ข่าวสารและบทความ

ประกันอุบัติเหตุ : การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ควรทำภายในเวลากี่นาที และมีวิธีการอย่างไร?

ประกันอุบัติเหตุ : การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ควรทำภายในเวลากี่นาที และมีวิธีการอย่างไร?

 

ทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุไม่ว่าจากสาเหตุใด อาจส่งผลทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือรุนแรงถึงขั้นผู้ประสบเหตุหยุดหายใจ และมีแนวโน้มถึงขั้นเสียชีวิต ( ใส่เครื่องประดับที่มีทองแดงจะถูกฟ้าผ่าหรือไม่? ) การช่วยผู้ประสบเหตุให้ฟื้นคืนชีพ หรือการทำ CPR เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ที่หยุดหายใจกลับมาฟื้นคืนชีพได้อีกครั้ง แล้วการทำ CPR ที่ถูกต้องมีวิธีการอย่างไร? และควรทำภายในเวลากี่นาที เพื่อป้องกันไม่ให้สมองขาดออกซิเจน สินมั่นคง ประกันภัย มีข้อมูลมาฝากค่ะ

 

CPR คืออะไร? ควรทำภายในเวลากี่นาที?

CPR หรือ Cardiopulmonary resuscitation เป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยที่กำลังจะหยุดหายใจ หรือหัวใจกำลังจะหยุดเต้นในเบื้องต้น จากอุบัติเหตุ เช่น จมน้ำ หัวใจวาย หรือสำลักควันไฟจากที่ที่เกิดไฟไหม้ ให้กลับมาหายใจหรือมีลมหายใจไหลเวียนได้ตามปกติ เพื่อที่จะช่วยชีวิตคนป่วยให้ปลอดภัยผ่านวิกฤตไปได้ ก่อนรถพยาบาลจะมาถึง และส่งถึงมือหมอได้อย่างทันท่วงที ความสำคัญของการทำ CPR อยู่ที่การปั๊มหัวใจ ที่ต้องทำให้ถูกต้อง และทันเวลา เพราะหากสมองขาดออกซิเจนไปเกิน 4 นาที สมองอาจเสียหายได้

 

 

 

การช่วยฟื้นคืนชีพ ควรปฏิบัติอย่างไรในขั้นตอนแรก 

    1. ตรวจดูความปลอดภัยบริเวณรอบๆ ตัวผู้ป่วย เช่น มีของแหลมคม มีกระแสไฟฟ้า มีน้ำมัน มีไฟ หรือสิ่งอันตรายอื่นๆ หรือไม่ ถ้าดูไม่ปลอดภัย อย่าเพิ่งเข้าไป ให้เรียกกู้ภัยมาช่วยเหลือ

    2. หากสถานที่รอบๆ ผู้ป่วยปลอดภัยดี ให้เข้าไปหาผู้ป่วยทำการยืนยันว่าผู้ป่วยหมดสติจริง โดยการตีที่ไหล่แล้วเรียกด้วยเสียงดัง 4-5 ครั้ง หากผู้ป่วยยังรู้สึกตัวอยู่ หายใจเองได้ ให้จับนอนตะแคง รอการช่วยเหลือ โทร 1669 ไม่ควรทำ CPR ขณะที่ผู้ป่วยยังมีสติ

    3. หากไม่ได้สติ ไม่ลืมตาจริงๆ และหยุดหายใจ ให้รีบโทรหา 1669 เช่นกัน แจ้งทีมงานว่าผู้ป่วยไม่ได้สติ หยุดหายใจ ให้นำเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ หรือ AED มาด้วย

    4. เริ่มทำการกดหน้าอก โดยจับผู้ป่วยนอนหงาย นั่งคุกเข่าข้างผู้ป่วย วางสันมือข้างหนึ่งตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอก (ตำแหน่งตรงกลางระหว่างหน้าอก ระดับเดียวกับหัวนมพอดี) และวางมืออีกข้างทับประสานกันไว้ เริ่มการกดหน้าอกด้วยความลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ในอัตราเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที โดยมีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

        - กดให้ลึก หมายถึงกดหน้าอกจากหน้าอกโดยปกติให้ลึกลงไป 2 ถึง 2.4 นิ้ว
        - กดให้ร้อย หมายถึงอัตราความเร็วในการกด 100 ถึง 120 ครั้งต่อ 1 นาที
        - ปล่อยให้สุด หมายถึงเมื่อกดหน้าอกยุบลงไป 2ถึง 2.4 นิ้วแล้วให้ปล่อยให้อกกลับมาฟูเหมือนปกติทุกครั้งก่อนกดใหม่
        - อย่าหยุดกด หมายถึงอย่าทำการหยุดการกดหน้าอกจนกว่าจะมีทีมมาช่วยเหลือหรือผู้ช่วยนั้นไม่สามารถกดต่อได้เนื่องจากเหนื่อยล้า

 

    5. สามารถปั๊มหัวใจตามจังหวะเพลง “สุขกันเถอะเรา” ของสุนทราภรณ์, “Staying Alive” ของ Bee Gees หรือ “Imperial March” เพลงธีมของ Darth Vader ในภาพยนตร์เรื่อง Star Wars ได้ 


    6. ควรทำ CPR ต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าทีมแพทย์ หรือหน่วยกู้ภัยจะมา หากไม่เคยเข้ารับการฝึกทำ CPR มาก่อน ให้กดหน้าอกเพียงอย่างเดียวไปเรื่อย ๆ หากเคยทำ CPR แล้ว อาจกดหน้าอกสลับกับการเป่าปากช่วยหายใจได้ โดยกดหน้าอก 30 ครั้ง สลับมาเป่าปากช่วยหายใจ 2 ครั้ง


    7. ในกรณีที่มีคนอยู่ด้วยหลายคน สามารถสลับให้คนอื่นมาช่วยปั๊มหัวใจแทนได้

 

เมื่อไรควรหยุดทำ CPR?


ควรทำ CPR ไปเรื่อย ๆ จนกว่าทีมกู้ภัย หรือหน่วยแพทย์เคลื่อนที่จะมา แล้วเข้าช่วยเหลือด้วยเครื่อง AED อีกครั้ง ก่อนนำส่งโรงพยาบาล ระหว่างการทำ CPR เราควรเรียกคนมาช่วย รีบโทร. 1669 / 1745 เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่เร็วที่สุด หากสามารถนำส่งโรงพยาบาลด้วยตัวเองได้ ก็สามารถทำ CPR ระหว่างนำส่งโรงพยาบาลได้เช่นกัน
 


CPR ในเด็ก ทำอย่างไร? 

ในกรณีที่เป็นเด็ก การทำ CPR จะคล้ายกับผู้ใหญ่ แต่ของเด็กจะเน้นการเรื่องทางเดินหายใจเป็นหลัก เพราะส่วนใหญ่การเสียชีวิตในเด็กจะมาจากทางเดินหายใจอุดตัน เช่น การกินอาหารติดคอ หรือมีสิ่งแปลกปลอมอุดหลอดลม ซึ่งการช่วยชีวิตในขั้นตอนแรกให้ดูว่ามีอะไรอุดในลำคอ หรือในปากหรือไม่ ถ้าเห็นสิ่งแปลกปลอมที่เอาออกได้ให้เอาออก แต่ถ้าไม่เห็นหรือไม่มั่นใจ “ห้าม” เอานิ้วล้วงเข้าไปในปากเด็กเพราะ อาจจะทำให้สิ่งแปลกปลอมนั้นเข้าไปลึกยิ่งขึ้น

CPR ในเด็กและผู้ใหญ่ต่างกันอย่างไร?

การทำ CPR ในเด็กและผู้ใหญ่มีความแตกต่างกันเนื่องจาก วิธีการกด ความลึก จะต้องดูจากอายุและขนาดร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น

    1. เด็ก จะใช้วิธีดูความหนาของลำตัวและกดเพียง 1 ใน 3 ของลำตัวเด็กเท่านั้น 

    2. ทารก ให้ใช้ปลายนิ้วชี้และนิ้วกลางทำการกดบริเวณตำแหน่งคือ กึ่งกลางอกส่วนล่าง 

    3. สุภาพสตรี ให้วัดจากลิ้นปี่ขึ้นมา 2 นิ้ว 

เมื่อได้ตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว ให้ใช้ฝ่ามือทั้งสองฝั่งประสานทับกัน แล้วเลือกใช้บริเวณส้นมือวางไปตรงตำแหน่งที่ระบุไว้ แขนทั้งสองข้างเหยียดตึงไม่งอข้อศอก รวมน้ำหนักจากลำตัวมาสู่หัวไหล่ และกดพุ่งตรงบริเวณจุดที่มาร์กไว้ โดยที่จะไม่ใช้ข้อมือหรือข้อศอกเป็นตัวกด แต่จะใช้กำลังทั้งตัวในการกดลงไป ขณะที่นั่งให้ผู้ช่วยเหลือคุกเข่าบริเวณข้างลำตัวผู้ป่วย โดยการนั่งไม่นั่งทับบนส้นเท้า กางหัวเข่าออกให้ได้หลัก แล้วกดลงบริเวณที่มาร์กจุดไว้

อุบัติเหตุ มักเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ไม่คาดคิด หรือจากความประมาทของบุคคลอื่น ให้ประกันภัยอุบัติเหตุ คุ้มครองผู้เอาประกันภัยกรณีประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล หรือรุนแรงถึงขั้นทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกแห่งทั่วโลก สนใจรายละเอียด คลิก www.smk.co.th/productpadetail/2 หรือ โทร.1596 Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com/