ข่าวสารและบทความ

ประกันรถยนต์ : อย่าปล่อยให้รถควันดำ อาจถูกห้ามใช้รถได้

ประกันรถยนต์ : อย่าปล่อยให้รถควันดำ อาจถูกห้ามใช้รถได้

รถของเรามีค่าควันดำเกินค่ามาตรฐานหรืออยู่เปล่า?  ยิ่งรถของเรามีอายุการใช้งานมากก็ต้องหมั่นดูแลเป็นพิเศษ ไม่ควรให้รถของเราปล่อยควันดำที่เป็นส่วนสำคัญทำให้เกิดมลพิษในอากาศ และหากถูกเรียกตรวจควันดำแล้วมีค่าเกินมาตรฐาน เราอาจถูกห้ามใช้รถ หากยังฝ่าฝืนอาจถูกปรับ และถูกยกเลิกการใช้งานไปเลยก็ได้ สินมั่นคง ประกันรถยนต์ มีรายละเอียดน่าสนใจมาเล่าให้ฟังดังนี้

 


โดยปกติรถที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี จะทำมีการตรวจสภาพรถต่างๆ รวมถึงค่ามลพิษทุกปี หากรถเรามีค่าเกินมาตรฐาน เราควรรีบทำการแก้ไข ก่อนนำออกมาวิ่งบนท้องถนน เพราะอาจถูกเรียกตรวจควันดำ ค่ามาตรฐานควันดำจากท่อไอเสียของรถยนต์ ขณะเครื่องยนต์จอดอยู่กับที่ ถูกกำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 50 (เมื่อตรวจวัดด้วยเครื่องมือวัดควันดำระบบกระดาษกรอง) หรือไม่เกินร้อยละ 45  (เมื่อตรวจวัดด้วยเครื่องมือวัดควันดำระบบวัดความทึบแสง) 

 

 

กรณีพบว่ามีค่าควันดำเกินร้อยละ 50 

สำหรับรถยนต์ที่ปล่อยควันดำ เกินค่าที่กำหนดจะถูกติดสติ๊กเกอร์ "ห้ามใช้รถชั่วคราว" หรือ "ห้ามใช้เด็ดขาด" 


กรณีการห้ามใช้ชั่วคราว 

- คำสั่งห้ามใช้รถยนต์ที่มีควันดำเกินกว่ามาตรฐานเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะนำรถไปแก้ไขปรับปรุงเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์และมีควันดำเป็นไปตามมาตรฐาน ภายในกำหนด 30 วัน

- เมื่อถูกคำสั่ง "ห้ามใช้ชั่วคราว" เจ้าของรถยนต์จะได้รับแบบ คพ.1 และถูกติดเครื่องหมาย "ห้ามใช้ชั่วคราว" บริเวณกระจกหน้ามุมบนด้านขวาของผู้ขับขี่ เจ้าของรถต้องนำรถไปแก้ไขเครื่องยนต์

- เมื่อแก้ไขปรับปรุงเครื่องยนต์แล้ว ให้นำรถพร้อมแบบ คพ.1 และหลักฐานการแก้ไขปรับปรุงสภาพเครื่องยนต์มาให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจวัดค่าควันดำ เพื่อยกเลิกคำสั่ง "ห้ามใช้ชั่วคราว" ณ สถานที่ยกเลิกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะที่กำหนด

- เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจวัดค่าควันดำแล้วพบว่า ไม่เกินมาตรฐานจะยกเลิกคำสั่ง "ห้ามใช้ชั่วคราว" ซึ่งเจ้าของรถยนต์จะได้รับแบบ คพ.4 ไว้เป็นหลักฐาน โดยต้องดำเนินการทั้งหมดจะให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับจากวันที่ถูกคำสั่ง "ห้ามใช้ชั่วคราว"

- หากเกินกำหนด 30 วันแล้ว ยังมีค่าควันดำเกินมาตรฐาน พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกคำสั่ง "ห้ามใช้เด็ดขาด" และติดเครื่องหมาย "ห้ามใช้เด็ดขาด" แทนเครื่องหมาย "ห้ามใช้ชั่วคราว"

 

กรณีการห้ามใช้เด็ดขาด 

- เมื่อถูกคำสั่ง "ห้ามใช้เด็ดขาด" เจ้าของรถยนต์จะได้รับแบบ คพ. 1 และถูกติดเครื่องหมาย "ห้ามใช้เด็ดขาด" บริเวณกระจกหน้ามุมบนด้านขวาของผู้ขับขี่ เจ้าของรถยนต์ไม่สามารถใช้รถนั้นอย่างเด็ดขาด นอกจากจะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้นำรถไปแก้ไขปรับปรุงสภาพเครื่องยนต์เท่านั้น ซึ่งเจ้าของรถยนต์จะได้รับหนังสืออนุญาตตามแบบ คพ. 2 ทั้งนี้การเคลื่อนย้ายรถเพื่อนำไปแก้ไขปรับปรุงเครื่องยนต์ จะต้องใช้การลากจูงหรือวิธีอื่นที่ไม่ก่อให้เกิดควันดำเท่านั้น

- เมื่อแก้ไขปรับปรุงเครื่องยนต์แล้ว ให้นำรถพร้อมแบบ คพ. 1 และเขียนคำร้องขอยกเลิกคำสั่ง "ห้ามใช้เด็ดขาด" ตามแบบ คพ. 3 ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่ยกเลิกคำสั่ง ห้ามใช้ยานพาหนะที่กำหนด เพื่อขอให้ตรวจวัดค่าควันดำและยกเลิกคำสั่ง "ห้ามใช้เด็ดขาด" เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจวัดค่าควันดำแล้วพบว่าไม่เกินมาตรฐาน จะทำการยกเลิกคำสั่ง "ห้ามใช้เด็ดขาด" ซึ่งเจ้าของรถยนต์จะได้รับแบบ คพ. 4 ไว้เป็นหลักฐาน 


ความผิดในกรณีฝ่าฝืนคำสั่งห้ามใช้รถยนต์

การฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท (ตามมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535)  ผู้ใดไม่หยุดรถเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบหรือเข้าไปในรถยนต์หรือกระทำการใดที่จำเป็นเพื่อตรวจสอบเครื่องยนต์และอุปกรณ์ของรถยนต์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ตามมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535)  ผู้ใดทำเครื่องหมาย (สติ๊กเกอร์) "ห้ามใช้ชั่วคราว" หรือ "ห้ามใช้เด็ดขาด" หลุด ฉีก หรือไร้ประโยชน์ มีโทษตามประมวลกฎหมายอาญา

 

หากรถของเรามีปัญหาเรื่องควันดำ เราไม่ควรละเลย ต้องรีบแก้ไข ไม่ปล่อยให้รถของเรามีส่วนทำให้เกิดมลพิษในอากาศ ซึ่งเป็นอันตรายต่อคนรอบๆ ตัว เรารวมถึงตัวเราเองด้วย และถ้าถูกจับอาจถูกยกเลิกการใช้งานรถและถูกปรับได้หากฝ่าฝืน เราสามารถป้องกันได้แค่หมั่นดูแลรถ หากพบรถมีปัญหาต้องรีบแก้ไข ดูแลรักษาเครื่องยนต์เพื่อป้องกันควันดำ และอย่าลืมเพิ่มความคุ้มครองให้รถ ปกป้องจากทุกภัยในเมืองกรุง ด้วยประกันรถยนต์คนกรุง ประกันชั้น 1 ของสินมั่นคง แม้รถจะเก่า เราก็คุ้มครอง คุ้มครองรถอายุสูงสุด 12 ปี  คุ้มครองคุ้มค่า ด้วยเบี้ยไม่ยอมเปลี่ยนแปลง คลิก www.smk.co.th/PreMotor.aspx หรือ โทร. 1596 

 

Photo source: freepix.com