ข่าวสารและบทความ

ประกันสุขภาพ : อาการหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นอย่างไร? แบบไหนคืออาการแพ้วัคซีนโควิด?

ประกันสุขภาพ : อาการหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นอย่างไร? แบบไหนคืออาการแพ้วัคซีนโควิด?

 

วัคซีนโควิด-19 ที่กำลังอยู่ในระหว่างทยอยฉีดให้กับประชาชนในหลายจังหวัดของประเทศไทยนั้น เริ่มก่อให้เกิดข้อสงสัยที่ว่าอาการแบบไหน คือ “อาการแพัวัคซีนโควิด-19” ผลข้างเคียงหรือ “อาการหลังฉีดวัคซีนโควิด” แบบใดบ้างที่อาจเกิดขึ้นได้หลังฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 หรือจะสามารถแยกอาการระหว่างการแพ้วัคซีนโควิดแบบรุนแรงกับอาการไม่พึงประสงค์ทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นได้หลังฉีดวัคซีนต้านโควิดได้อย่างไร สินมั่นคง ประกันสุขภาพ รวบรวมข้อมูลอาการต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 มาฝากค่ะ

 

สารบัญบทความ
1. อาการหลังฉีดวัคซีนโควิดมีอะไรบ้าง?
2. อาการแพ้วัคซีนโควิด-19 เป็นอย่างไร?
3. อาการแพ้วัคซีนโควิด-19 เกิดขึ้นได้อย่างไร?
4. ใครคือกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดอาการแพ้วัคซีนโควิด-19?
5. อาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นอย่างไร?
6. อาการไม่พึงประสงค์ชนิดไม่ร้ายแรงจากวัคซีนโควิด-19 มีลักษณะอย่างไร?
7. อาการไม่พึงประสงค์ชนิดร้ายแรงจากวัคซีนโควิด-19 มีลักษณะอย่างไร?
8. แพ้วัคซีนโควิด-19 ต้องทำอย่างไร?

 

 

1. อาการหลังฉีดวัคซีนโควิดมีอะไรบ้าง?

ผลข้างเคียงหลังจากเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยทั่วไปมักมีอาการไม่รุนแรง เช่น ปวด บวม แดง ร้อน หรือคันบริเวณที่ฉีด รวมถึงมีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน มีผื่นเล็กน้อย ปวดเมื่อยตามตัวเล็กน้อย ไม่สบายตัว อ่อนเพลีย เป็นต้น 

อย่างไรก็ตาม ผู้ได้รับวัคซีนส่วนน้อยอาจมีอาการข้างเคียงรุนแรงหรือมีอาการแพ้วัคซีนโควิด เช่น ไข้สูง หนาวสั่น อาเจียนรุนแรง แน่นหน้าอก/หายใจไม่สะดวก ใจสั่น หน้าบวม คอบวม บวมทั่วร่างกาย ผื่นลมพิษ ผื่นทั้งตัว ตุ่มน้ำพอง วิงเวียนหรืออ่อนแรง ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดข้อหรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อรุนแรง กล้ามเนื้อแขน/ขาอ่อนแรง กล้ามเนื้ออัมพาต หรือ หน้าเบี้ยว (มุมปากตก)

 

อาการหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้แก่

    • ปวด บวม แดง ร้อน คัน ณ บริเวณที่ฉีด (Injection Site Reaction)
    • ไข้ (Fever)
    • ปวดศีรษะ (Headache)
    • เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง (Fatigue)
    • ปวดกล้ามเนื้อ (Myalgia)
    • คลื่นไส้ (Nausea)
    • อาเจียน (Vomiting)
    • ท้องเสีย (Diarrhea)
    • ผื่น (Rash) เช่น ผื่นแดง ผื่นคัน ผื่นลมพิษขึ้นตามตัว
    • บวม (Edema) เช่น หน้าบวม คอบวม บวมทั่วร่างกาย
    • ปวดข้อ (Joint Pain) ปวดเมื่อยตามตัว ไม่สบายตัว
    • หน้ามืด (Faint) หมดสติ (Unconscious)
    • แน่นหน้าอก (Chest Tightness) หายใจไม่สะดวก (Shortness of Breath)
    • ใจสั่น (Palpitations)
    • กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscle Weakness) เช่น กล้ามเนื้อแขน/ขาอ่อนแรง
    • หน้าเบี้ยว (Facial Paralysis, Facial Palsy)
    • ชัก (Seizures) หรือชักร่วมกับมีไข้
    • อาการอื่นๆ เช่น เลือดไหลไม่หยุด เลือดออกผิดปกติ เป็นต้น

กลับสู่สารบัญบทความ

 

2. อาการแพ้วัคซีนโควิด-19 เป็นอย่างไร?

    ลักษณะอาการแพ้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิดรุนแรง สังเกตได้จากอาการผื่นแพ้ ผื่นแดง หรือลมพิษ ร่วมกับอาการความดันตก หลอดลมตีบหรืออุดตัน หายใจลำบาก กล้ามเนื้อแขน/ขาอ่อนแรง หน้าเบี้ยว และอื่นๆ ซึ่งจะแสดงอาการภายในเวลา 15 นาทีหลังฉีดวัคซีนโควิด

ข้อมูลจาก นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 64 ที่ผ่านมา ระบุว่าอาการแพ้วัคซีนรุนแรง คือ เมื่อได้รับวัคซีนไปแล้วไม่เกิน 15 นาที ความดันตก ช็อก หมดสติ มีผื่นขึ้น หรือหลอดลมอุดตัน มีเสียงผิดปกติในปอด 

สอดคล้องกับข้อมูลจาก ศ.ดร.นพ.วิปร วิประกษิต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับลักษณะอาการแพ้วัคซีนโควิด-19 ในการแถลงข่าว ณ ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 64 ที่ผ่านมาระบุไว้ว่าอาการแพ้วัคซีน มักจะมีการเกิดผื่นแพ้ ซึ่งเกิดได้หลายรูปแบบ เช่น ผื่นแดงบนผิวหนังโดยที่สังเกตได้ง่ายคือ ลมพิษ เป็นผื่นนูน มีขอบเขตชัดเจน อาจคันหรือไม่ก็ได้ 

ในขณะที่อาการแพ้วัคซีนโควิด-19 ชนิดรุนแรง อาจมีอาการหลอดลมตีบ ทำให้หายใจลำบาก, ผื่นขึ้นทั้งตัว, ไข้ขึ้นสูง, ปวดศีรษะรุนแรง, ปากเบี้ยว, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, เกล็ดเลือดต่ำ, มีจุดเลือดออกตามร่างกาย, อาเจียนมากกว่า 5 ครั้ง, ชัก, หมดสติ ซึ่งต้องรีบพบแพทย์ทันที ทั้งนี้ ผู้ที่มีประวัติการแพ้ต่อสิ่งเร้าต่างๆ ได้ง่าย ควรมีการติดตามสังเกตอาการมากกว่าคนที่ไม่เคยมีประวัติแพ้มาก่อน รวมถึงต้องเฝ้าระวังอาการหลังจากการฉัดวัคซีน 30 นาที เนื่องจากอาการแพ้วัคซีนรุนแรงมักจะเกิดขึ้นภายใน 15 นาที หากเกิน 30 นาทีเเล้วส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรงและมีเวลาในการรักษา

ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เผยเเพร่ภาพชุดแนวทางการเฝ้าระวังอาการแพ้วัคซีนชนิดรุนแรง (ภาวะ Anaphylaxis) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการสังเกตอาการแพ้ชนิดรุนแรงภายหลังจากการได้รับวัคซีนโควิด-19 โดยระบุว่าภาวะการแพ้วัคซีนรุนแรง (Anaphylaxis) จะถูกวินิจฉัยเมื่อมีอาการ 1 ใน 3 ข้อ โดยอาการบ่งชี้สำคัญ คือ อาการที่เกิดขึ้นเฉียบพลันของระบบผิวหนัง/เยื่อบุ หรือทั้งสองอย่าง ได้แก่ มีลมพิษขึ้นทั่วตัว คัน ผื่นแดง มีอาการบวมของปาก สิ้น เพดานอ่อน 

อาการบ่งชี้ภาวะแพ้วัคซีน (Anaphyaxis) ที่ใช้ประกอบการวินิจฉัย เมื่อมีอาการ 1 ใน 3 ข้อ ได้แก่

    • อาการที่เกิดขึ้นเฉียบพลันของระบบผิวหนัง/เยื่อบุ หรือทั้งสองอย่าง
    • มีอาการมากกว่าหรือเท่ากับ 2 ข้อต่่อไปนี้ ในผู้ป่วยที่ได้รับวัคซีน
    • ความดันโลหิตลดลงหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับวัคซีน

กลับสู่สารบัญบทความ

 

 

3. อาการแพ้วัคซีนโควิด-19 เกิดขึ้นได้อย่างไร?

 ศ.ดร.นพ.วิปร วิประกษิต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่าอาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้นได้ภายหลังจากการรับวัคซีนโควิดนั้น เกิดขึ้นจากกรณีที่เมื่อร่างกายได้รับวัคซีน ยา หรือสารเคมีใดใดเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายไม่รู้จัก และจะมีปฏิกิริยาเกิดขึ้นตามมาได้ 2 รูปแบบ คือ 1) อาการไม่พึงประสงค์ และ 2) อาการแพ้ ซึ่งอาการแพ้ที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้แพ้จากตัวไวรัสโดยตรง แต่อาจเป็นการแพ้ส่วนประกอบอื่นๆ ของวัคซีน

ปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นได้หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้แก่

    • อาการไม่พึงประสงค์
    • อาการแพ้

กลับสู่สารบัญบทความ

 


4. ใครคือกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดอาการแพ้วัคซีนโควิด-19?

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเข้ารับวัคซีนก่อน แต่ก่อนที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนได้จะต้องมีการประเมินอาการโดยแพทย์อย่างเคร่งครัดก่อนทุกครั้ง หากเป็นผู้ที่มีประวัติแพ้วัคซีนรุนแรงภายใน 30 นาทีแรก, ผู้ที่มีประวัติแพ้วัคซีนอื่นๆ, ผู้ที่มีประวัติแพ้ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) หรือผู้ที่มีประวัติแพ้ยา แพ้อาหาร จะต้องแจ้งให้แพทย์รับทราบเพื่อประเมินความเหมาะสมก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน ทั้งนี้ ผู้ที่มีประวัติแพ้วัคซีนชนิดนั้นๆ จะไม่ได้รับวัคซีนชนิดเดิมในเข็มถัดไป

กลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดอาการแพ้วัคซีนโควิด-19 ได้แก่

    • ผู้ที่มีประวัติแพ้วัคซีนรุนแรงภายใน 30 นาทีแรก
    • ผู้ที่มีประวัติแพ้วัคซีนอื่นๆ
    • ผู้ที่มีประวัติแพ้ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) 
    • ผู้ที่มีประวัติแพ้ยา แพ้อาหาร
    • ผู้ที่มีประวัติแพ้วัคซีนชนิดนั้นๆ

กลับสู่สารบัญบทความ

 

5. อาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นอย่างไร?

อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้ภายหลังจากการเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด คือ ปฏิกิริยาที่ร่างกายตอบสนองกับวัคซีน สามารถเกิดขึ้นได้ภายหลังจากการฉีดวัคซีนทุกชนิด แบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1) อาการที่เกิดขึ้นเฉพาะที่ เช่น อาการปวดบวมแดง เจ็บในตำแหน่งที่ฉีด และ 2) อาการแทรกซ้อนไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย เช่น มีไข้ต่ำๆ เหนื่อย คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย อย่างไรก็ตาม สามารถแบ่งอาการไม่พึงประสงต์ตามความรุนแรงของอาการได้ 2 ระดับ คือ 1) อาการไม่พึงประสงค์ที่ไม่ร้ายแรง และ 2) อาการไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรง 

ประเภทของอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้แก่

    • อาการที่เกิดขึ้นเฉพาะที่
    • อาการแทรกซ้อนไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย

 

ระดับอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้แก่

    • อาการไม่พึงประสงค์ที่ไม่ร้ายแรง
    • อาการไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรง

กลับสู่สารบัญบทความ

 


6. อาการไม่พึงประสงค์ชนิดไม่ร้ายแรงจากวัคซีนโควิด-19 มีลักษณะอย่างไร?

อาการไม่พึงประสงค์ชนิดไม่ร้ายแรงสามารถเกิดขึ้นได้ภายหลังจากการเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด มีลักษณะอาการที่ไม่รุนแรง เช่น ปวด บวม แดง ร้อน หรือคันบริเวณที่ฉีดวัคซีน รวมถึงมีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นเล็กน้อย ปวดเมื่อยตามตัวเล็กน้อย ไม่สบายตัว อ่อนเพลีย 

อาการไม่พึงประสงค์ชนิดไม่ร้ายแรงจากการได้รับวัคซีนโควิด-19 ได้แก่


    • ไข้ต่ำๆ หรือปวดศีรษะ
    • ปวด บวด แดง ร้อน คัน ณ บริเวณที่ฉีด
    • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
    • ไม่สบายตัว ปวดเมื่อย
    • คลื่นไส้ อาเจียน (ไม่เกิน 5 ครั้ง)
    • ผื่นแดงเล็กน้อย
    • อาการอื่นๆ เช่น ท้องเสีย

กลับสู่สารบัญบทความ

 

7. อาการไม่พึงประสงค์ชนิดร้ายแรงจากวัคซีนโควิด-19 มีลักษณะอย่างไร?

อาการไม่พึงประสงค์ประเภทรุนแรงภายหลังจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้แก่ ไข้สูง หนาวสั่น, อาเจียนรุนแรง, แน่นหน้าอก/หายใจไม่สะดวก, ใจสั่น, หน้าบวม, คอบวม, บวมทั่วร่างกาย, ผื่นลมพิษ, ผื่นทั้งตัว, ตุ่มน้ำพอง, วิงเวียนหรืออ่อนแรง, ต่อมน้ำเหลืองโต, ปวดข้อหรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อรุนแรง, กล้ามเนื้อแขน/ขาอ่อนแรง, กล้ามเนื้ออัมพาต, หรือหน้าเบี้ยว (มุมปากตก)

อาการไม่พึงประสงค์ชนิดร้ายแรงจากการได้รับวัคซีนโควิด-19 ได้แก่

    • ไข้สูง หนาวสั่น
    • ปวดศีรษะรุนแรง
    • เหนื่อยแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หรือ หายใจไม่ออก
    • อาเจียน มากกกว่า 5 ครั้ง
    • ผื่นขึ้นทั้งตัว
    • มีจุด (จ้ำ) เลือดออกจำนวนมาก
    • ใบหน้าเบี้ยว หรือ ปากเบี้ยว
    • แขนขาอ่อนแรง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถทรงตัวได้
    • ชัก หรือหมดสติ
    • ต่อมน้้ำเหลืองโต
    • ผิวหนังลอก

กลับสู่สารบัญบทความ

 

8. แพ้วัคซีนโควิด-19 ต้องทำอย่างไร?

หากมีอาการไม่พึงประสงค์ชนิดไม่รุนแรงหลังฉีควัคซีนโควิด เช่น ปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีด หรือมีอาการไข้เล็กน้อย หนาวสั่น ปวดเมื่อยตามร่างกาย สามารถพักรักษาตัวเองเบื้องต้นที่บ้านได้โดยใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบช่วยบรรเทาอาการปวดบวม ออกกำลังกายแขนเบาๆ เพื่อคลายอาการปวด หรือเลือกรับประทานยาแก้ปวดตามคำแนะนำของแพทย์ หรือเภสัชกร เช่น พาราเซตามอล ไอบูโปรเฟน ดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอ โดยส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะดีขึ้นภายใน 1-2 วัน ในขณะที่หากผู้ได้รับวัคซีนมีอาการข้างเคียงที่รุนแรงหรือปฏิกิริยาแพ้วัคซีนโควิด-19 อย่างเห็นได้ชัด ต้องรีบพบแพทย์ในทันที หรือโทร 1669 เพื่อขอรับบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน 

กลับสู่สารบัญบทความ


ผู้ที่เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนตามวันและเวลาที่ได้รับนัดหมายจากโรงพยาบาลอย่างเคร่งครัด และให้ความร่วมมือตั้งแต่การซักประวัติ อาการแพ้ การเฝ้าระวังสังเกตอาการเป็นเวลา 30 นาที และติดตามอาการในวันที่ 1, 7 และ 30 โดยใช้ Line Official Account “หมอพร้อม” บันทึกอาการที่ไม่พึงประสงค์เพื่อความปลอดภัย ลดความรุนแรงของโรค ลดอัตราการเสียชีวิต และเป็นข้อมูลในระดับประเทศต่อไป และเพิ่มความมั่นใจยิ่งขึ้นก่อนฉีดวัคซีนป้องกันโควิดด้วย ประกันภัยแพ้วัคซีนโควิด เบี้ยเริ่มต้นแค่ 30 บาท คุ้มครองครอบคลุมทั้ง IPD & OPD สูงสุดกว่า 1 ล้านบาท

สนใจรายละเอียด คลิก www.smk.co.th/producthealthdetail/13

สินมั่นคงประกันสุขภาพ ..เราประกัน คุณมั่นใจ..

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
- 3 ผลิตภัณฑ์ประกันโควิดจากสินมั่นคง ต่างกันอย่างไร ? แบบไหนควรซื้อให้ใคร ?
- ประกันโควิด : ไขข้อข้องใจ...20 คำถามกับ “ประกันโควิด” จากสินมั่นคง
- ประกันสุขภาพ : โควิดระลอกใหม่ก็ไม่หวั่น ด้วยประกัน Covid 3 in 1



 

ขอบคุณข้อมูลจาก

- แนวทางระบบติดตามความปลอดภัยเชิงรุกสำหรับวัคซีนโควิด-19 (Active Surveillance System for COVID-19 Vaccine) โดยศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Health Product Vigilance Center) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration) กระทรวงสาธารณสุข

- แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาดปี 64 ของประเทศไทย โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

- ข่าวประชาสัมพันธ์ "กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากศิริราช แจงความเข้าใจการแพ้และอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีน"


Photo source: freepik.com