ประกันรถยนต์ : ข้อควรระวังเมื่อทำสัญญาซื้อขายรถยนต์
เมื่อต้องซื้อขายรถยนต์หนึ่งคัน ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นจะต้องมีการทำสัญญาซื้อขายระหว่างกันเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากฝั่งผู้ซื้อและผู้ขายรถ ( สัญญาซื้อขายรถยนต์คืออะไร? ต้องมีข้อมูลอะไรบ้าง? ) การทำสัญญาซื้อขายรถยนต์จึงจำเป็นจะต้องให้ความระมัดระวังในการทำเอกสารต่างๆ อย่างถี่ถ้วน จะมีอะไรบ้าง สินมั่นคง ประกันรถยนต์ มีข้อมูลมาฝากค่ะ
ข้อควรระวังที่ 1 : เอกสารซื้อขายรถ ต้องครบถ้วน
ในการทำหนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์จะต้องมีเอกสารที่สำคัญที่ถูกต้องครบถ้วนเพื่อให้สามารถดำเนินการต่อที่กรมขนส่งทางบกได้ โดยเอกสารที่จำเป็นมีดังนี้
1. ทะเบียนรถยนต์ หรือสมุดคู่มือจดทะเบียนฉบับจริง
ผู้ซื้อรถจะตรวจสอบความถูกต้องเกี่ยวกับรายละเอียดของรถยนต์ที่ทำการซื้อขายต้องตรงกันกับในเล่มทะเบียนที่แจ้งไว้ ได้แก่ สีตัวถัง, เลขเครื่องยนต์, เลขตัวถัง เป็นต้น รวมทั้งตรวจดูประวัติการต่อภาษี, ประวัติการครองครอง, ประวัติการโอนกรรมสิทธิ์, ประวัติการเปลี่ยนแปลงแก้ไขทางทะเบียนต่างๆ รวมถึงนำมาใช้อ้างอิงแนบในสัญญาเพื่อบ่งชี้ทรัพย์สินที่ซื้อขาย
นอกจากนั้น ผู้ซื้อจะต้องตรวจสอบชื่อของผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์คนล่าสุดว่า ตรงกับกรรมสิทธิ์ผู้ขายและตรงกับที่ระบุใน เอกสารซื้อขายรถยนต์ ทั้งหมดหรือไม่ หรือถ้าผู้ขายไม่ใช่ผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์คนล่าสุด ก็ต้องมีหลักฐานแสดงว่าผู้ขายที่เป็นคู่สัญญามีอำนาจนำรถคันนั้นมาขาย เช่น ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ เป็นต้น
2. สัญญาซื้อขายรถยนต์
หนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์ ควรมี 2 ฉบับเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานทั้งทางผู้ซื้อและผู้ขาย และควรใช้แบบฟอร์มโดยเฉพาะ เพื่อจะได้มีการระบุข้อมูลในสัญญาให้ครบถ้วน เพราะทุกอย่างสามารถใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายได้ทั้งสิ้น
3. ใบโอนและรับโอน
ทั้งสองใบควรกรอกข้อมูลของรถยนต์ที่ซื้อขายให้ครบถ้วน โดยทางผู้ขายหรือเจ้าของรถจะต้องเซ็นชื่อตรงผู้โอน และทางผู้ซื้อต้องเซ็นชื่อตรงช่องผู้รับโอน เพื่อแจ้งต่อนายทะเบียนให้ทำการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์เพื่อเป็นหลักฐานทางราชการและเป็นข้อสันนิษฐานตามกฎหมายที่ระบุเจ้าของทรัพย์สินดังกล่าวต่อไป อย่างไรก็ตาม การจดทะเบียนดังกล่าวจะยังไม่มีผลกระทบต่อความสมบูรณ์และการโอนกรรมสิทธิ์ตามนิติกรรมสัญญาซื้อขาย หากสัญญาดังกล่าวได้ทำและลงนามทั้งสองฝ่ายทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
4. สำเนาบัตรประชาชน
สำหรับสำเนาบัตรประชาชนของทางผู้ขาย ผู้ซื้อควรตรวจสอบดูว่า มีชื่อตรงกับในเล่มทะเบียนรถหรือไม่ และจะต้องมีเอกสารการเปลี่ยนชื่อแนบเข้ามาด้วยถ้ามีการเปลี่ยนชื่อก่อนหน้านี้ และที่สำคัญที่สุดคือ บัตรประชาชนจะต้องไม่หมดอายุ และในกรณีซื้อขายในนามบริษัท ก็ควรมีหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคลเป็นหลักฐานแนบมาด้วย
ข้อควรระวังที่ 2 : ตรวจเช็กสภาพรถก่อนทำสัญญาซื้อขายรถยนต์
แน่นอนว่า สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องทำก่อนจะเซ็น ใบสัญญาซื้อขายรถ ก็คือ การเช็คสภาพรถที่จะซื้อให้ดี ๆ เสียก่อน โดยเฉพาะถ้าคุณซื้อรถมือสองจากแหล่งซื้อขายที่ไม่มีการรับประกัน ก็ยิ่งต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า รถคันที่คุณสนใจอยู่ในสภาพที่น่าพึงพอใจหรือไม่ เพราะคุณจะไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้นอกเหนือจากสิ่งที่ระบุใน เอกสารซื้อขายรถ ที่คุณเซ็นไปเรียบร้อยแล้ว
ข้อควรระวังที่ 3 : ลายเซ็นในสัญญาซื้อขายรถยนต์ ต้องครบ ชัดเจน
แน่นอนว่า การเซ็นสัญญาซื้อขายรถหรือเอกสารรับทราบในการทำธุรกรรมใดๆ ผู้ทำสัญญาทั้งสองฝ่ายควรอ่านสัญญาให้ละเอียดรอบคอบก่อนเซ็นรับทราบ รวมทั้งต้องตรวจสอบลายเซ็นของอีกฝ่ายว่า ถูกต้อง ชัดเจน พร้อมตรวจสอบเงื่อนไขและข้อตกลงให้ดีทุกครั้ง
นอกจากนั้น ฝั่งผู้ซื้อที่จะต้องสังเกตลายเซ็นเจ้าของรถให้ดีว่า ตรงกับลายเซ็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในเล่มทะเบียนรถหรือไม่ หรือถ้าผู้ขายได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เอกสารทุกอย่างที่มีลายเซ็นก็ควรจะต้องมีตราประทับบริษัทประกอบในเอกสารด้วย เพราะผู้ขายไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถ ก็ควรมีเอกสารหลักฐานยืนยันอำนาจในการนำรถมาขายจริงประกอบการทำสัญญานั่นเอง
ข้อควรระวังที่ 4 : เก็บ ใบซื้อขายรถ และเอกสารต่างๆ ให้ดี
การทำสัญญาต่างๆ ควรมี หนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์ เตรียมไว้อย่างน้อยสองฉบับ โดยจะต้องมีข้อความเหมือนกันและมีการลงลายเซ็นของคู่สัญญาและพยานในลักษณะเดียวกัน เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้เก็บสัญญาดังกล่าวไว้เป็นหลักฐาน เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงป้องกันการฉ้อโกงกันในภายหลัง
ข้อควรระวังที่ 5 : ควรหลีกเลี่ยงและระวังการโอนลอย
การโอนลอย หมายถึง การที่คู่สัญญามีการลงชื่อในสัญญาการซื้อขายหรือใบมอบอำนาจเรียบร้อย แต่ตกลงกันว่า จะยังไม่จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในทันที และไม่ได้ไปทำธุรกรรมที่สำนักงานขนส่งซึ่งเป็นกระบวนการสุดท้ายที่ทำให้การโอนรถสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ การโอนลอยจึงได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ซื้อที่เป็นเจ้าของเต็นท์รถ เนื่องจากช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการโอนจนกว่ารถคันดังกล่าวจะมีลูกค้ามาซื้อไป
การโอนลอย อาจจะก่อให้เกิดปัญหาต่อตัวผู้ขายเดิมถ้ารถคันนั้นเกิดอุบัติเหตุ ถูกนำไปก่ออาชญากรรม ไม่เสียภาษีรถยนต์ หรือมีปัญหาทางกฎหมาย เพราะผู้ถือกรรมสิทธิ์คนเดิมจะยังถูกอ้างอิงกับทะเบียนรถดังกล่าว ในทางกลับกัน ถ้ายังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ครบถ้วน แต่ผู้ขายไปแจ้งรถหาย ก็อาจจะโดนข้อหารับซื้อของโจรได้ ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ การดำเนินการซื้อขายหรือโอนกรรมสิทธิ์ด้วยตนเอง
คุ้มครองรถคุณให้ปลอดภัย ด้วย ประกันรถยนต์ตามโปรไฟล์ "การันตีถูกจริง" ประกันรถยนต์ชั้น 1 ..โปรไฟล์ยิ่งดี ความเสี่ยงยิ่งต่ำ เบี้ยยิ่งถูก.. โปรไฟล์คุณอาจดีกว่าที่คุณคิด เบี้ยเริ่มต้น 6,999 บาท และยังถูกลงได้อีก หากเลือกแบบมีดีดัก และระบุชื่อผู้ขับขี่ (ลดสูงสุดเหลือเพียง 3,999 บาท)
สนใจรายละเอียด คลิก www.smk.co.th/productmotordetail/20 หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง
Line : smkinsuranceและสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com