ข่าวสารและบทความ

ประกันสุขภาพ : ไมโครพลาสติก ภัยใกล้ตัวต่อสุขภาพ

ประกันสุขภาพ : ไมโครพลาสติก ภัยใกล้ตัวต่อสุขภาพ

 

เป็นข่าวใหญ่เมื่อขยะในทะเลมีผลทำให้สัตว์ทะเลหลายชนิดเสียชีวิตจากการกินซากพลาสติกเข้าไป ขยะพลาสติกยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆอีกมากมาย ประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบมากกว่าที่อื่นๆเพราะจากการจัดอันดับไทยเป็นประเทศที่มีขยะพลาสติกในทะเลมากเป็นอันดับ 6 ของโลก ปัจจุบันพลาสติกเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว ทำให้มีขยะพลาสติกจำนวนมาก ซึ่งขยะพลาสติกนี้จะแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ ลงไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายมีขนาดเล็กเกินกว่าที่ตาเราจะมองเห็น ในระดับที่เรียกว่า "ไมโครพลาสติก" ซึ่งสามารถแทรกซึมไปยังที่ต่างๆ ได้ง่าย ทั้งใน น้ำ อากาศ ดิน และหลุดเข้าไปในห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพได้ สินมั่นคง ประกันสุขภาพ จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายจากไมโครพลาสติกมาบอกเล่ากันดังนี้

 

พลาสติกเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ยาก มีความคงสภาพสูง จึงส่งผลให้ขยะพลาสติกที่ตกค้างในทะเล ใช้เวลาในการย่อยสลายอยู่ในช่วง 10 – 600 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทของพลาสติก

ไมโครพลาสติก(microplastics)  คือ อนุภาคพลาสติกขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร และถูกใช้ในผลิตภัณฑ์หลายประเภท นอกจากนี้ยังเกิดจากการย่อยสลายของพลาสติกชิ้นใหญ่ ทั้งจากการเสื่อมสภาพ, สภาพอากาศ, การผุพัง และการฉีกขาด

ไมโครพลาสติก แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 

- Primary Microplastics ซึ่งถูกผลิตขึ้นโดยตรงจากโรงงาน ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่น พวกไมโครบีดส์ในโฟมล้างหน้า เครื่องสำอาง สครับขัดผิว หรือยาสีฟัน

- Secondary Microplastics เกิดจากการที่พลาสติกขนาดใหญ่แตกหัก หรือผุกร่อนจากคลื่น แสงอาทิตย์ หรือแรงบีบอัด จนกลายเป็นชิ้นเล็กๆ

กลุ่มพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ (Biodegradable plastic) ก็พบเป็นส่วนหนึ่งของไมโครพลาสติกเช่นเดียวกัน พลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้จะย่อยสลายได้จริง ต่อเมื่ออยู่บนบกเท่านั้น พอถูกแสงแดด พลาสติกจะแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ ลงไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายมีขนาดเล็กเกินกว่าที่ตาเราจะมองเห็น ในระดับที่เรียกว่าไมโครพลาสติก

 

 

อันตรายจากไมโครพลาสติก 
ภัยที่ไม่อาจมองเห็นด้วยตาเปล่า สามารถแทรกซึมเข้าสู่สภาพแวดล้อมและโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตอย่างไม่รู้ตัว ทำให้นักวิทยาศาสตร์ศึกษาถึงผลกระทบในสัตว์ทะเลเล็กๆ ที่กินไมโครพลาสติกเข้าไป เช่น โคพีพอด (Copepod) สัตว์จำพวกเดียวกับกุ้ง พบว่า ถ้ามีไมโครพลาสติกเข้าไปร่างกายจะทำให้การสืบพันธุ์หยุดชะงัก การเจริญเติบโตหยุดชะงัก หรือในปลาที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ก็พบความเป็นไปได้ว่าการกินไมโครพลาสติกมีผลต่อการเกิดบาดแผลในกระเพาะอาหาร 

 

ไมโครพลาสติกต่อร่างกายมนุษย์
ขณะนี้ไมโครพลาสติกปนเปื้อนไปทุกหนแห่งแล้ว รวมถึงสัตว์ทะเลที่สะสมไมโครพลาสติกไว้ ส่วนใหญ่ล้วนเป็นอาหารของมนุษย์  ไม่เว้นแม้แต่ในเกลือปรุงอาหาร จากงานวิจัยเผยว่า เรากำลังกินพลาสติกหนักราว 5 กรัม ใกล้เคียงกับน้ำหนักของบัตรเครดิต ลงในกระเพาะอาหารทุกสัปดาห์ หรือราว 21 กรัมต่อเดือน และ 250 กรัมต่อปี โดยการปนเปื้อนของพลาสติกจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป เป็นพลาสติกประเภท ไมโครพลาสติก ซึ่งอาจพบได้ในอาหาร เครื่องดื่ม หรือแม้กระทั่งในอากาศเข้าสู่ร่างกาย

 

ในพลาสติกจะมี สารพทาเลท (Phthalates) เป็นส่วนประกอบซึ่งเป็บสารเคมีก่อมะเร็ง มีโอกาสหลุดจากเนื้อพลาสติกเข้าสู่ร่างกายของคนได้เสมอ จะไปรบกวนอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และกลายพันธุ์ไปเป็นมะเร็งในที่สุด สัตว์ทะเลเสียชีวิตจากการกินซากถุงพลาสติกที่มีสารพทาเลทเป็นส่วนประกอบ และเข้าสู่ร่างกายมนุษย์โดยการบริโภคสัตว์ทะเล


นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่า ไมโครพลาสติกพลาสติก จะมีสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า BPA หรือบิสฟีนอลเอ สารตัวนี้จะไปรบกวนการทำงานของระบบในร่างกาย รบกวนการทำงานการปล่อยฮอร์โมนเอสโทรเจน และยังอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอื่นๆ ที่ยังต้องทำการศึกษากันต่อไป เพราะยังไม่มีการศึกษาลงไปในรายละเอียดว่า ไมโครพลาสติกที่เข้าไปในร่างกายนั้น จะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์อย่างไรบ้าง แต่จากการคำนวณการรับประทานอาหารชนิดต่างๆ เชื่อว่า โดยเฉลี่ยในคนที่ทานอาหารปกติ น่าจะมีไมโครพลาสติกอยู่ในกระเพาะอาหารมากกว่า 10,000 ชิ้น (ขึ้นอยู่กับลักษณะและปริมาณการรับประทานอาหารทะเล)


การขับถ่ายไม่สามารถทำให้ไมโครพลาสติกออกได้หมด หากตกค้างอยู่ภายในร่างกายแล้ว และไมโครพลาสติกมีการแตกตัวเล็กลงจากไมโครเมตร เป็นนาโนเมตร หรือพิโคเมตร หรือเล็กเท่ากับแบคทีเรียหรือไวรัส อาจจะหลุดเข้าไปอยู่ในเส้นเลือดได้ แต่ถ้าเป็นขนาดไมโครพลาสติกหลุดเข้าไปในเส้นเลือดอาจจะไปขวางกั้นเส้นเลือดเราก็ได้ และถ้าไปฝังตามเนื้อเยื่อของเรา อาจจะเป็นตัวที่ทำให้เกิดมะเร็งเกิดขึ้นได้ ซึ่งอาจใช้เวลานานที่ต้องทำการศึกษาถึงผลกระทบกันต่อไป

ไมโครพลาสติกกลายเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบทั่วโลกทั้งมนุษย์และสัตว์ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากเราทุกคนบนโลกในการช่วยกันลดปริมาณขยะทั้งในการผลิตและการใช้  ร่วมกับการกำจัดขยะที่ดี ซึ่งทุกคนต้องร่วมมือกันอย่างเร่งด่วน ก่อนจะส่งผลกระทบไปมากกว่านี้

ปัจจุบันสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา เต็มไปด้วยภัยร้ายที่เราไม่รู้ตัว ทั้งจากสารเคมี มลพิษ เชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เราจึงควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ และเพิ่มความคุ้มครองด้านสุขภาพ เพื่อรับมือกับความเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ 
ประกันสุขภาพ จากสินมั่นคงประกันภัย พร้อมดูแลคุณ ด้วยแผนประกันสุขภาพที่หลากหลาย ตอบรับกับการดูแลทุกช่วงวัย คลิก www.smk.co.th/PreHealth.aspx หรือ โทร. 1596 

Photo source: freepix.com
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ