างไรดี

เกียร์อุปกรณ์สำคัญในการควบคุมการเคลื่อนที่ของรถยนต์ ทั้งเรื่องของความเร็วและทิศทาง หากเกียร์มีปัญหาอาจส่งผลให้การเคลื่อนที่ผิดพลาดหรือไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เลย ซึ่งอาจเป็นอันตรายในขณะขับขี่ได้ หากเกียร์เกิดอาการเกียร์ค้างหรือเกียร์หลุด เราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร สินมั่นคง ประกันรถยนต์ มีข้อมูลมาบอกกันดังนี้


หน้าที่ของเกียร์ เป็นอุปกรณ์ถ่ายทอดกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังเพลาขับและไปสู่ล้อ เปลี่ยนความเร็วของตัวรถให้เพิ่มขึ้นหรือลดลง อีกหน้าที่คือเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของตัวรถ เช่น เดินหน้าหรือถอยหลัง นั่นคือหน้าที่หลักๆ ของระบบเกียร์


อาการเกียร์หลุด เกียร์ค้างมันเกิดขึ้นได้จาก
เมื่อเราโยกคันเกียร์เพื่อเปลี่ยนตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นที่ตำแหน่งใดก็ตาม เช่น ตำแหน่งเกียร์ P R N D 2 L หรือตำแหน่งอื่นๆ แล้วแต่ผู้ผลิตจะออกแบบมา จะมีการส่งกำลังจะต้องถูกส่งกำลังจากคันเกียร์ไปสู่สายคันเกียร์ที่เป็นลักษณะสายสลิงที่มีแกนเหล็กเป็นลวดสลิง อยู่ด้านในที่ถูกวัสดุยางหุ้มเอาไว้  ลักษณะการเคลื่อนที่จะถูกดึงเข้า และถูกดันออก ไป-กลับ เช่นนี้ตลอดเวลาที่เรามีการผลักคันเกียร์ไปสู่ตำแหน่งเกียร์ที่เราต้องการ ยกเว้นในระบบที่เป็นเกียร์ไฟฟ้า จะถูกสั่งงานโดยไม่มีสายคันเกียร์ ทำให้มีการสึกหรอของชิ้นส่วนที่มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาตามที่เราผลักคันเกียร์ก็จะเกิดขึ้น  ในสายคันเกียร์จะมีชิ้นส่วนที่เรียกกันว่า บูชคันเกียร์ ซึ่งจะมีอยู่ที่ด้านปลายของสายคันเกียร์ทั้งสองด้าน  และจะสึกหรอตามการใช้งาน 


อาการที่จะเตือนว่า บูชคันเกียร์สึกหรอ
เมื่อเราเลื่อนคันเกียร์ไปที่ตำแหน่งใดก็ตาม คันเกียร์จะมีอาการหลวมๆ มีระยะที่สามารถโยกไปมาได้ แต่ระยะการโยกตัวจะมีไม่มาก หากอาการหนักคันเกียร์ก็จะเคลื่อนที่แบบที่เราสามารถใช้มือโยกเล่นได้ และเมื่อใดที่เราเข้าเกียร์ เราจะรู้สึกว่าคันเกียร์จะไม่ค่อยตรงตำแหน่งที่เราต้องการ อาการเช่นนี้เมื่อเกิดขึ้นจะอันตรายเป็นอย่างมาก หากเราปล่อยไว้ 


อาการเกียร์หลุด และ อาการเกียร์ค้าง
ส่วนอาการที่ตามมาคือ บูชคันเกียร์หลุดออกมา หรือตำแหน่งเกียร์ที่ต้องการไม่ตรงตำแหน่ง ก็จะทำให้เราไม่สามารถใส่เกียร์ได้ในทุกตำแหน่ง หรือ “อาการเกียร์หลุด” นั่นเอง อาจเกิดอาการที่เราใส่เกียร์ไปที่ตำแหน่งใด เช่น เราใส่เกียร์เดินหน้า แต่สายคันเกียร์ที่เกิดอาการสึกหรอ ทำให้ปลายสายของสายคันเกียร์ไม่ตรงตำแหน่ง ดันไปอยู่ที่ตำแหน่งเกียร์ ถอยหลัง หรือบางครั้งเราใส่เกียร์ว่าง แต่สายคันเกียร์ที่รับกำลังจากคันเกียร์ ส่งกำลังไปที่ปลายสายอีกด้านหนึ่ง  ดันไปค้างอยู่ที่เกียร์ถอย หรือเกียร์เดินหน้าอยู่ ก็อาจจะเป็นไปได้ เป็นต้น ซึ่งเราเรียกอาการนี้ว่าเป็น “อาการเกียร์ค้าง”


วิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดการเสื่อมสภาพที่บูชของสายคันเกียร์

1. ต้องหมั่นดูแลบำรุงรักษารถเข้าตรวจเช็คตามระยะที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ ซึ่งจะมีการตรวจสอบ และหากพบอาการดังกล่าวจะได้แก้ไขซ่อมแซม เช่น การเปลี่ยนสายคันเกียร์ หรืออะไหล่ที่ชำรุด ก่อนจะเกิดอาการที่ไม่คาดคิดได้

2. ให้หลีกเลี่ยงการจอดรถในที่ลาดชัน ซึ่งหากเรามีความจำเป็นต้องจอดรถในพื้นที่ที่มีลักษณะลาดชันก็จะต้องเข้าเกียร์ P เอาไว้ ซึ่งบางครั้งเบรกมืออาจจะดึงไม่อยู่ แต่หากเราไม่ดึงเบรกมือก่อนใส่เกียร์ P และปล่อยเบรกที่แป้นเบรกที่เท้าเหยียบ รถก็จะถูกดึงลงในตำแหน่งที่ต่ำ ตามแรงโน้มถ่วงของโลก ชิ้นส่วนภายในเกียร์จะถูกล็อคที่เฟืองเกียร์  เพื่อไม่ให้มีการขยับตัวของเฟืองเกียร์ทำให้รถเคลื่อนที่ไม่ได้  และเมื่อเราต้องมีการขยับคันเกียร์ หรือในกรณีที่เราต้องมีการเคลื่อนย้ายรถไปจุดอื่น เราจะต้องออกแรงดึงคันเกียร์โดยการใช้แรงดึงที่มากกว่าปกติ  ซึ่งเกิดจากการล็อกตัวของเฟืองเกียร์ ในตำแหน่งเกียร์ P และถูกแรงดึงของน้ำหนักรถดึงเอาไว้อีก บูชสายคันเกียร์จะต้องถูกใช้งานด้วยแรงดึงที่มากกว่าปกติ ซึ่งจะเกิดการเสื่อมสภาพเร็วกว่าการใช้งานตามปกติได้


เมื่อเกิดเหตุการณ์เกียร์หลุด เกียร์ค้าง ควรทำอย่างไร

1. ให้เราตั้งสติ กดสวิตซ์ไฟฉุกเฉิน

2. เหยียบแป้นเบรกให้แรงที่สุดเพื่อให้รถหยุด 

3. หากรถไม่หยุดห้ามตกใจเด็ดขาด  ต้องรีบทำการบิดกุญแจไปที่ตำแหน่ง Off เพื่อดับเครื่องยนต์ให้เร็วที่สุด เพื่อตัดการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปสู่เกียร์

4. หากเครื่องยนต์ดับแล้ว อาการที่จะตามคือพวงมาลัยจะมีอาการหนักเพิ่มขึ้นมา การควบคุมรถเราจะต้องใช้แรงในการหมุนพวงมาลัยไปทิศทางที่เราต้องการ และต้องใช้แรงที่เพิ่มมากขึ้น และระวังอย่าหมุนสวิทช์กุญแจไปที่ตำแหน่ง Lock โดยเด็ดขาด เนื่องจากเราจะไม่สามารถหมุนพวงมาลัยได้เลย

5. เมื่อเครื่องยนต์ดับจอดสนิทแล้ว รีบนำรถเข้าศูนย์เพื่อตรวจเช็คทันที

 

ข้อควรระวังการใช้เกียร์อัตโนมัติ

1. ตรวจสอบพื้นที่ในบริเวณห้องคนขับ จะต้องไม่มีสัมภาระ เช่นขวดน้ำ รองเท้า หรือสิ่งของอื่นๆ อยู่ในพื้นที่เด็ดขาด

2. หลีกเลี่ยงการใช้รองเท้าส้นสูงในการขับรถทุกครั้ง

3. ตรวจสอบพรมที่ใช้งาน ห้ามซ้อนพรม หรือผ้ายางเกิน 1 ชั้น และไม่ควรใช้พรมที่ไม่ได้มาตรฐานจากทางผู้ผลิต ซึ่งอาจจะทำให้คันเร่งติดค้างที่พรมได้

4.  ทุกครั้งที่เรามีการใส่เกียร์ไม่ว่าจะตำแหน่งใดก็ตาม  ให้เราทำการเหยียบเบรกก่อนใส่เกียร์ทุกครั้ง และค่อยๆ ปล่อยแป้นเบรกที่เท้า  เพื่อให้รถเคลื่อนที่ออกไปอย่างช้าๆ เพื่อดูว่าตำแหน่งเกียร์ที่เราใส่อยู่ รถเคลื่อนที่ออกไปตรงความต้องการหรือไม่ แล้วค่อยเหยียบคันเร่งตาม ห้ามปล่อยเบรกอย่างรวดเร็ว และเหยียบคันเร่งตามแบบทันทีทันใดเด็ดขาด เพราะหากเกิดอาการที่เกียร์ไม่อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง รถจะเกิดการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ขับขี่หลายราย ตกใจจนตั้งสติไม่อยู่   ในสมองสั่งให้เท้าเหยียบเบรก แต่เท้าที่เราเกิดอาการตกใจ ดันไปอยู่ที่ตำแหน่งคันเร่งที่เราเพิ่มแรงกดลงไปอีก เครื่องยนต์ก็จะถูกสั่งให้เพิ่มความเร็วรอบบวกกำลังที่เพิ่มขึ้น ทำให้รถพุ่งออกไปโดยที่เราควบคุมไม่ได้ และอุบัติเหตุก็จะตามมา

5. หากเราต้องการจอดรถ ให้เหยียบเบรกให้รถจอดสนิท และเหยียบเบรกค้างเอาไว้ก่อน แล้วจึงค่อยผลักคันเกียร์มาที่ตำแหน่ง P หรือ  N  จากนั้นค่อยๆ ปล่อยแป้นเบรก ดูว่ารถมีการเคลื่อนที่ไปด้านหน้า หรือถอยหลังหรือไม่ จากนั้นจึงค่อยปล่อยแป้นเบรกออกจนสุด โดยที่เท้าของเราไม่กดเอาไว้ และตรวจสอบการเคลื่อนที่ของรถว่า มีการเคลื่อนที่หรือไม่ และระวังในการจอดรถในที่ลาดชัน 

หมั่นสังเกตความผิดปกติของเกียร์ และระมัดระวังใช้งานเกียร์อยู่เสมอ หากพบอาการผิดปกติควรรีบนำไปตรวจเช็คทันที  ไม่ควรละเลย เพราะความผิดพลาดเล็กน้อยๆ ทั้งจากเครื่องยนต์และการขับขี่ อาจนำไปสู่อุบัติเหตุได้

 

เพิ่มความคุ้มครองให้รถยนต์และตัวคุณด้วย จากเหตุไม่คาดคิด ด้วยประกันภัยรถยนต์จากสินมั่นคงประกันภัย มีประกันภัยรถยนต์หลากหลายให้เลือก ราคาไม่แพง สามารถตรวจสอบเบี้ยได้ง่าย แค่คลิก www.smk.co.th/premotor.aspx หรือ โทร. 1596 

 

ที่มา : kmotors.co.th
Photo source: freepix.com