ข่าวสารและบทความ

ประกันมะเร็ง : PM 2.5 ทำให้เกิดมะเร็งปอดได้หรือไม่ ส่งผลอย่างไร

ประกันมะเร็ง : PM 2.5 ทำให้เกิดมะเร็งปอดได้หรือไม่ ส่งผลอย่างไร

 

เมื่อเข้าสู่ช่วงส่งท้ายปลายปีที่สภาพภูมิอากาศของประเทศไทยมีลักษณะเป็นกระทะคว่ำทำให้อากาศไม่หมุนเวียน ฝุ่นผงและมลพิษต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ถูกสะสมหนาขึ้นจนส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้คน โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 ที่มีขนาดเล็กมากจนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพทั้งผู้ที่มีสุขภาพอ่อนไหวไปจนถึงผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงได้ในระยะยาวโดยเฉพาะโรคมะเร็ง ( มะเร็งปอด รู้เร็วกว่า หายได้ก่อน ) แล้วฝุ่น PM 2.5 ส่งผลให้ป่วยเป็นมะเร็งปอดได้หรือไม่ สินมั่นคง ประกันภัย มีข้อมูลมาเล่าให้ฟังค่ะ

 

 

PM 2.5 ทำให้เป็นมะเร็งปอดได้หรือไม่?

องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ข้อมูลว่า เมื่อร่างกายเปิดรับ PM 2.5 หรืออนุภาคฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 เข้าสู่ร่างกาย นอกจากจะทำให้มีโอกาสซึมเข้าสู่กระแสเลือดไปกระทบการทำงานของร่างกายแล้ว หากได้รับ PM 2.5 สะสมเป็นเวลานานจะมีส่วนทำให้เกิดมะเร็งปอดได้ โดยข้อมูลจากวารสารการแพทย์ Oncology Letter ระบุว่า PM 2.5 มีผลทำให้เซลล์ในร่างกายอาจกลายพันธุ์หรือแบ่งตัวผิดปกติ และสร้างสภาวะที่เหมาะสมต่อการเกิดมะเร็ง

นอกจากนี้ หากต้องอาศัยอยู่ในสภาวะที่มี PM 2.5 อยู่เป็นเวลานาน จะส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดได้มากถึง 1-1.4 เท่า เนื่องจาก PM 2.5 นับเป็นสารก่อมะเร็งที่มีขนาดโมเลกุลเล็กเพียง 2.5 ไมครอนที่เล็กมากจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เมื่อ PM 2.5 ลอยเข้าไปในหลอดลมจนถึงปอดได้โดยไม่รู้สึกตัวและป้องกันไม่ได้ เมื่อเข้าไปในปอดจะทำให้เกิดการอักเสบและเกิดการกลายพันธุ์ของ DNA และ RNA 

หากร่างกายได้รับสาร PM 2.5 ในปริมาณมากและยาวนานเกินไป ร่างกายต่อสู้ไม่ไหวจนทำให้กลายเป็นมะเร็งปอดได้ โดยมะเร็งที่พบสัมพันธ์กับ PM 2.5 ก็คือเป็นชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา (Adenocarcinoma) หรือมะเร็งชนิดต่อม ซึ่งผู้หญิงมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดชนิดนี้ได้มากกว่าผู้ชาย ส่วนคนที่สูบบุหรี่อยู่แล้วเมื่อสูด PM 2.5 เข้าไปจะเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งปอดจะทวีคูณขึ้นเป็น 2 เท่า

PM 2.5 จึงไม่ได้เสี่ยงเพียงมะเร็งปอด แต่ยังอันตรายต่อทุกอวัยวะที่กระแสเลือดเดินทางไปได้ จนอาจเกิดเป็นโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคสมองเสื่อม และโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือในผู้ที่ป่วยเป็นไมเกรนอาจทำให้มีอาการปวดหัวรุนแรงขึ้นได้

 

อยู่ร่วมกับปัญหา PM2.5 ได้อย่างไร? ลดความเสี่ยงมะเร็งปอด

จากคำแนะนำของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ ร่วมกับ 5 สมาคมวิชาชีพเวชกรรม ออกคำแนะนำการปฏิบัติตัวของประชาชนในช่วงวิฤตฝุ่น PM 2.5 โดยประชาชนกลุ่มเสี่ยงคือ เด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคเรื้อรัง (โรคปอด หัวใจ สมอง ไต) ดังนี้

    1. หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลภาวะทางอากาศสูง โดยดูข้อมูลแบบ Real-time และการพยากรณ์จากแอปรายงานคุณภาพอากาศที่เป็นเกณฑ์มาตรฐานโลก: www.iqair.com/air-quality-monitors/air-quality-app 
    2. เมื่อต้องออกนอกบ้านในวันที่มีค่าฝุ่นสูง ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยที่ป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ ภายในตัวอาคารควรจัดให้มีระบบระบายและฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
    3. หมั่นตรวจสอบคุณภาพอากาศจากแหล่งข้อมูลของรัฐและเอกชน หรือใช้เครื่องวัดปริมาณฝุ่นแบบพกพา เพื่อวางแผนกิจวัตรประจำวันให้เหมาะสม โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
        - กรณีสูงกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร กลุ่มเสี่ยงงดทำกิจกรรมกลางแจ้ง บุคคลทั่วไปลดและปรับเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง โดยใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา
        - กรณีสูงกว่า 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ทุกคนต้องงดทำกิจกรรมกลางแจ้ง ยกเว้นบุคคลที่ต้องทำหน้าที่บริการสาธารณะ ให้ใส่หน้ากาก N95 ตลอดเวลา
        - กรณีสูงกว่า 150 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ทุกคนควรอยู่ในตัวอาคารซึ่งติดตั้งระบบระบายและฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ยกเว้นบุคคลที่ต้องทำหน้าที่บริการสาธารณะ ให้ใส่หน้ากาก N95 ตลอดเวลา และจำกัดช่วงเวลาปฏิบัติงานไม่ให้เกินครั้งละ 60 นาที


 

 

    4. ลด ละ เลิกบุหรี่ ไม่อยู่ใกล้บริเวณที่มีคนสูบบุหรี่ (Secondhand Smoker)
    5. เลือกใช้เครื่องฟอกอากาศประสิทธิภาพสูงมาปรับปรุงคุณภาพอากาศในบ้านให้ดีขึ้น โดยต้องเป็นระบบกรองที่สามารถกรองฝุ่นเล็กละเอียดได้ถึง 0.003 ไมครอน เพราะเป็นขนาดของอนุภาคฝุ่นที่เล็กที่สุดที่เคยพบบนโลก
    6. ตรวจสุขภาพประจำปีอย่าให้ขาด หรือหากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ อย่าละเลยที่จะพบแพทย์
    7. ออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยให้ร่างกายเกิดพิษภัยได้น้อยลง และควรหลีกเลี่ยงหรือลดเวลาการออกกำลังกายกลางแจ้งตามระดับเตือนภัย ทั้งนี้การออกกำลังกายในร่มควรจัดให้มีระบบระบายและฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
    8. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ จะช่วยเร่งการขับฝุ่น PM2.5 ที่เล็ดรอดเข้ากระแสเลือด ออกไปทางไตในรูปของปัสสาวะได้มากขึ้น
    9. รับประทานผักและผลไม้ให้เพียงพอ จะช่วยเสริมการทำงานของระบบแอนติออกซิแดนท์ ซึ่งช่วยลดการทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อจากพิษของฝุ่นได้


 

 

ประกันภัยโรคมะเร็ง ทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงทางการเงินในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยป่วยเป็นโรคมะเร็ง พร้อมจ่ายให้เป็นเงินก้อนแบบเต็มทุนประกันทันทีที่ตรวจพบมะเร็งครั้งแรก สามารถใช้เป็นเงินชดเชยรายได้ในขณะเจ็บป่วยหรือพักฟื้น ไม่จำกัดวิธีการรักษา ทั้งธรรมชาติบำบัดหรือชีวจิต ให้เป็นทุนสำรองสำหรับครอบครัวในกรณีที่เสียชีวิต และที่สำคัญไม่ต้องตรวจสุขภาพก่อนทำประกันภัย สนใจรายละเอียด คลิก www.smk.co.th/producthealthdetail/6 หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com