ประกันเดินทาง : ขอใบขับขี่สากลใช้เอกสารอะไรบ้าง? ใบขับขี่สากลใช้ได้กี่ประเทศ?
ภายหลังจากมีการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ให้ประชาชนและผู้ประกอบการสามารถดำรงชีวิตและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมได้ใกล้เคียงกับปกติ หลายคนเริ่มออกเดินทางท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ โดยอาจมีการเช่ารถยนต์เพื่อท่องเที่ยว หรือใช้ชีวิตที่ต่างประเทศเพื่อเรียนหรือทำงาน ( อบรมต่ออายุใบขับขี่ทางออนไลน์ รู้ผลทันที ไม่เสียเวลา ช่วงโควิด-19 ) แล้วปัจจุบัน (2565) การทำใบขับขี่สากลจะมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? ต้องใช้เอกสารอะไร? และใบขับขี่สากลจะสามารถใช้ได้กี่ประเทศ สินมั่นคง ประกันรถยนต์ มีข้อมูลมาฝากค่ะ
ใบขับขี่สากลคืออะไร?
ใบขับขี่สากล มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “ใบขับขี่ระหว่างประเทศ” เป็นเอกสารที่ใช้ในการยืนยันตัวตนเพื่อให้ผู้ถือสามารถขับขี่รถได้ในประเทศ หรือ ดินแดนที่ไม่ใช่ประเทศบ้านเกิด การท่องเที่ยวในต่างประเทศ การไปทำงาน หรือ ไปเรียนในต่างประเทศ นอกจากจะใช้ระบบขนส่งสาธารณะของประเทศนั้นๆ แล้ว ในบางพื้นที่ การเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะอาจไม่สะดวก เท่ากับการขับรถไปเอง ซึ่งไม่ใช่ทุกคนที่มีใบขับขี่ของประเทศไทย จะสามารถขับรถได้ แต่จำเป็นต้องมี ใบขับขี่สากล หรือ ใบขับขี่ระหว่างประเทศ และควรจะเรียนรู้กฎหมาย หรือ ข้อกำหนดในแต่ละประเทศด้วย
ขอใบขับขี่สากลมีขั้นตอนอย่างไร?
การติดต่อขอทำใบขับขี่สากลในปัจจุบัน จะต้องทำการจองคิวล่วงหน้าผ่านการจองคิวออนไลน์ในแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue หรือผ่านเว็บไซต์ https://gecc.dlt.go.th ก่อนไปติดต่อทำใบขับขี่ เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และลดขั้นตอนในการทำใบขับขี่ โดยสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-5 หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดทุกจังหวัด โดยมีขั้นตอนที่กรมขนส่งทางบก ดังนี้
1. ตรวจสอบเอกสาร และออกคำขอ
2. ชำระค่าธรรมเนียม ( ปิดรับชำระเงิน 15.30 น. ) / จัดทำต้นขั้วใบขับขี่ / จ่ายใบขับขี่
กรณีไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเอง ให้เตรียมหลักฐานเพิ่มเติม ดังนี้
1. สำเนาเอกสารตามข้อ 1-3 พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
2. หนังสือมอบอำนาจ (ฉบับจริง) พร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท
3. รูปถ่าย 2 นิ้ว (4 x 6 ซม.) จำนวน 2 รูป (เป็นรูปถ่ายที่ไม่เคลือบมัน ประทับตราราชการติด) ซึ่งเป็นรูปถ่ายครึ่งตัวหน้าตรง ไม่สวมหมวกหรือแว่นตาสีเข้ม และไม่ใส่ผ้าคลุมใบหน้าหรือผ้าโพกศีรษะ เว้นแต่ผู้ซึ่งมีความจำเป็นตามศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมของศาสนาของตน และถ่ายก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน 6 เดือน
4. บัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ฉบับจริง) ซึ่งยังไม่สิ้นอายุ
5. สำเนาหลักฐานการแก้ไขชื่อ-สกุล คำนำหน้า ยศ ในกรณีที่เอกสารตามข้อ 1-3 ไม่ตรงกัน พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
ขอใบขับขี่สากลใช้เอกสารอะไรบ้าง?
1. หนังสือเดินทาง เล่มที่ใช้ในการเดินทาง ประวัติหน้าที่แก้ไข (ฉบับจริง) ซึ่งยังไม่สิ้นอายุ
2. บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) ซึ่งยังไม่สิ้นอายุ
3. ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล(ชนิด 5 ปี)หรือตลอดชีพ ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล(ชนิด 5 ปี)ซึ่งยังไม่สิ้นอายุ หรือตลอดชีพ ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ ซึ่งยังไม่สิ้นอายุ (ฉบับจริง) ใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถตามกฎหมายว่าด้วยกรมการขนส่งทางบก ซึ่งยังไม่หมดอายุหรือใบแทนใบอนุญาตดังกล่าว ***(ฉบับจริง)***แล้วแต่กรณี
4. รูปถ่าย 2 นิ้ว (4 x 6 ซม.) จำนวน 2 รูป (เป็นรูปถ่ายที่ไม่เคลือบมัน ประทับตราราชการติด) ซึ่งเป็นรูปถ่ายครึ่งตัวหน้าตรง ไม่สวมหมวกหรือแว่นตาสีเข้ม และไม่ใส่ผ้าคลุมใบหน้าหรือผ้าโพกศีรษะ เว้นแต่ผู้ซึ่งมีความจำเป็นตามศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมของศาสนาของตน และถ่ายก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน 6 เดือน
5. ค่าธรรมเนียม 505 บาท
หมายเหตุ เอกสารหลักฐานตามข้อ 1-3 ต้องถูกต้องตรงกัน
กรณีเป็นชาวต่างชาติ
• ใบอนุญาตขับรถ (ต้องไม่ใช่ชนิดชั่วคราว)
• หนังสือเดินทาง (พร้อมฉบับจริง ต้องไม่ใช่เพื่อการท่องเที่ยว, เล่นกีฬา หรือเดินทางผ่านเมือง)
• ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ หรือใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) หรือใบอนุญาตทำงานอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Work Permit) ที่ยังไม่สิ้นอายุ หรือหลักฐานที่แสดงว่าเป็นผู้ได้รับการตรวจลงตราพิเศษ (Smart Visa) ที่รับรองโดยสถานทูต หรือสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศตามอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ
• รูปถ่าย 2 นิ้ว 2 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
ใบขับขี่สากลใช้ได้กี่ประเทศ
การที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาเวียนนา 1968 ส่งผลให้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป กรมการขนส่งทางบกสามารถดำเนินการออกใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญาเวียนนา 1968 เพิ่มเติมจากใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญาเจนีวา 1949 เดิมที่มีผลบังคับใช้อยู่แล้ว ซึ่งมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ดังนี้
• ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศตามอนุสัญญาเจนีวา 1949 มีอายุ 1 ปี นำไปใช้ได้ใน 101 ประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ เป็นต้น
• ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศตามอนุสัญญาเวียนนา 1968 มีอายุ 3 ปี นับแต่วันออกใบอนุญาต หรือไม่เกินกว่าอายุของใบอนุญาตขับรถภายในประเทศที่ผู้ถือมีอยู่ นำไปใช้ได้ใน 84 ประเทศทั่วโลก เช่น บาห์เรน บราซิล เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ เป็นต้น
• สำหรับประเทศที่เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาทั้งสองฉบับ เช่น สหราชอาณาจักร อิตาลี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สวีเดน รวมถึงประเทศไทย สามารถใช้ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศที่ออกตามอนุสัญญาเวียนนา 1968 เพียงฉบับเดียวได้
• สำหรับผู้ที่ต้องการขอรับใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ สามารถแจ้งรายชื่อประเทศที่ต้องการนำใบอนุญาตขับรถไปใช้ต่อเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบความเกี่ยวข้องในการร่วมเป็นภาคีตามอนุสัญญา และออกใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศให้ได้อย่างถูกต้องตามแบบที่กำหนด
แม้ใบขับขี่สากลจะสามารถนำไปใช้ได้ในหลากหลายประเทศ แต่อาจจะต้องมีความระมัดระวังต่อกฎหมายจราจรของแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกันออกไป เช่น บางประเทศที่ขับรถด้วยพวงมาลัยข้างซ้าย , ขับรถชิดขวา , การจำกัดความเร็ว หรือผู้ร่วมทางที่ควรระวังเป็นพิเศษ เช่น ทางม้าลายและจักรยาน เป็นต้น ช่วยคุ้มครองให้คุณทุกการเดินทางทั้งแบบรายเดี่ยวหรือเป็นหมู่คณะ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ด้วยประกันภัยการเดินทาง (TA) ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลระยะสั้นที่มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ความคุ้มครองอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการเดินทางของผู้เอาประกันภัยซึ่งอยู่ระหว่างการท่องเที่ยว
สนใจรายละเอียด คลิก www.smk.co.th/productpadetail/3 Blog: https://smkinsurance.blogspot.com/