ข่าวสารและบทความ

ประกันรถยนต์ : ครบเครื่องเรื่อง Easy Pass ไขทุกปัญหาและข้อสงสัย

ประกันรถยนต์ : ครบเครื่องเรื่อง Easy Pass ไขทุกปัญหาและข้อสงสัย

“Easy Pass” หรือช่องทางด่วนพิเศษเพื่อชำระเงินค่าผ่านทาง เมื่อต้องเดินทางบนทางด่วนพิเศษเพื่อร่นระยะเวลาในการเดินทางและหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรติดขัด แต่ทราบหรือไม่ว่า รายละเอียดการใช้บริการ Easy Pass มีอะไรบ้าง? ต้องซื้อที่ไหน? ติดตั้งกับตัวรถยนต์อย่างไร? สินมั่นคง ประกันรถยนต์ รวบรวมข้อมูลมาฝากให้อ่านได้แล้วที่นี่ค่ะ

 

Easy Pass คืออะไร ?

EASY PASS คือ บัตรที่ใช้ในระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติ (Electronic Toll Collection System: ETC) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) นำมาใช้แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณหน้าด่านเก็บเงิน โดยผู้ใช้บริการสามารถขับรถผ่านช่องทางพิเศษที่มีป้ายแสดงคำว่า Easy Pass ได้ทันที ช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มทางเลือกใหม่ให้กับผู้ใช้บริการ ระบบ ETC หรือ Electronic Toll Collection System  แบ่งรูปแบบการเก็บค่าผ่านทางพิเศษออกเป็น 2 ระบบ คือ ระบบเปิดและระบบปิด 

    • ระบบเปิด คือ การเก็บเงินอัตราเดียวที่ด่านทางเข้า 
    • ระบบปิด คือ การเก็บเงินตามระยะทางที่ด่านขาออก 

การเก็บเงินของทั้ง 2 ระบบ จะไม่มีการใช้พนักงานเก็บค่าผ่านทางพิเศษ สำหรับผู้ที่ต้องการใช้บริการ จำเป็นจะต้องเปิดบัญชีและเติมเงินเพื่อเป็นเงินสำรองค่าผ่านทางล่วงหน้า ตั้งแต่ 300 บาทขึ้นไป

 

Easy Pass ใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง ?

ผู้ใช้บริการจะได้รับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำคัญทั้งหมด 2 ชิ้น ได้แก่

    1. บัตร Easy Pass (OBU หรือ Tag) ประกอบด้วยหมายเลข 19 หลัก (ดังภาพ) เพื่อใช้ติดกระจกหน้ารถ เมื่อรถของผู้ใช้บริการขับผ่านช่องเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ บัตร Easy Pass จะทำหน้าที่สื่อสารกับเสาอากาศในช่องเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติเพื่ออ่านค่าพร้อมตัดยอดเงินในบัญชีของผู้ใช้บริการตามอัตราค่าผ่านทาง

    2. บัตร Smart Card ประกอบด้วยหมายเลข 10 หลัก (ดังภาพ) หรือเรียกว่า หมายเลข S/N ใช้สำหรับการเติมเงินสำรองค่าผ่านทางฯ ในบัญชีของผู้ใช้บริการ 

 

บัตร Easy Pass ทำงานอย่างไร ?

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) สังกัดกระทรวงคมนาคมได้ติดตั้งระบบ เก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติในทุกสายทางพิเศษให้สามารถใช้งานร่วมกันได้โดยเปิดให้บริการในเส้นทางต่อไปนี้


    • ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
    • ทางพิเศษฉลองรัช 
    • ทางพิเศษสายรามอินทรา – วงแหวนรอบนอก กรุงเทพมหานคร
    • ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์)
    • ทางพิเศษศรีรัช
    • ทางพิเศษบูรพาวิถีและทางเชื่อม


(อ่าน ค่าทางด่วนในกรุงเทพฯ ราคากี่บาท? รู้ก่อน สะดวกกว่า คลิก )


นอกจากนี้ ระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติ ยังช่วยอำนวยความสะดวกได้ในหลายด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น


    • ไม่ต้องใช้เงินสด/คูปอง
    • ไม่ต้องเปิดกระจกรถ 
    • ไม่ต้องรอคิวยาว 
    • ไม่ต้องเตรียมเงินสด 
    • ไม่ต้องใช้พนักงานเก็บค่าผ่านทาง


ผู้ที่จะใช้บริการระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติจะต้องมียอดเงินในบัญชีของผู้ใช้บริการเป็นเงินสำรองค่าผ่าน ทางฯ ล่วงหน้าและยื่นคำร้องขอใช้บริการ ณ จุดรับสมัครบัตรอัตโนมัติ (Easy Pass) ที่ กทพ. จัดไว้ โดยผู้สมัครใช้บริการต้องสำรองเงินแรกเข้าขั้นต่ำในบัตรเป็นจำนวนเงิน 300 บาท และยังได้ยกเว้นการเก็บค่าประกันความชำรุดเสียหายของอุปกรณ์ จำนวน 1,000 บาท ด้วย

 

 

บัตร Easy Pass มีประโยชน์อย่างไร ?

    1. แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ

    2. ระบายปริมาณจราจรบริเวณช่องเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติได้สูงสุดถึง 1,200 คัน/ชั่วโมง ในขณะที่ประสิทธิภาพของการให้บริการในระบบเก็บค่าผ่านทางแบบเงินสดสามารถระบายปริมาณจราจรได้เพียง 450 คัน/ชั่วโมง

    3. อำนวยความสะดวก รวดเร็วในการผ่านด่านเก็บค่าผ่านทาง โดยไม่ต้องรอใบรับค่าผ่านทางฯ ไม่ต้องรอคิวยาว ไม่ต้องเตรียมเงินให้ยุ่งยาก ไม่ต้องเปิดกระจก เพียงแค่วิ่งผ่านช่องทาง Easy Pass เท่านั้น

    4. ประหยัดเวลาและประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทาง ผู้ใช้บริการสามารถวางแผนการเดินทางและลดค่าใช้จ่ายได้

    5. ผู้ใช้บริการทางพิเศษสามารถใช้บัตร Easy Pass ร่วมกันได้ในทางพิเศษทุกสายทางทั้งในระบบเปิด (การเก็บเงินอัตราเดียวที่ด่านฯ ทางเข้า) และในระบบปิด (การเก็บเงินตามระยะทางที่ด่านฯ ทางออก)

    6. ส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับสังคม ผู้ใช้บริการ และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในทางพิเศษ รวมทั้งลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนใกล้เคียงด้วย
 

การเดินทางโดยใช้ทางด่วนพิเศษเพื่อร่นระยะเวลาในการเดินทาง ช่วยให้ประหยัดเวลา ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางแก่ผู้ใช้รถยนต์ได้มากขึ้น ในภาวะที่ทุกคนต้องรัดเข็มขัดกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ สินมั่นคงประกันภัย ช่วยให้คุณจ่ายสบายด้วยเบี้ยเบาๆ กับประกันรถยนต์ตามเวลา สู้ภัยโควิด-19 เลือกได้ตามใจ ให้ความคุ้มครอง 3, 6, 9, 12 เดือน ช่วยให้คุณอุ่นใจได้ทุกครั้งที่ออกเดินทาง เบี้ยเริ่มต้นที่ 485 บาท คุ้มครองนาน 3 เดือน  คลิก www.smk.co.th/premotor.aspx 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

    • ประกันรถยนต์ - ค่าทางด่วนในกรุงเทพฯ ราคากี่บาท ? รู้ก่อน สะดวกกว่า 

    • ประกันรถยนต์ : การขับขี่บนทางด่วน 

    • ประกันรถยนต์ : รถเสียบนทางด่วนควรทำอย่างไรดี 

ขอบคุณข้อมูลจาก การทางพิเศษแห่งประเทศไทย www.thaieasypass.com