ข่าวสารและบทความ

ประกันสุขภาพ : "เมลาโทนิน" พบได้ในผักและผลไม้ชนิดใดบ้าง?

ประกันสุขภาพ :

“เมลาโทนิน” (Melatonin) คือฮอร์โมนตามธรรมชาติที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อควบคุมการนอนหลับและระบบการทำงานทางชีวภาพของร่างกาย (Circadian Rhythm) ให้เป็นไปตามปกติ พบได้ทั่วไปในร่างกายมนุษย์และในพืช 

เมลาโทนินในผักและผลไม้จัดเป็นเมลาโทนินธรรมชาติ โดยสมุนไพรที่มีเมลาโทนินสูงสามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหารที่มีเมลาโทนินสูงได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการใช้สารเมลานินสังเคราะห์ในรูปแบบของยาหรืออาหารเสริม สินมั่นคง ประกันสุขภาพ รวบรวมข้อมูลสารเมลาโทนินในพืชที่สามารถหารับประทานได้ทั่วไปมาฝาก

 

สารบัญบทความ
1. เมลาโทนินในพืชช่วยในการนอนหลับได้อย่างไร?
2. ผลข้างเคียงของการทานเมลาโทนินมีอะไรบ้าง?
3. เมลาโทนินจากธรรมชาติดีอย่างไร?
4. ผักและผลไม้ที่มีเมลาโทนินสูงได้แก่อะไรบ้าง?

 

1. เมลาโทนินในพืชช่วยในการนอนหลับได้อย่างไร?

    เมลาโทนิน (Melatonin) คือ สารสื่อประสาทที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นได้เองเพื่อทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระเเละควบคุมการนอนหลับ ปัจจุบันได้มีการนำสารดังกล่าวมาสกัดเเละสังเคราะห์ในรูปแบบของยาและอาหารเสริมเพื่อใช้ในการรักษาผู้ที่นอนไม่หลับ ผู้ที่อาการนอนหลับผิดปกติ หรือผู้ที่ประสบปัญหาปรับเวลาการใช้ชีวิตและการนอนไม่ได้ จากกรณีการเดินทางไปยังต่างประเทศ (Jet Lag)

อย่างไรก็ตามสามารถพบสารเมลาโทนินได้ในพืชผักและผลไม้ทั่วไป โดยจากการศึกษาความเกี่ยวข้องของสารเมลาโทนินในอาหารพบว่า เมื่อหนูทดลองได้รับวอลนัต (Walnuts) ซึ่งจัดเป็นพืชที่อยู่ในกลุ่มที่มีสารเมลาโมทินสูง พบว่าสารเมลาโทนินและสารต้านอนุมูลอิสระในกระแสเลือดของหนูทดลองเพิ่มสูงขึ้น

สอดคล้องกับงานศึกษาวิจัยสารเมลาโทนินในน้ำองุ่น (Juice of Grape) ที่ได้ทดสอบในกลุ่มผู้เข้ารับการทดสอบหลากหลายช่วงอายุ ทั้งในกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มผู้ใหญ่ และกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่าปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระและสารเมลาโทนินเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน เมื่อได้รับน้ำองุ่นปริมาณ 200 ml.วันละ 2 ครั้ง ในระยะเวลา 5 วัน

นอกจากนั้นเเล้วการศึกษาผลของการรับประมาณผลไม้ 3 ชนิด ได้แก่ สับปะรด ส้ม และกล้วยต่อการเพิ่มความเข้มข้นของเมลาโทนินและฤทธิ์ของการต้านอนุมูลอิสระในอาสาสมัครสุขภาพดีที่พบว่าการรับประทานผลไม้ทั้ง 3 ชนิดข้างต้น สามารถเพิ่มความเข้มข้นของเมลาโทนินของอาสาสมัครสุขภาพดีได้ใกล้เคียงกับความเข้มข้นสูงสุดของเมลาโทนินตามปกติของร่างกายในเวลากลางคืน (Peak Nighttime Physiologic Melatonin Concentration)

กลับสู่สารบัญบทความ

 

2. ผลข้างเคียงจากการทานเมลาโทนินมีอะไรบ้าง?

ผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์จากการได้รับเมลาโทนินสามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายอาการ เช่น เวียนหัว ปวดหัว คลื่นไส้ อาการซึมเศร้า วิตกกังวล ไม่กระฉับกระเฉง ความดันต่ำ อาการง่วงนอนในช่วงกลางวัน ปฏิกริยาตอบสนองที่ไม่พึงประสงค์เมื่อใช้ร่วมกับยาบางประเภท รวมไปถึงอาจลดการสร้างสารเมลาโทนินตามธรรมชาติในร่างกาย ในกรณีที่ได้รับสารเมลาโทนินสังเคราะห์ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน

อย่างไรก็ตาม การรับประทานเมลาโทนินประเภทอาหารเสริมในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ยังคงมีความปลอดภัยสูง แม้ว่าจะบริโภคในปริมาณที่สูงกว่าที่กำหนดก็ตาม รวมถึงยังไม่มีงานวิจัยเเน่ชัดถึงอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการรับประทานเมลาโทนินสังเคราะห์ ทั้งนี้ การบริโภคเมลาโทนินด้วยตนเองโดยไม่ได้เข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ อาจเป็นสา่เหตุของการได้รับสารเมลาโทนินมากเกินไป และอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้

กลับสู่สารบัญบทความ

 

3. เมลาโทนินจากธรรมชาติดีอย่างไร?

สารเมลาโทนินในธรรมชาติพบได้ทั่วไปในผักเเละผลไม้ สามารถเลือกบริโภคได้หลากหลาย หาได้จากธรรมชาติเเละมีราคาถูก นอกจากนั้นแล้วเมลาโทนินที่ได้รับจากอาหารอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่น้อยกว่าหรือไม่มีเลยเมื่อเทียบกับการบริโภคสารเมลาโทนินประเภทสังเคราะห์จากยาหรืออาหารเสริม 

การเลือกใช้เมลาโทนินสังเคราะห์ในรูปแบบของอาหารเสริมหรือยาควรต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์อย่างใกล้ชิด รวมไปถึงการเลือกซื้อเมลาโทนินในรูปแบบดังกล่าวควรต้องพิจารณาเลือกซื้อจากผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเเละมีความน่าเชื่อถือสูง เนื่องจากในปัจจุบันเมลาโทนินในรูปแบบสังเคราะห์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้ประกอบการบางรายจงใจลดคุณภาพและปริมาณของสารเมลาโทนินในผลิตภัณฑ์ลงแล้วใช้สารสังเคราะห์ประเภทอื่นแทน และใช้ฉลากแสดงข้อมูลที่ไม่ต้องกับความเป็นจริง รวมถึงอาจมีการปนเปื้อนในระหว่างการผลิตเกิดขึ้นได้ด้วยเช่นกัน

กลับสู่สารบัญบทความ

 

4. ผักและผลไม้ที่มีเมลาโทนินสูงได้แก่อะไรบ้าง?

สารเมลาโทนินพบได้ทั่วไปในพืชผักและผลไม้ทั้งในพืชที่เจริญเติบโตบนบกและพืชน้ำ มักพบสารเมลาโทนินปริมาณสูงในส่วนของราก ใบ และเมล็ด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเป็นพืชหรือผลไม้ชนิดเดียวกัน แต่ปริมาณของสารเมลาโทนินที่พบในพืชเเละผลไม้นั้นอาจมีปริมาณเเตกต่างกันได้ตามปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นชนิด/สายพันธุ์ ส่วนต่างๆ ของพืชที่นำมาบริโภค พื้นที่เพาะปลูก หรือกรรมวิธีในการปลูกและเก็บเกี่ยว

ผักและผลไม้ที่มีเมลาโทนินสูง มีดังนี้
    • หัวผักกาดขาว 
    • หัวหอม 
    • ตะไคร้ 
    • สาหร่ายหางกระรอก
    • สาหร่ายสายใบ
    • สาหร่ายมงกุฎหนาม
    • สาหร่ายไส้ไก่
    • ข้าวโพด
    • หน่อไม้ฝรั่ง
    • มะเขือเทศ
    • บรอกโคลี
    • พริกไทย
    • พิสตาชิโอ
    • ข้าวเจ้าสีดำ
    • ข้าวสาลี
    • ข้าวบาร์เลย์
    • ข้าวโอ๊ต
    • เชอร์รี่
    • ผักบุ้ง
    • เมล็ดมัสตาร์ด (สีขาวและสีดำ)
    • เมล็ดถั่วเหลืองงอก
    • พิสตาชิโอ
    • ส้ม
    • กล้วย
    • มะม่วง
    • สับปะรด
    • หมากเม่า
    • มะละกอ 

กลับสู่สารบัญบทความ


การรับประทานผักหรือผลไม้ที่มีเมลาโทนินตามธรรมชาติสูง นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกหนึ่งในการเสริมสร้างและเพิ่มความเข้มข้นของสารเมลาโทนินซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับได้อย่างเเน่นอน 
 เลือกประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายที่ “ใช่” สำหรับคุณ หมดกังวลเมื่อต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ด้วยค่ารักษาที่จ่ายตามจริง ไม่จำกัดจำนวนครั้ง (ยกเว้น 5 โรงพยาบาล) หรือเลือก “ประกันสุขภาพเอกซ์ตรา” เข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาล พร้อมคุ้มครองอุบัติเหตุให้คุณ 24 ชั่วโมง สนใจคลิก www.smk.co.th/prehealth


บทความที่เกี่ยวข้อง
- ประกันรถยนต์ : นอนหลับในรถเสี่ยงเสียชีวิตไม่รู้ตัว
- ประกันสุขภาพ : ท่านอนมีผลต่อร่างกายอย่างไร
- ประกันสุขภาพ : นอนมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้

 

Photo source: freepix.com

ขอบคุณข้อมูลจาก
- ปริมาณเมลาโทนินในสาหร่ายทะเลที่พบทางภาคใต้ของประเทศไทย
www.crdc.kmutt.ac.th/Data%202018/CRDC11/data/229-232.pdf

- เมลาโทนินและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระในผักจากท้องถิ่น
https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P089%20Hor04.pdf&id=2800&keeptrack=7

- ผลของการรับประทานสับปะรด ส้ม และกล้วยต่อการเพิ่มระดับเมลาโทนินและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในอาสาสมัครสุขภาพดี
http://164.115.28.48/?page=result_search&record_id=210508

- Dietary Sources and Bioactivities of Melatonin
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5409706/

- Melatonin Natural Health Products and Supplements: Presence of Serotonin and Significant Variability of Melatonin Content
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5263083/