ข่าวสารและบทความ

ประกันสุขภาพ : ข้อปฏิบัติ ก่อน ระหว่าง และหลังฉีดวัคซีนโควิด 19 เตรียมตัวอย่างไร?

ประกันสุขภาพ : ข้อปฏิบัติ ก่อน ระหว่าง และหลังฉีดวัคซีนโควิด 19 เตรียมตัวอย่างไร?

การฉีดวัคซีนโควิด 19 ดูจะเป็นทางออกสำหรับการระงับการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้ดีที่สุด ณ ขณะนี้ และเริ่มมีการกระจายการฉีดวัคซีนให้ทั่วถึงโดยเร็วที่สุด (ช่องทางลงทะเบียนฉีดวัคซีนฟรี! กรุงเทพฯ ต่างจังหวัด จองวัคซีนที่ไหน? อย่างไร? คลิก ) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้เกิดขึ้นทั้งประเทศ แล้วก่อนฉีดวัคซีนโควิดต้องปฏิบัติตัวอย่างไร? ขณะฉีดและหลังฉีด มีวิธีปฏิบัติอย่างไร? เพื่อลดความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนให้เกิดขึ้นได้น้อยที่สุด สินมั่นคง ประกันสุขภาพ มีข้อมูลมาฝากค่ะ

 

ก่อนฉีดวัคซีนโควิด เตรียมตัวอย่างไร?

แม้จะมีหลายกระแสข่าวออกมาแจ้งถึงหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติตัวที่แตกต่างกันออกไปจนก่อให้เกิดความสับสนแก่ประชาชน ล่าสุด กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ( https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/ ) ได้ชี้แจงถึงข้อปฏิบัติสำคัญสำหรับผู้ที่จะเตรียมตัวไปรับวัคซีนโควิด 19 ดังนี้


    1. ออกกำลังกายได้ตามปกติ

    2. ไม่จำเป็นต้องงดชา กาแฟ แต่ควรงดเครื่องดื่มมึนเมา

    3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

    4. กินยาประจำได้ตามปรกติ ไม่จำเป็นต้องงดยาในกลุ่มใดๆ ถ้ากินยาละลายลิ่มเลือดอยู่ ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ เมื่อฉีดยาแล้วให้กดนิ่งตรงตำแหน่งที่ฉีดต่ออีก 1 นาที

    5. ทำจิตใจให้ไม่เครียดหรือวิตกกังวล หากเจ็บป่วยไม่สบายหรือมีไข้ต่ำ สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อวินิจฉัยในเบื้องต้น แต่หากมีไข้สูงควรเลื่อนการฉีดไปก่อน

 

ระหว่างฉีดวัคซีน ปฏิบัติตัวอย่างไร?

เพื่อให้การฉีดวัคซีนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ผู้ได้รับวัคซีนควรปฏิบัติตัวดังนี้

    1. เมื่อถึงวันนัดหมาย ควรไปถึงสถานที่ฉีดก่อนเวลา และรักษามาตรการป้องกันพื้นฐานอย่างเคร่งครัด คือ สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างเจลแอลกอฮอล์

    2. เตรียมเอกสารหรือข้อมูลเพื่อยืนยันตัวบุคคล เช่น บัตรประชาชน ข้อมูลสุขภาพ และข้อมูลการลงทะเบียนผ่านช่องทางต่างๆ ที่ได้ดำเนินการไว้ให้เรียบร้อย

    3. กรอกข้อมูลตามความเป็นจริงเพื่อคัดกรองความเสี่ยง ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19

    4. แจ้งเจ้าหน้าที่ซักประวัติให้ละเอียดก่อนเข้ารับวัคซีน ทั้งโรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยาหรือแพ้วัคซีน การตั้งครรภ์ หรือข้อมูลด้านสุขภาพอื่นๆ ที่แพทย์ควรทราบ

    5. เลือกฉีดแขนข้างที่ไม่ค่อยถนัด เพราะมีรายงานว่า กว่า 60% ของผู้ได้รับวัคซีน มีอาการปวดแขนในบริเวณที่ฉีด

 


หลังฉีดวัคซีน ปฏิบัติอย่างไร?

    1. หลังฉีดแล้วเจ้าหน้าที่จะให้รอดูอาการในบริเวณที่ฉีด 30 นาที

    2. หลังฉีดสองวันอย่าใช้แขนข้างที่ฉีด โดยเฉพาะการเกร็งยกของหนัก เพราะอาจทำให้แขนข้างนั้นมีอาการปวดบวมมากขึ้น

    3. ถ้ามีไข้ หรือปวดเมื่อยมาก สามารถกินยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ด และกินซ้ำได้ถ้าจำเป็น โดยทิ้งระยะห่าง 4-6 ชั่วโมง

    4. การฉีดวัคซีนโควิดควรห่างจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่อย่างน้อย 1 เดือน

    5. เตรียมรับการนัดหมายฉีดวัคซีนเข็มที่สอง (ประมาณ 120 วันนับจากเข็มแรก)

    6. แม้จะได้รับวัคซีนเข็มแรกแล้ว แต่ยังคงต้องสวมหน้ากากอนามัย รักษาระยะห่าง และล้างมือบ่อยๆ

    7. หากมีอาการหนักดังต่อไปนี้ แนะนำให้พบแพทย์ทันที

      - มีไข้สูง
      - แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก
      - ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
      - ปากเบี้ยว กล้ามเนื้ออ่อนแรง
      - มีจุดเลือดออกบริเวณผิวหนังจำนวนมาก
      - มีผื่นขึ้นทั้งตัว
      - อาเจียนมากกว่า 5 ครั้ง
      - ชัก เป็นลม หมดสติ


แม้การฉีดวัคซีนโควิด 19 อาจไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ทั้งหมด แต่สามารถลดความรุนแรงของโรคลงได้เกือบ 100% ดังนั้น ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิดแล้วอาจเกิดการติดเชื้อแบบไม่มีอาการหรือมีอาการแต่น้อยมาก หลังฉีดวัคซีนจึงยังจำเป็นต้องรักษามาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดต่อไปอย่างเคร่งครัด
สินมั่นคงประกันภัย เปิดให้ประชาชนทั่วไปลงทะเบียนรับฟรี "ประกันแพ้วัคซีนโควิด" จำนวน 1 ล้านสิทธิ์ วงเงินคุ้มครองท่านละ 100,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา จนถึงวันนี้ สิทธิ์หมดไปกว่า 700,000 สิทธิ์แล้ว จึงขอเชิญชวนประชาชนที่สนใจเข้าไปลงทะเบียนรับสิทธิ์กัน ก่อนสิทธิ์จะหมด
สามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ได้แล้วที่ www.smk.co.th/covid19_vacine.aspx ตั้งแต่วันนี้ ถึง 15 มิ.ย. 64
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ SMK Line Official @smkinsurance หรือ โทร.1596
สินมั่นคงร่วมสนับสนุนการฉีดวัคซีนเพื่อชาติ