ข่าวสารและบทความ

ประกันสุขภาพ : สายเมาเข้ามา!!! ดื่มแค่ไหนปลอดภัย ไม่เสี่ยงตายเฉียบพลัน

ประกันสุขภาพ : สายเมาเข้ามา!!! ดื่มแค่ไหนปลอดภัย ไม่เสี่ยงตายเฉียบพลัน

เป็นข่าวโด่งดังในกระแสสังคมอยู่ตอนนี้ จากกรณีของ น.ส.ธิติมา นรพันธ์พิพัฒน์ หรือ "ลัลลาเบล" ที่เสียชีวิตในล็อบบี้คอนโดมิเนียมแห่งหนึ่ง ซึ่งผลการชันสูตรแพทย์ระบุว่า พบปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดสูงถึง 418 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ (mg%) และเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต อยากรู้กันแล้วใช่ไหม? ต้อง “ดื่ม” แค่ไหน ส่งผลอย่างไรต่อร่างกายเราบ้าง สินมั่นคง ประกันสุขภาพ มีคำตอบมาให้ค่ะ

 

 

ในทางการแพทย์นั้น การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นเรื่องต้องห้ามสำหรับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีโรคประจำตัว แต่ก็ได้มีการกำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ที่ไม่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายไว้เท่ากับ 1 ดื่มมาตรฐาน แล้ว 1 ดื่มมาตรฐานคือเท่าไร?

 

1  ดื่มมาตรฐาน  คือ ปริมาณการดื่มที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย โดยมีแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มไม่เกิน 10 กรัม และร่างกายสามารถขับออกได้ภายใน 1 ชั่วโมง หรือเทียบเท่ากับ

เหล้าแดงหรือวิสกี้ 35% ปริมาณ 2 ฝาใหญ่ 
เหล้าขาว 40% ปริมาณ 2/3 เป๊ก  
เบียร์ 5% ปริมาณ 3/4 กระป๋อง หรือ 3/4  ขวดเล็ก)
ไวน์ 12%  ปริมาณ 1 แก้ว (100cc)
ไวน์คูลเลอร์ 4% ปริมาณ 1 ขวด (330cc) 


แอลกอฮอล์ในกระแสเลือดแต่ละระดับ มีปริมาณเท่าไร? จะแสดงอาการอย่างไรบ้าง

30 mg%  =  เหล้า 4 ฝา หรือ เบียร์ 1 กระป๋อง จะเริ่มกรึ่มๆ สนุกสนานร่าเริงกว่าปกติ มีความกล้ามากขึ้น
50 mg%  =  เหล้า 6 ฝา หรือ เบียร์ 2 กระป๋อง มือไม้เริ่มอ่อน ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ดีเท่าภาวะปกติ (ปริมาณนี้เป็นปริมาณแอลกอฮอล์ที่เกินกว่ากฎหมายกำหนด)
100 mg%  =  เหล้า 24 ฝา หรือ เบียร์ 4 กระป๋อง เกิดอาการเดินไม่ตรงทาง มีความเสี่ยงจากอุบัติเหตุและการทะเลาะวิวาท เพราะขาดการยับยั้งชั่งใจ 
200 mg%  =  เหล้า 48 ฝา มึนงง สับสน ทรงตัวไม่อยู่ ไม่สามารถควบคุมความเคลื่อนไหวของร่างกายได้
300 mg%  =  เหล้าครึ่งแบน มีอาการง่วงซึม อาจลืมสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว หรือถึงหมดสติ
400 mg%  =  เหล้า 1 แบน หรือ เบียร์ 20 กระป๋อง อาเจียน สำลัก อาจถึงขั้นเสียชีวิต

 

 

ปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดของแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัว พฤติกรรมการดื่ม และความสามารถในการกำจัดแอลกอฮอล์ของร่างกายต่อชั่วโมงในแต่ละบุคคลด้วย ทั้งนี้ เมื่อต้องพบเจอกับนักดื่มที่คาดว่า จะมีปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดเกินกว่า 300 mg% ที่ยังมีสติรู้ตัว แต่เริ่มอาเจียนและสำลัก ควรจับให้นอนตะแคงข้างเพื่อป้องกันไม่ให้มีเศษอาหารไปปิดกั้นทางเดินหายใจ หรือหากหมดสติ ควรปลุกให้ตื่นมีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา และโทรเรียกสายด่วนศูนย์กู้ชีพฉุกเฉิน 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือทันที

 

การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์นอกจากจะทำให้สูญเสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์แล้ว ยังก่อให้เกิดโรคร้ายแรงต่างๆ ตามมาอีกมากมาย หรืออาจเลวร้ายถึงขั้นเสียชีวิต หากไม่สามารถเลิกดื่มได้ในทันที ควรเริ่มต้นจากการลดการดื่มทีละน้อย เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูและกลับมามีสุขภาพที่แข็งแรง 

 

 

สินมั่นคงประกันภัยห่วงใยสุขภาพของคนไทยทุกคน พร้อมนำเสนอความคุ้มครองด้านสุขภาพที่จะช่วยให้คุณอุ่นใจ หากต้องพบเจอกับปัญหาสุขภาพในอนาคต ทั้งประกันสุขภาพแบบผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน หรือประกันภัยโรคมะเร็ง ก็พร้อมรับความเสี่ยงแทนคุณ
สนใจรายละเอียด คลิก www.smk.co.th/prehealth.aspx  หรือ โทร.1596 ตลอด 24 ชั่วโมง

สินมั่นคงประกันสุขภาพ ...เราประกัน คุณมั่นใจ…

Photo source: freepix.com, pexels.com