ข่าวสารและบทความ

ประกันรถยนต์ : ข้อดี-ข้อเสียของการขับรถช้า

ประกันรถยนต์ : ข้อดี-ข้อเสียของการขับรถช้า

การขับขี่ของแต่ละคนแตกต่างกัน หลายคนเชื่อว่า การขับรถช้าปลอดภัย แต่บางครั้งการขับช้ามากอาจจะสร้างปัญหาแถมบางครั้งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้  การขับช้าจะมีข้อดีข้อเสียอย่างไร สินมั่นคง ประกันรถยนต์ รวบรวมข้อมูลมาแนะนำกันดังนี้


ข้อดีการขับรถช้า

1. การขับรถช้ามีความปลอดภัยมากกว่า แต่ต้องไม่ขวางรถคันอื่น ให้รถอยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย มีผลการศึกษานี้ชี้ว่า การขับรถด้วยความเร็วเท่ากับการจราจรขณะนั้น หรือเร็ว – ช้าในระยะความเร็ว +/-5 ก.ม./ช.ม. ไม่ได้สร้างผลเสียอย่างไร และถ้าเพิ่มความเร็วมากกว่าการจราจรโดยรอบ 5-10 ก.ม./ช.ม. แม้จะมีผลเสียเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุบ้าง เล็กน้อย แต่เมื่อใช้ความเร็วมากกว่าการจราจร 15 ก.ม./ช.ม. ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจะมากขึ้นได้

2. การขับรถช้านอกจากปลอดภัยแล้วก็ยังประหยัดน้ำมัน หากขับระดับความเร็วที่ประหยัดน้ำมันมากที่สุด

3. การขับช้า ช่วยให้เราไม่ต้องเคร่งเครียดที่ต้องรีบเร่ง


ข้อเสียของการขับรถช้า

1. ทำให้รถติดการจราจรชะลอตัว การขับรถช้าอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้รถติด  โดยเฉพาะการขับช้าแช่ขวา การขับรถช้าเกินไป อาจเป็นต้นตอทำให้การจราจรชะลอตัว และท้ายที่สุดติดขัดได้ เนื่องจากเมื่อเราใช้ความเร็วช้ากว่าปกติ ทำให้รถที่ตามหลังต้องช้าตาม เป็นปัญหาจราจรได้ในที่สุด ดังนั้นถ้าจะขับรถช้าควรอยู่เลนกลางหรือชิดซ้ายจะดีที่สุด

2. การนั่งขับรถเป็นระยะเวลานานๆ อาจทำให้เส้นเลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก เช่น ขับรถต่างจังหวัด ควรจะพักทุก 2-3 ชั่วโมง เพื่อผ่อนคลายและเปลี่ยนอิริยาบท เป็นเวลา 10-15 นาที ช่วยให้ลดการเมื่อยล้าลงได้

3. ปล่อยไอเสียมากกว่าหากขับรถช้าเกินไป แม้ว่าจะให้ความสำคัญในเรื่องการประหยัดในการขับขี่มากพอสมควร แต่ก็กลับมีผลเสียในเรื่องการปล่อยไอเสีย เช่น รถบรรทุกเครื่องยนต์ดีเซลที่ขับด้วยความเร็ว 30 กม./ช.ม. มีการปล่อยฝุ่นละอองสูงถึง 273 กรัม แต่เมื่อขับด้วยความเร็ว 60 ก.ม./ช.ม. จะปล่อยฝุ่นละอองลดลง เหลือ 256 กรัม เท่านั้น ถ้าจะขับรถให้ปล่อยไอเสียน้อยลง ไม่ควรขับช้าเกินไป แม้ว่าอัตราประหยัดจะดี แต่อาจปล่อยไอเสียเพิ่มขึ้นด้วย

4.  เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้ หากขับช้าแช่ขวา อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุด้วยจังหวะของรถคันหลังที่ขับมาอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องแซงซ้าย ทำให้เกิดจุดบอดที่ผู้ขับรถฝั่งขวาเองมองไม่เห็น เมื่อมองไม่เห็นนั่นหมายถึงการเกิดอุบัติเหตุก็จะมีอัตราการเกิดสูงขึ้น การขับรถช้าเลนขวาสามารถสร้างอุบัติเหตุบนท้องถนนได้

5.  การขับรถช้าเลนขวา ผิดกฏ พรบ. จราจรทางบก  หมวด 2 มาตรา 45  และ มาตรา 35 การขับรถเลนขวา มีความ ผิด 2 ข้อ คือ

1).  หมวด 2 มาตรา 45 มีการบัญญัติเอาไว้ชัดเจนว่า ถนนที่มีการแบ่งเส้นจราจรเกินกว่า 2 เลน ผู้ขับขี่ทุกคนจำเป็นต้องขับรถชิดขอบทางซ้าย หากไม่ยอมปฏิบัติตามก็จะต้องโดนปรับไม่เกิน 1,000 บาท

2).  มาตรา 35 รถที่มีความเร็วช้าหรือรถที่มีความเร็วต่ำกว่าความเร็วของรถคันอื่นที่ขับในทิศทางเดียวกัน ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ใกล้ขอบทางเดินรถด้านซ้ายเท่าที่จะกระทำได้  ผู้ขับขี่รถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร รถจักรยานยนต์ในทางเดินรถซึ่งได้แบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป หรือได้จัดช่องเดินรถประจำทางด้านซ้ายไว้โดยเฉพาะ ต้องขับรถในช่องเดินรถด้านซ้ายสุด หรือใกล้เคียงกับช่องเดินรถประจำทางแล้วแต่กรณี โทษปรับของการขับขี่กีดขวางทางจราจรมีโทษปรับตั้งแต่ 400 – 1,000 บาท


ข้อแนะนำสำหรับการขับช้า

1. ควรขับโดยใช้ความเร็วให้เหมาะสมตามสถานการณ์ ควรใช้ความเร็วประมาณ 80 กม. /ช.ม.  และไม่เกินตามกฏหมายกำหนด แต่ในบางจังหวะต้องรีบแซง แล้วก็ขับเร็วเท่าเดิม เน้นเลือกตำแหน่งรถบนถนนให้อยู่ในจุดที่ปลอดภัย

2. การขับช้าแช่เลนขวา เพราะจะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุสูงมาก หรือเกิดการทะเลาะวิวาทได้เช่นกัน จากรถที่ขับตามมา

3. การขับรถช้าไม่ควรขวางรถคันอื่น และให้รถอยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย 


ความเร็วที่กำหนดตามกฏหมาย

อัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงชนบทมีดังต่อไปนี้

1. รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ให้ใช้ความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 90 กิโลเมตร

2. รถยนต์ขณะที่ลากจูงรถพ่วง หรือรถสามล้อ ให้ใช้ความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 60 กิโลเมตร

3. รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัม ไม่ว่าจะลากจูงรถพ่วงด้วยหรือไม่ก็ตาม หรือรถบรรทุกคนโดยสาร ให้ใช้ความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 80 กิโลเมตร

 

กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 กำหนดไว้ว่า ข้อ 2 ให้กำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ทางสาย กรุงเทพมหานคร-เมืองพัทยา และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ถนนกาญจนภิเษก) ทางสายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ดังต่อไปนี้

1. รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 1,200 กิโลกรัม หรือรถบรรทุกคนโดยสาร ให้ใช้ความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 100 กิโลเมตร

2. รถบรรทุกอื่นนอกจากรถที่ระบุไว้ใน (1) รวมทั้งรถบรรทุกหรือรถยนต์ขณะที่ลากจูงรถพ่วง ให้ใช้ความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 80 กิโลเมตร

3. รถยนต์อื่นนอกจากรถที่ระบุไว้ใน (1) หรือ (2) ให้ใช้ความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 120 กิโลเมตร
                  

ความเร็วในขับขี่มีผลกับความปลอดภัย ควรเลือกใช้ความเร็วที่เหมาะสมตามสถานการณ์  เพิ่มความมั่นใจกับการขับขี่บนท้องถนน ด้วยการทำประกันภัยรถยนต์ที่วางใจ  ให้ สินมั่นคง ประกันภัยรถยนต์ ช่วยดูแล พร้อมบริการคุณ สอบถามและเช็คเบี้ยประกันภัยง่ายๆ ที่  www.smk.co.th/premotor.aspx หรือ โทร. 1596  สินมั่นคงประกันภัย..ประกันรถ ประกันเวลา..

 

Photo source: freepix.com